จับตา “สภาพัฒน์” ถกข้อเสนอเอกชนสู้โควิด ก่อนดันชงเข้าครม.

จับตา “สภาพัฒน์” เชิญ “คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน” จาก 13 หน่วยงาน พิจารณา 12 ข้อเสนอสู้โควิดต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนดันชงเข้าครม.ต่อไป วันพรุ่งนี้ (20เม.ย.63) ที่สํานักงานเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) จะมีการประชุม “คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่  2/2563  การประชุมนัดที่ 2 ของที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน จะนำข้อเสนอของ ทีมฝ่าวิกฤติโควิด  5 ด้าน ที่เคยมี 12 ข้อเสนอไปแล้วมาพิจาณาอีกครั้ง ได้แก่ 1.ปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศและลดค่า ft ตามราคาน้ำมัน 2. เอกชนสามารถนำค่าใช้จ่ายสำหรับป้องกันโควิด-19 มาหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า 3.ขอให้รัฐออกคำสั่งปิดกิจการโรงแรมเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม 4.ขอให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปีภาษี 2562-2563 กรณี SMEs เหลือไม่เกิน 10% และกรณีผู้ประกอบการอื่น เหลือไม่เกิน 20% 5.รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงานและซื้อสินค้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ 6.ผ่อนปรนการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ 7.อนุญาตให้จ้างงานเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 40-41 บาท 4-8 ชม/วัน 8.ลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างจาก 4% เหลือ 1% 9. ช่วยเหลือแรงงานที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท รัฐจ่าย 50% บริษัทจ่าย 25% ของค่าจ้าง 10. บริษัทนำค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างแรงงาน ในช่วง COVID-19 มาหักภาษี 3 เท่า 11.การผ่อนปรนมาตรการเคอร์ฟิวสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าในเวลากลางคืน 12.การช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองให้มีมาตรฐานเดียวกัน ส่วนคณะที่ปรึกษาฯที่แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่  1. กลุ่มมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ประกอบด้วย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย 2.กลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ประกอบด้วยหอการค้าไทย 3.กลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ 4.กลุ่มมาตรการเพื่อภาคเกษตร ประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ 5.กลุ่มมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล (Digital Solution) ประกอบด้วยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/business/430570?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=corona

ราคาที่ดินพื้นที่การเกษตรพุ่ง ในช่วงโควิด-19

ในขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่พยายามดิ้นรนเอาตัวรอดในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่พื้นที่การเกษตรยังคงได้รับการลงทุนที่ร้อนแรง เนื่องจากผู้คนหันกลับไปพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น สำหรับมุมมองของนายหน้าซื้อขายที่ดิน กล่าวว่าราคาพื้นที่การเกษตรพุ่งสูงขึ้น 2 เท่าและ 3 เท่า ในจังหวัดทางตอนใต้ของเวียดนาม เป็นผลมาจากผู้คนย้ายจากเมืองไปยังพื้นที่ชานเมืองมากขึ้นและจากการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงระยะห่างทางสังคมทำให้คนจำนวนมากเล็งสวนและพื้นที่การเกษตรแทนที่จะอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่งในเมืองด่าหลัด พื้นที่สูงตอนกลาง แต่ละแปลงของพื้นที่การเกษตร 1,000 ตารางเมตร ด้วยต้นทุน 400-700 ล้านด่ง (17,000-30,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ในปีที่แล้ว โดยปัจจุบัน ราคาพื้นที่พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 3-6 พันล้านด่ง ในขณะเดียวกัน พื้นที่การเกษตรรอบนครโฮจิมินห์ อาทิ จังหวัดด่งนาย ราคาพื้นที่แตะ 2-2.5 พันล้านด่งต่อแปลง นอกจากนี้ เมื่อความกังวลต่อสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความสนใจในการลงทุนในพื้นที่ชนบทมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลราคาพื้นที่การเกษตรพุ่งสูงขึ้นในตลาด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/agricultural-land-price-increases-during-covid19/171770.vnp

UN ปกป้องสิทธิสตรีในเมียนมาท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

สหประชาชาติ (UN) ยืนยันเมื่อวันที่ 15 เมษายน 63 ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลเมียนมาเพื่อปกป้องสิทธิและโอกาสของผู้หญิงท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศ ที่กำลังมีผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ร้ายแรงสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงโดยเฉพาะ ซึ่งเกือบ 60% ของผู้หญิงทั่วโลกทำงานในระบบเศรษฐกิจและนอกระบบมีรายได้น้อยลง ประหยัดน้อยลงและมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะตกอยู่ในความยากจน สถานการณ์ดังกล่าวเป็นที่จับตามากขึ้นในเมียนมาซึ่งผู้หญิงคิดเป็น 60% ของพนักงานที่ทำงานบริการด้านอาหารและที่พักและระหว่าง 70 ถึง 90% ของผู้ขายอาหารริมทาง นอกจากนี้แรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงาน UN ได้ให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมนักสังคมสงเคราะห์กว่า 80 คนของกรมสวัสดิการสังคมในมิติทางเพศในช่วงการระบาดของ COVID-19 และการให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาสังคม ทั้งนี้ยังมอบโทรศัพท์มือถือ 60 เครื่องให้แก่กระทรวงการสังคมสงเคราะห์บรรเทาทุกข์และการตั้งถิ่นฐานใหม่ เพื่อเพิ่มการบริการและช่วยเหลือทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/un-helps-safeguard-myanmar-women-rights-amid-pandemic.html

สปป.ลาวขยายการ Lockdown ไปอีก 14 วัน

มาตราการ Lockdown ในเมืองต่างๆของสปป.ลาว รัฐบาลมองถึงความสำคัญของความต่อเนื่องของการป้องกันการแพร่ระบาดทำให้มีมติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ขยายเวลาเพิ่มเติมจากเดิมวันที่ 1-19 เมษายนให้เพิ่มจากเดิมไปอีก 14 วัน เพื่อความต่อเนื่องของการป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสถึงแพร่ยอดผู้ติดเชื้อของสปป.ลาวอาจไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศรอบๆอย่างไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฯลฯ แต่รัฐบาลต้องการให้การแพร่ระบาดหยุดให้เร็วที่สุดเพราะหากปัญหาดังกล่าวกิยเวลานานจะส่งต่อระบบเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง เพราะในปัจจุบันภาคการท่องเที่ยว การผลิตและธุรกิจ sme  ล้วนแล้วได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์นี้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ออกนโยบายเพื่อบรรเทาความยากลำบากของประชาชนและภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการเลื่อนจ่ายภาษีออกไป 3 เดือน หรือมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ ท้ายที่สุดรัฐบาลสปป.ลาวเชื้อเป็นอย่างยิ่งหากประชาชนให้ความร่วมมือเราจะผ่านสถาการณ์ที่เลวร้ายนี้ไปได้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_extends_80.php

กัมพูชาไม่มีแผนรับมือในด้านการปรับลดค่าไฟฟ้าทั่วประเทศ

แม้จะมีการลดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับคนงานในโรงงานที่ถูกระงับเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่การไฟฟ้าแห่งกัมพูชา (EAC) หน่วยงานอิสระของทางภาครัฐที่รับผิดชอบในการจัดการและบริหารด้านพลังงานไฟฟ้าในประเทศกล่าวว่า แผนทั่วไปสำหรับการลดค่าไฟฟ้ายังไม่ได้รับการยกขึ้นมาพิจารณา โดยปัจจุบันราคาไฟฟ้าจะถูกเรียกเก็บในระดับที่เลื่อนจาก 380 riel ($ 0.095) ต่อ kWh สำหรับผู้ที่ใช้น้อยกว่า 10 kWh ต่อเดือนและเพิ่มขึ้นถึง 480 riel ต่อ kWh สำหรับการใช้ไฟฟ้าระหว่าง 11 kWh ถึง 50 kWh ต่อ เดือน. หากพลังงานที่ใช้ลงทะเบียนระหว่าง 51 ถึง 200 kWh ในช่วงเวลาเดียวกันจะถูกเรียกเก็บที่ 610 riel ต่อ kWh โดยมี 730 riel ต่อ kWh สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าในการใช้งานที่มากกว่า 200 kWh ต่อเดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50713248/no-plan-to-reduce-electricity-bills-nationwide/

‘จีน-ไทย’ เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา ป้องกันการแพร่ระบาด

“จีน-ไทย” เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา วางกลไกเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีจีนร่วมการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) วาระพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบทางไกล เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 14 เม.ย.63 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 1.นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวถึงการเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในอนาคต โดยต้องดำเนินการเพื่อเอาชนะโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว ซึ่งนอกจากจะคุกคามต่อสุขภาพและชีวิตของผู้คนแล้ว ยังทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการหดตัวของอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงเกิดความผันผวนในตลาดการเงินและการค้า ตลอดจนการลงทุนที่ซบเซา ดังนั้น อาเซียนและประเทศคู่เจรจาบวกสามจึงควรแก้ไขปัญหาวิกฤติร่วมกัน โดยวางกลไกการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินสำหรับต่อสู้กับโรคระบาด และเพิ่มบทบาทในเชิงบวกของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อสู้กับการแพร่ระบาดร่วมกัน และช่วยเหลือกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นในภูมิภาค

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876140

รัฐบาลสปป.ลาวออกมาตรการยกเว้นภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19

เศรษฐกิจสปป.ลาวคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวร้อยละ 6.1 ในปีนี้จากก่อนหน้านี้ที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตร้อยละ 6.5 ในปีนี้ ซึ่งมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19ในปัจจุบันถึงแม้สปป.ลาวจะพบผู้ติดเชื้อเพียง 19 คนเท่านั้นในขณะนี้ แต่เศรษฐกิจกลับพบว่ามีผลกระทบเชิงลบอย่างมากโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การก่อสร้างและการผลิตทำให้รัฐบาลต้องมีการออกมาตราเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยมีการออกมาตราการยกเว้นการจ่ายภาษีเป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ทั้งในส่วนภาษีของธุรกิจและภาษีเงินได้ส่วนบุคคลมาตราการดังกล่าวจะช่วยให้กระแสเงินสดของภาคธุรกิจมีมากขึ้นเพื่อนำไปหมุนเวียนในธุรกิจเพื่อรักษาธุรกิจให้รอดในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะภาคธุรกิจที่อยู่ในกลุ่ม SME มีมากถึงร้อยละ 90ของธุรกิจที่จดทะเบียนในสปป.ลาวหากเกิดปัญหามีการปิดตัวไปหรือล้มละลาย จะทำให้กระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงรวมถึงแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลตระหนักจึงทำให้มีการยกเว้นภาษีขึ้นมาเพื่อรักษาระบบเศรษฐกิจในขณะนี้

ที่มา : https://www.aseanbriefing.com/news/laos-issues-tax-relief-measures-mitigate-covid-19-impact/

“ผู้นำอาเซียน” เปิดประชุมทางไกล เน้นย้ำ “ร่วมมือ-คุมโรค-รักษาการค้า” ทางรอดโควิด-19

การประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ “โควิด-19” ในวันนี้ (14 เม.ย.) โดยมีนายกรัฐมนตรี เหวียน ชวน ฟุก แห่งเวียดนาม ในฐานะประธานอาเซียน เป็นผู้นำการประชุม โดยผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูล เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในประเทศ และมาตรการที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อควบคุมโรคระบาดและบรรเทาผลกระทบ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษครั้งนี้ ยังมีการประชุมอาเซียน+3 ซึ่งร่วมการประชุมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัจจุบันและประสบการณ์การในการรับมือกับโรคระบาดของแต่ละประเทศอีกด้วย

ที่มา : https://www.prachachat.net/world-news/news-449394

ผู้เชี่ยวชาญเผยหน้ากาก,ชุดป้องกันที่จะส่งออกต้องได้มาตรฐานสหภาพยุโรป

สำนักงานการค้าเวียดนามในเบลเยียม กล่าวว่าผู้ประกอบการที่จะส่งออกหน้ากากและชุดป้องกันไปยังสหภาพยุโรป ควรจะให้ความสำคัญเรื่องข้อกำหนดมาตรฐานของแต่ละสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้องได้รับเครื่องหมาย CE บ่งบอกถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีมาตรฐานที่จะขายแก่ยุโรป สามารถค้นหามาตรฐานแต่ละประเทศในยุโรป : https://standards.cen.eu ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้มีการผลิตหน้ากากและชุดป้องกันมากขึ้น รวมถึงการหาพันธมิตรทางการค้าเพื่อจะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป อีกทั้ง ผู้ประกอบการควรศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานหน้ากากและชุดป้องกันทางการแพทย์ จากเว็บไซต์ : https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/IP_20_502 หรือ https://www.centexbel.be/en?utm_source=zalo&utm_medium=zalo&utm_campaign=zalo&zarsrc=30

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mask-protective-clothing-exporters-must-meet-eu-standards-authority/171699.vnp

เขตซะไกง์ประกาศเคอร์ฟิว 10:00 น. ถึง 04:00 น.

ประชาชนในเขตซะไกง์จะไม่อนุญาตให้ออกจากบ้านระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. แต่อนุญาตให้ออกไปสถานที่สำคัญ เช่น การซื้ออาหารหรือรักษาพยาบาล เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการป้องกันการระบาดของ COVID-19 ตามเมื่อประกาศ 13 เมษายน 2563 หากละเมิดกฎเหล่านี้จะดำเนินคดีโดยทันที ทั้งนี้ยังไม่ให้ประชาชนฉลองเทศกาลตะจาน (ปีใหม่ของเมียนมา) และหลีกเลี่ยงการชุมนุมโดยไม่มีเหตุผล เขตซะไกง์เป็นหนึ่งในเขตที่มีประชากรแรงงานอพยพสูงสุด ตามรายงานสถานการณ์ของ COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุขระหว่างวันที่ 31 มกราคมถึงวันที่ 11 เมษายน 2563 มีแรงงานกว่า 17,000 คนถูกกักตัวจำนวน 6,889 ซึ่งไม่ชัดเจนว่าตัวเลขเหล่านี้รวมถึงผู้ที่ถูกกักกันที่บ้านหรือไม่

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sagaing-imposes-10pm-4am-curfew.html