โรงงานน้ำตาลในเมียนมา ประกาศรับซื้ออ้อย 90,000 จัตต่อตัน
ในฤดูหีบอ้อยของปีงบประมาณ 2565-2566 มีหลายๆ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอ้อย ได้ประกาศว่าจะซื้ออ้อยในราคาเฉลี่ยประมาณ 90,000 จัตต่อตัน โดย Wilmar Sugar Company ประกาศ จะรับซื้ออ้อยในราคา 79,000 จัตต่อตัน ในขณะเดียวกัน Silver Pearl Sugar Company จะรับซื้ออ้อยในอัตรา 90,000 จัตต่อตันในช่วงฤดูหีบอ้อยปี 2565-2566 ขณะที่ โรงงานบางแห่งระบุว่าจะซื้ออ้อยในราคาเพียง 75,000 จัตต่อตันเท่านั้น ทั้งนี้จากรายงาน พบว่า เมียนมาผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 45,000 ตันทุกปี ในปีที่แล้วราคาน้ำตาลอยู่ที่ 900 จัตต่อปอนด์ แต่ตอนนี้ราคาพุง่ไปถึง 2,300 จัตต่อปอนด์
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/sugarcane-to-be-bought-at-around-k90000-per-tonne/
เดือนต.ค 65 เมียนมาส่งออกข้าวโพดทะลุ ! 177,000 ตัน
กระทรวงพาณิชย์ เผย เดือนต.ค.2565 เมียนมาส่งออกข้าวโพดกว่า 177,000 ตัน นำรายได้เข้าประเทศกว่า 53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งงออกทางทะเล 174,970 ตัน และอีก2,870 ตัน ถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกส่วนใหญ่ต้องอาศัยการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม บังคลาเทศ ศรีลังกา และมาเลเซีย ซึ่งในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมาออกข้าวโพดประมาณ 2.3 ล้านตัน ทั้งนี้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่สำคัญในเมียนมา ได้แก่ รัฐฉาน รัฐคะฉิ่น รัฐกะยา และรัฐกะเหรี่ยง รวมถึงไปถึงภาคมัณฑะเลย์ ภาคซะไกง์และภาคมะกเว
ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20221112/92d074beee034d4aa5039841757ecd9c/c.html
เมียนมานำเข้าปุ๋ยทางทะเลทะลุ 75,000 ตัน มูลค่า 46.847 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2565 เมียนมานำเข้าปุ๋ยจากการค้าทางทะเลกว่า 75,000 ตัน มูลค่า 46.847 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนำเข้าจากโอมานมากกว่า 25,000 ตัน จีน 27,000 ตัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 8,500 ตัน เวียดนาม 5,200 ตัน และไทย 3,800 ตัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณการนำเข้าลดลงกว่า 35,000 ตันเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนที่ผ่านมา ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนมีปริมาณมากกว่า 11,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 4.281 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการนำเข้าจากจีนประมาณ 5,700 ตัน ไทย 3,700 ตัน และอินเดีย 1,100 ตัน ทั้งนี้ราคาปุ๋ยจะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 65,000-170,000 จัตต่อถุงกระสอบ (50 กก.) ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและชนิดของปุ๋ย
เมียนมา ผลักดันบริษัทมากกว่า 600 แห่ง ยื่นจดทะเบียนกับ GACC เพื่อส่งออกสินค้าเกษตรไปจีน
บริษัทและวิสาหกิจในเมียนมามากกว่า 600 แห่ง รวมถึงบริษัทส่งที่ออกข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด และกล้วย กำลังพยายามยื่นนจดทะเบียนกับกรมศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) เพื่อส่งออกสินค้ามากกว่า 1,600 รายการ โดยหน่วยงานของภาครัฐต่างๆ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ กรมประมง และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กำลังยื่นมือเข้าช่วยเหลือบริษัท วิสาหกิจ องค์กร และนิติบุคคล ที่กำลังขึ้นทะเบียนกับ GACC สำหรับสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด และกล้วย ซึ่งสินค้าเกษตรของเมียนมาที่มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล (G2G) นั้นมีส่วนแบ่งการตลาดที่เติบโตค่อนข้างแข็งแกร่ง ทั้งนี้บริษัทหรือวิสาหกิจที่จะทำการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวกับ น้ำมันเพื่อการบริโภค เมล็ดพืชน้ำมัน ขนมยัดไส้ รังนกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชและมอลต์ ผักสดและแห้ง ถั่วแห้ง พันธุ์พืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟที่ยังไม่ได้คั่วและเมล็ดโกโก้ อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และอาหารสัตว์ จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตจาก GACC เพื่อวางขายสินค้าในตลาดจีน
ในช่วง 7 เดือนของปีงบ 65-66 เมียนมาโกยรายได้กว่า 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกสินค้าไปบังกลาเทศ
การส่งออกของเมียนมามากกว่าการนำเข้าของการค้าชายแดนกับบังกลาเทศ พบว่าระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม 2565 ในปีงบประมาณ 2565-2566 มีการส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศ 8,620.7 ตันอยู่ที่ประมาณ 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกสินค้าประมงร้อยละ 65 และสินค้าอุปโภคบริโภคคิดเป็นร้อยละ 35 ผ่านชายแดนซิตเวย์และมองดอ ซึ่งสินค้าประมงที่ส่งออก ได้แก่ ปลายี่สกเทศ ปลาตะลุมพุกฮิลซา ปลาแมคเคอเรล ปลากะตักแห้ง และเนื้อปลาอบแห้ง ที่ผ่านมาสินค้าประมงที่ส่งออกไปบังคลาเทศ พบว่า ในปีงบประมาณ 2562-2563 มีมูลค่า 6.318 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (7,093.413 ตัน) ปีงบประมาณ 2563-2564 มีมูลค่า 4.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (5,010.7 ตัน) และปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (เดือนตุลาคม 2564 -เดือนมีนาคม 2565) มีมูลค่า 13.987 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (11,362.97 ตัน) ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้รวม 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออก 8,620 ตันไปยังบังกลาเทศ และยังมีรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาติในการให้เรือของบังคลาเทศเข้าจอดเทียบท่าจำนวน 26 ลำ คิดเป็นมูลค่า 24,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ
เมียนมา ขยายเวลาชำระคืนเงินกู้โควิด- 19 ออกไปอีก 1 ปี
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 คณะทำงานแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ประกาศขยายระยะเวลาชำระคืนกองทุนเงินกู้โควิด-19 ไปอีก 1 ปี หลังจากครบกำหนดชำระเป็นปีที่สอง โดยมีวงเงินของโครงการทั้งสิ้น 2 พันล้านจัต ซึ่งได้ปล่อยกู้ให้กับบริษัทและวิสาหกิจทั่วประเทศแล้ว จำนวน 5,990 แห่ง เป็นจำนวนมูลค่าสินเชื่อที่ปล่อยกู้รวมทั้งสิ้น 158.4438 พันล้านจัต ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละหนึ่งและระยะเวลาเงินกู้หนึ่งปีตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2563 เป็นต้นมา ทั้งนี้มีภาคอุตสาหกรรมที่ได้เข้าร่วมขอสินเชื่อ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแบบ CMP, ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, เกษตรกรรม, การเลี้ยงปศุสัตว์และการผลิตภัณฑ์ทางทะเล เป็นต้น
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/covid-19-loan-repayment-period-extended-for-one-more-year/