จีนรุกลงทุนสปป.ลาว 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

คำเจน วงโพสี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของ สปป.ลาว กล่าวว่าจีนยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในสปป.ลาว ด้วยเม็ดเงินทุนสะสมประมาณ 16.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวม 833 โครงการ โดยการลงทุนของจีนดังกล่าวมีความหลากหลายสาขาธุรกิจและส่วนใหญ่เงินทุนเข้าไปยังธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลางและขนาดใหญ่, รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน ทั้งนี้ เงินลงทุนหลักที่มีจำนวนมากเข้าไปยังโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ได้แก่ ทางด่วยเวียงจันทร์-วังเวียง, ทางรถไฟสายลาว-จีน, เขตพัฒนาไซเสดถา, เขตเศรษฐกิจบ้านบ่อหาน-บ่อเต็น. สายส่งไฟฟ้าแรงสูงและโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten137_Chinese_y22.php

“วิกฤติห่วงโซ่อุปทาน” กระทบ สปป.ลาว เร่งผลิตปุ๋ย-อาหารสัตว์เพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน รัฐบาลสปป.ลาว พยายามผลักดันนโยบายจำกัดการนำเข้าและสนับสนุนการผลิตปุ๋ยในประเทศ โดยเกษตรกรมีความต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 2 ล้านตันต่อปี แต่ผลิตได้เพียง 600,000 ตันหรือ 30% ของความต้องการทั้งหมด ด้าน ดร.เพชร พรมพิภักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ ได้ให้ข้อมูลว่า ได้เชิญผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่จากเวียดนามมาพบกับผู้ประกอบการสปป.ลาว ในการหารือเพื่อผลิตปุ๋ยร่วมกัน ในขณะเดียวกัน เกษตรกรทั่วประเทศต้องการอาหารสัตว์ประมาณ 600,000 ตัน แต่โรงงานจำนวน 6 แห่งในประเทศผลิตได้ต่ำกว่า 400,000 ตัน ซึ่งธุรกิจจำนวนมาก สนใจในการตั้งโรงงานกันมากขึ้น ปัจจุบันเกษตรกรได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการนำเข้าจากไทยที่มีราคาสูง นอกเหนือจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและการค่าเงินกีบที่อ่อนตัวลง ด้าน นาย Nadav Eshcar อดีตเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสปป.ลาวและเวียดนาม ชี้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างสปป.ลาวและอิสราเอลจะมีส่วนช่วยพัฒนาด้านการเกษตรให้มากขึ้น และเชื่อว่าเทคโนโลยีของอิสราเอลสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์และประสบความสำเร็จในสปป.ลาว อย่างแน่นอน

ที่มา: https://laotiantimes.com/2022/07/18/laos-to-produce-more-fertilizer-and-animal-feed-amid-supply-chain-turmoil/

ออสเตรเลีย งดรับแรงงานเกษตร เข้าประเทศ !

เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2565 นาย พอล เคลลี เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำสปป.ลาว กล่าวว่า รัฐบาลออสเตรเลียประกาศงดรับแรงงานต่างชาติในภาคเกษตรผ่านโครงการวีซ่าแรงงานเกษตร ในระหว่างเข้าพบนาง เบย์คัม คัตติยา รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่ง นาง เบย์คัม คัตติยา แสดงความหวังว่าทั้ง 2 ประเทศ จะทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานสปป.ลาวที่ถูกส่งไปทำงานยังออสเตรเลียผ่านโครงการอื่น ๆ จะได้รับประสบการณ์ พัฒนาทักษะแรงงาน และส่งเงินกลับมายังครอบครัวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แม้ว่าสปป.ลาวและออสเตรเลียจะยังไม่ได้ลงนาม MoU เกี่ยวกับการส่งออกแรงงาน แต่มีบางบริษัทได้แอบอ้างโฆษณาว่าสามารถพาไปทำงานที่ออสเตรเลีย ทั้งนี้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เตือนประชาชนไม่ให้หลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการจ้างงานที่ผิดกฎหมาย

ที่มา: http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=67833

 

สปป.ลาว-เวียดนาม สานสัมพันธ์ด้านสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว

นางสวนสวรรค์ วิกนาเกต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว กล่าว่า สปป.ลาวและเวียดนามกำลังต่อยอดจากความสำเร็จในอดีตในด้านข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว และกำลังขยายความสัมพันธ์ไปสู่ความสำเร็จที่มากขึ้นในอนาคต เนื่องในโอกาสปีมิตรภาพและความสามัคคีของลาว-เวียดนาม 2022 ซึ่งสปป.ลาวและเวียดนามทำงานร่วมกับเวียดนามเพื่อฝึกอบรมบุคลากรและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานผ่านการจัดหาอุปกรณ์และหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่ด้านสื่อ และยังให้ความช่วยเหลือในการสร้างสถานีวิทยุและโทรทัศน์ในจังหวัดหลวงพระบาง จำปาสัก อุดมไซ สะหวันนะเขต บ่อแก้ว และไชยสมบูรณ์ ด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเวียดนามได้สร้างโรงเรียนศิลปะแห่งชาติในสปป.ลาว ด้วยงบประมาณาคา 77 พันล้านดอง ซึ่งแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2553 ด้านการท่องเที่ยว สปป.ลาวเตรียมยื่นจดทะเบียนอุทยานแห่งชาติหินน้ำไหลที่มีพื้นที่ติดต่อกับเวียดนามให้ยูเนสโกพิจารณาเป็นมรดกโลก

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_132_Laos_vietnam.php

 

ออสเตรเลียหนุน สปป.ลาว ปรับปรุงการเชื่อมต่อการขนส่งและการค้า

เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2565 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ นายพอล เคลลี เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำสปป.ลาว และนายวิไลคำ โพธิ์สาละห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ได้ลงนามร่วมกันภายใต้ความร่วมมือในการพัฒนาประเทศระหว่างออสเตรเลีย-สปป.ลาว ด้วยเงินทุนสนับสนุนจากออสเตเลียมูลค่ากว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะดำเนินการผ่านโครงการ Partnerships for Infrastructure (P4I) ที่เป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Regional Economic Corridor and Connectivity : SEARECC) ซึ่งสปป.ลาว เชื่อมั่นว่า SEARECC จะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับสปป.ลาว ได้ โดยออสเตลียเชื่อมั่นว่าการปรับปรุงการเชื่อมต่อการขนส่ง การวางแผน และการค้าชายแดนจะช่วยเปลี่ยนให้สปป.ลาว จากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นประเทศที่การเชื่อมโยงทางบก และเพิ่มโอกาสในการลงทุนและการจ้างงานในประเทศ

ที่มา: https://laotiantimes.com/2022/07/08/laos-to-bolster-sustainable-trade-diversify-value-chains-under-arise-plus-project/

นักลงทุนจีน แห่ซื้อที่ดินในสปป.ลาว

ธุรกิจจีนเข้ามากว้านซื้อที่ดินในสปป.ลาว สำหรับโรงงาน โรงแรมและโครงการพัฒนาด้านอื่นๆ เนื่องจากอิทธิพลของจีนเข้ามาขยายตัวอย่างต่อเนื่องในประเทศที่ยากจนและไม่มีทางออกสู่ทะเล โดยสำนักข่าว RFA อ้างตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ในเวียงจันทน์ เปิดเผยว่า ชาวจีนจำนวนมากกำลังจะเข้ามาซื้อที่ดินในอนาคต ราคาที่ดินใกล้สถานีรถไฟเวียงจันทน์อยู่ที่ 2,500 บาท (70 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตารางเมตร และที่ดินที่ได้รับการจดทะเบียนส่วนใหญ่ถูกขายไปกับชาวจีน นอกจากนี้ จีนเป็นผู้ลงทุนและให้ความช่วยเหลือต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของลาว และเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองรองจากไทย

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/land-07062022143130.html

กองทุน LMC มอบเงินสนับสนุน สปป.ลาว ดำเนินการ 68 โครงการ

สปป.ลาว ได้รับเงินทุนสนับสนุนมากกว่า 18 ล้านดอลลาร์ จากกองทุนพิเศษความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) เพื่อดำเนินการ 68 โครงการ ตามการรายงานของกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว ภายในการประชุมแม่น้ำโขง-ล้านช้าง (MLC) ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองพุกาม ประเทศเมียนมา เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมีผู้เข้าร่วมระดับรัฐมนตรีจาก สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา ไทย และเวียดนาม โดยกองทุนพิเศษ LMC ริเริ่มโดยรัฐบาลจีนในระหว่างการประชุมผู้นำ LMC ครั้งแรกในมณฑลไห่หนานของจีนเมื่อเดือนมีนาคม 2016 ซึ่งกองทุนพิเศษ LMC มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนโครงการความร่วมมือที่เสนอโดย 6 ประเทศในกลุ่ม LMC ซึ่งในปัจจุบันการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 4 แสนล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten128_68project.php

“กัมพูชา-สปป.ลาว” หารือทวิภาคี กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีกัมพูชา-สปป.ลาว (JCBC) ครั้งที่ 14 ว่าด้วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยมีนายปรัก สุคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา และ นายสะเหลิมไซ กมมะสิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสปป.ลาว เป็นประธานร่วม ทั้งสองฝ่ายหวังว่าจะยืนหยัดเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ โดยเฉพาะด้านการค้า การลงทุน การศึกษา การท่องเที่ยวและการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ตลอดจนประเด็นข้อกังวลต่างๆ

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/national-politics/cambodia-laos-renew-pledge-strengthen-bilateral-cooperation

เงินเฟ้อ สปป.ลาว พุ่งแตะ 23.6% สูงสุดในรอบ 22 ปี

ในเดือนมิ.ย.2565 เงินเฟ้อในสปป.ลาว พุ่งแตะ 23.6% สูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าอุปโภคบริโภคที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสร้างความลำบากและซ้ำเติมการใช้ชีวิตของประชาชนในประเทศเป็นอย่างมาก ด้านสำนักงานสถิติของสปป.ลาว ชี้ว่า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซ และสินค้านำเข้าอื่นๆ ที่พุ่งสูงขึ้น ประกอบกับค่าเงินกีบเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันเงินเฟ้อ ซึ่งเกินกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่รัฐบาลได้ตั้งไว้คือ 12% โดยในเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน ก๊าซ และทองคำพุ่งขึ้น 107.1 เปอร์เซ็นต์ 69.4% และ 68.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน ประกอบกับสถานการณ์ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่รุนแรงขึ้นส่งผลให้ตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วโลกผันผวน ความหวาดกลัวว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และวิกฤตด้านอาหารที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่วนราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเกิดจากการที่รัฐบาลพยายามจัดหาให้กับประชาชน ที่ผ่านมาเงืนเฟ้อในสสป.ลาว เคยพุ่งสูงสุดถึง 26.95% ในปี 2543 ทั้งนี้ จากดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิ.ย.2565 ที่พุ่งสูงขึ้นสูงสุด คือหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ที่พุ่งขึ้นถึง 55.5%

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten126_Inflation.php

สถานีรับ-ส่งสินค้ารถไฟจีน-ลาว เปิดให้บริการส่งสินค้าเข้าไทย

เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา  การขนส่งสินค้าของการรถไฟจีน-ลาว ถูกเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการปลายทางไปยังท่าเรือแหลมฉบังของไทย ซึ่งการขนส่งสินค้าของสถานีเวียงจันทน์ใต้ของรถไฟจีน-ลาว คาดว่าเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการขนส่งสินค้าระหว่างจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยสปป.ลาวให้ความสำคัญกับโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) เสมอ เพราะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้เป็นศูนย์กลางทางบกของภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมต่างๆ เติบโต เช่น การค้าและการลงทุน โดย Laos-China Railway Co., Ltd. (LCRC) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนในเวียงจันทน์ ได้ให้ข้อมูลว่า รถไฟจีน-ลาว สามารถไปทางเหนือไปถึงเฉิงตู ฉงชิ่ง หวู่ฮั่น ซีอาน และศูนย์กระจายสินค้าอื่นๆ ของจีน พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ยุโรป เครือข่ายทางด่วนและทางใต้เข้าถึงเมืองท่าต่างๆ เช่น ท่าเรือแหลมฉบังของไทยและสิงคโปร์ ทั้งนี้จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2565 การรถไฟจีน-ลาว มีผู้โดยสารใช้บริการแล้ว 3.36 ล้านคน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารชาวสปป.ลาว ประมาณ 480,000 คน, การขนส่งสินค้า 4.69 ล้านตัน และสินค้าข้ามชายแดนจีน-ลาว 0.77 ล้านตัน

ที่มา: https://english.news.cn/20220702/ead3dc1c0b664fdfa2fa2bde9beadc52/c.html