ค้าชายแดนระนอง‘คึก’ ‘เมียนมา’ติดหล่มวิกฤติ เร่งสั่งสินค้าทะลัก

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาด้านจังหวัดระนอง ที่ขนส่งกันทางเรือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซบเซาลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากสงครามการค้า ต่อด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายหลังคุมการแพร่ระบาดได้ ทำให้การค้าชายแดนด้านจังหวัดระนองเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2563 กระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารในเมียนมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลายเป็นวิกฤติรุนแรงยืดเยื้อ ที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะกระทบถึงการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ทั้งนี้ นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วิกฤติการเมืองในประเทศเมียนมา และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ไม่กระทบต่อบรรยากาศการค้าชายแดนด้านระนอง แต่กลับส่งผลให้มีความคึกคักมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. 2564 ที่ผ่านมา พบว่าสถานการณ์ในเมียนมามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ประท้วงมีการยกระดับการชุมนุม โดยเฉพาะการนัดหยุดงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สินค้าในเมียนมาเกือบทุกรายการมีการปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันพืชและข้าวสาร ที่ปรับขึ้นถึง 20-30%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/474656

ประธานาธิบดีสปป.ลาวคนใหม่เผชิญกับหนี้จีนที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาสมาชิกสภาแห่งชาติสปป.ลาวได้เลือกนายทองโหลน สีสุลิธ เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศโดยมอบความไว้วางใจให้ผู้นำคนใหม่นำสปป.ลาวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนหนึ่งของอุปสรรคและความท้าทายของผู้นำคนใหม่คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ถึงแม้สปป.ลาวจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักแต่ประเทศที่สปป.ลาวพึ่งพาอย่างไทย จีน ล้วนได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทำให้สปป.ลาวได้รับผลกระทบไปด้วย เห็นได้ชัดจากกรณีการปิดด่านชายแดนและมาตรการที่เข้มงวดส่งผลให้การค้าชายแดนหดตัวอย่างมาก นอกจากนี้ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือหนี้จากการกู้ยืมจากจีน ซึ่งถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดของสปป.ลาวในการกู้มาเพื่อลงทุนหากไม่ได้รับการแก้ไข หนี้ก่อนนี้อาจทำให้สปป.ลาวต้องสูญเสียพื้นตามแนวรถไฟให้แก่จีนเพื่อเป็นการชดใช้หนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้รัฐบาลเริ่มมีการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณและเข้มงวดด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้นเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งบประมาณ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวทางเพื่อการรชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Politics/New-Laos-president-faces-rising-China-debt-and-battered-economy

พาณิชย์เมียนมา เว้นภาษีนำเข้า-ส่งออกชั่วคราว

กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ (MOC) เผยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 64 ส่งออกและผู้นำเข้าไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตสำหรับสินค้าส่งออกพิกัดศุลกากร (HS Code) 37 รายการ และการนำเข้า 72 รายสำหรับการนำเข้า ระหว่างวันที่ 8 มีนาคมถึง 9 เมษายน 2564 เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า สินค้าส่งออกที่ได้รับการยกเว้น เช่น หอมกระเทียม ข้าว ปลายข้าว น้ำตาลทรายดิบ ยางธรรมชาติ ฯลฯ สินค้านำเข้า เช่น ปลาหั่นบาง (ปลาแซลมอนและปลาทูน่า) แป้ง เมล็ดถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม ฯลฯ ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2% ยังได้รับการยกเว้นจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 64 เนื่องจากความยากลำบากในการชำระภาษีจากการปิดทำการของธนาคารเอกชน นอกจากนี้ยังไม่สามารถทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้ในระหว่างนี้ อย่างไรก็ตามการลดภาษีและการยกเว้นใบอนุญาตจะไม่สามารถรับมือกับการชะลอตัวของการค้าท่ามกลางสภาวะทางการเมืองในปัจจุบัน ด้านผู้ส่งออกชายแดนมูเซเผย แม้การค้าทางทะเลจะหยุดชะงัก แต่การยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะช่วยการค้าชายแดนกับจีนและไทยราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/moc-grants-temporary-tariff-exemption-for-export-import-items/

ผู้เลี้ยงแพะเมืองกะเล่ปลื้ม ราคาพุ่ง ไม่พอขาย

ความต้องการแพะของเนินเขาชิน เมืองกะเล่ เขตเขตซะไกง์ และเขตตะมู่ ส่งผลให้ราคาในตลาดสูงขึ้น ผู้เลี้ยงแพะเผยนมแพะราคาถ้วยละ 1,000 จัต มีรายได้ต่อวันประมาณ 10,000 จัต ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงมีรายได้มากขึ้นเนื่องจากมีผู้ซื้อแพะจำนวนมากในช่วงฤดูกาลนี้ มีผู้เลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์เพียง 10 รายเท่านั้นที่ทำธุรกิจธุ์ปศุสัตว์ในเมืองกะเล่ ดังนั้นความต้องการจึงสูงกว่าอุปทานส่งผลให้ราคาสูงขึ้น แพะตัวผู้ขายได้ประมาณ 100,000 จัต ส่วนแพะตัวเมียขายได้ประมาณ 50,000 หรือ 80,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด ปีที่แล้วอินเดียเข้ามาซื้อแพะในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมีการขายแพะได้ราคาดีหลายร้อยตัวจากเมืองโมนยวา เมืองปะค็อกกู และเมืองมยิงยานแถบชายแดนพม่า – อินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/goat-breeders-earn-good-profit-on-upward-market-in-kalay/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชาลดลงร้อยละ 3.15

การค้าข้ามพรมแดนของไทยคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นเป็นร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 6 ในปีนี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ประชาชน ร่วมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวม ซึ่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศระบุว่าการค้าข้ามพรมแดนมีแนวโน้มที่จะสร้างรายได้ราว 1.36 ถึง 1.40 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1.31 ล้านล้านบาทในปี 2020 โดยสถานการณ์การค้าชายแดนในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 1.7 จากปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดและการปิดด่านชายแดนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งการค้าชายแดนของไทยกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 760 พันล้านบาทลดลงร้อยละ 8.01 เมื่อเทียบรายปี โดยการค้าระหว่างกัมพูชาอยู่ที่ 156 พันล้าน ลดลงร้อยละ 3.15 มาเลเซียที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดโดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันรวม 2.46 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.1 ตามด้วย สปป.ลาว ที่ 190 พันล้าน ลดลงร้อยละ 3.85 และเมียนมาที่ 165 พันล้าน ลดลงร้อยละ 14.7

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819149/cross-border-trade-between-thailand-and-cambodia-down-by-3-15-percent/

จุรินทร์ เผยค้าชายแดนไทย-เมียนมา ยังไม่สะดุด ชี้สัญญาณส่งออกไทยดีต่อเนื่อง

กระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าในส่วนการประท้วงในเมียนมาเมื่อวานนี้ ยังไม่ได้รับผลกระทบการส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทยกับเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นที่ด่านระนองด่านพุน้ำร้อน หรือด่านเจดีย์สามองค์ที่กาญจนบุรี ทั้งนี้ เมื่อวานสถานการณ์ยังปกติยกเว้นที่ด่านแม่สาย ท่าขี้เหล็ก จุดเดียวที่มีการชุมนุมของผู้ชุมนุมในฝั่งเมียนมา การขับรถข้ามแดนส่งสินค้า อาจชะลอตัวบ้าง แต่เนื่องจากผู้ส่งออกของไทยคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าแล้ว จึงได้เร่งการส่งสินค้าข้ามแดนในช่วงเช้าไปได้จำนวนมาก และการจราจรทางด้านการส่งสินค้ายังเคลื่อนตัวไปได้ “ในภาพรวมยังถือว่ายังอยู่ในสถานการณ์ปกติ จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่กระทรวงติดตามใกล้ชิด ในอนาคตถ้ามีปัญหาอะไรจะเรียนให้ทราบต่อไป”

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2592463

Lao National Single Window ลดการซับซ้อนการนำเข้า-ส่งออกพรมแดนระหว่างประเทศ

Lao National Single Window มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 23 ก.พ.เป็นต้นไป โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศการใช้งานระบบอย่างเป็นทางการ  เพื่อลดความซับซ้อนของการนำเข้าส่งออกและขนส่งสินค้าและการขนส่งสินค้าทั้งหมดที่พรมแดนระหว่างประเทศและสนามบินทุกแห่งในสปป.ลาว การใช้ LNSW จะช่วยเพิ่มแหล่งรายได้ให้กับสปป.ลาวอย่างมีนัยสำคัญและยังรับประกันความโปร่งใสในการค้าและอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรทำให้ผู้นำเข้าสามารถติดต่อกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน หน้าที่หลักของระบบคือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการร้องขอและออกใบอนุญาตนำเข้า การติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าโดยใช้ ID อ้างอิงรายการ และการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ณ จุดเดียวกัน ทั้งนี้ LNSW ครอบคลุม ใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ รายการอิเล็กทรอนิกส์ การออกใบแจ้งหนี้และการเรียกเก็บเงิน ณ จุดเดียว และสถิติและการรายงาน กระทรวงการคลังได้ประกาศให้ผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจและตัวแทนเดินเรือทั้งหมดในสปป.ลาวที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกหรือขนส่งสินค้าควรไปที่สำนักงาน LNSW เพื่อรับการฝึกอบรม ผู้ค้าที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนควรดำเนินการทันทีและควรออกบัญชีผู้ใช้โดยด่วน ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าทั้งหมดจะต้องชำระภาษีศุลกากรและภาษีอื่น ๆ รวมทั้งค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ จุดเดียว โดย BCEL,LDB ,BCEL i- Banking, BCEL One, LDB Corporate Banking เงินสด การโอนเงินและเช็คขึ้นอยู่กับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ระบบนี้ในอัตรา 120,000 กีบต่อรายการ ซึ่งไม่รวมภาษีศุลกากรและอากรอื่น ๆ ภาษีค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่หน่วยงานต่างๆ เรียกเก็บ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_national_37.php

ยอดขายชุด PPE ในเมียนมา ลดฮวบ

ตลาดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ของเมียนมาลดลงเนื่องจาก ปัญหาด้านโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและความไม่สงบทางการเมืองในปัจจุบันส่งผลให้ผู้ซื้อใช้ลดลงอย่างมาก นาย U Aye Kyaw ผู้ขายอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในย่างกุ้งเผย ตลาดหน้ากากในประเทศลดลงครึ่งหนึ่ง ด้านอุปทานลดลงเช่นกันเนื่องจากรถบรรทุกหยุดให้บริการเพราะคนขับรถได้เข่าร่วมต่อต้านรัฐบาลทหาร ปัญหาการขนส่งยังส่งผลให้ชุด PPE มากเกินความต้องการที่ศูนย์การค้าชายแดนเมียวดีหลักไมล์ 105 ตลาดหน้ากากในย่างกุ้งลดลง 40% :จากที่คนขับรถบรรทุกร่วมอารยะขัดขืนต้านรัฐประหารด้วยการหยุดวิ่งรถ ดังนั้นจึงไม่มีการส่งมอบหน้ากากที่ด่านมูเซ ทำให้ตลาดไม่เคลื่อนไหวและราคายังไม่เปลี่ยนแปลง ราคาหน้ากากอนามัย 50 กล่องในย่างกุ้งในราคา 760 จัต ราคาขายนอกตลาดอยู่ระหว่าง 1,000-1,200 จัต หน้ากากอนามัยที่ขายมาจากล็อตก่อนหน้านี้คาดว่าจะหมดในภายในสัปดาห์ถัดไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/demand-personal-protective-equipment-falls-myanmar.html

ค่าเงินบาทพุ่ง กระทบผู้ค้าชายแดนนเมียวดีขาดทุนหนัก

เงินบาทของประเทศไทยมีมูลค่าพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองเมียวดี ชายแดนเมียนมา – ไทยในขณะที่จัตของเมียนมากลับดิ่งค่าลงทำให้ผู้ที่ค้าขายด้วยเงินจัตต้องขาดทุนหลายแสน ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 64 ค่าเงินบาทยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากที่กองทัพประกาศภาวะฉุกเฉินในเมียนมาเมื่อสองวันก่อน ผลักดันให้ประชาชนซื้อทองคำและเงินดอลลาร์กักตุนไว้จำนวนมาก ค่าเงินบาทเพิ่มขึ้นประมาณ 11% ในช่วงสองวันที่ผ่านมาซึ่งเป็นสัดส่วนที่ขาดทุน 5 ล้านจัตต่อผู้ที่ถือเงิน 100 ล้านจัต ขณะที่การค้าชายแดนเมียวดีค่าเงิน 100,000 จัตมีค่าเท่ากับ 2,310 บาท ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 ราคาตัวเป็น 2,210 บาท อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 45.24 จัตต่อบาทในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 64 ซึ่งจะมีผลดีต่อผู้ส่งออกส่วนการนำเข้าจะได้รับผลกระทบพอสมควร

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myawady-see-rise-in-thai-baht-value-kyat-holders-suffer-losses

คาดการณ์เศรษฐกิจเมียนมาปี 64 หดตัว (-)0.5% ถึง (-)2.5% หลังกองทัพเมียนมายึดอำนาจรัฐบาล ส่งผลให้การค้าชายแดนไทย-เมียนมาหดตัวอีกเป็นปีที่ 5

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างเมียนมากับประเทศกับมหาอำนาจชาติตะวันตกที่มีพลวัตรที่ดีขึ้นเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจเมียนมาให้เติบโตได้ในระดับสูงตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยการลงทุนจากต่างประเทศเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการส่งออก และเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจเมียนมาจากสังคมเกษตร เข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงานและยกระดับกำลังซื้อของภาคประชาชนอย่างมหาศาล ดังนั้น การเข้ายึดอำนาจรัฐบาลของกองทัพเมียนมาในครั้งนี้ ย่อมก่อให้เกิดความชะงักงันในความสัมพันธ์กับมหาอำนาจชาติตะวันตก และอาจนำไปสู่การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

ในด้านการค้า นับตั้งแต่เมียนมาได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรป การส่งออกของเมียนมาไปสหภาพยุโรปก็เติบโตมากกว่า 10 เท่าในช่วงเวลาเพียง 6 ปี ส่วนการส่งออกของเมียนมาไปสหรัฐ ฯ ก็เติบโตขึ้น 5 เท่าภายใน 3 ปี จะเห็นได้ว่าสิทธิพิเศษทางการค้าทำให้การส่งออกของเมียนมาไปยังสหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ในด้านการลงทุน การเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาไม่ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการส่งออกเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย หลังจากกองทัพของเมียนมาเข้ายึดอำนาจรัฐบาล เหตุการณ์นี้ได้ทำเกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง และความเสี่ยงที่จะถูกถอดถอนสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากทั้งสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะชะลอหรือยุติการลงทุนในเมียนมา และทำให้เม็ดเงินลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มหดตัวลงในระยะยาว

ในด้านภาพรวมทางเศรษฐกิจเมียนมา การเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาจะทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางการเมือง และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจน ฐานะทางการเงินของภาครัฐ รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อการควบคุมการระบาดของโควิด เช่น ทำให้เกิดความล่าช้าในการแจกจ่ายวัคซีน ประกอบกับความเสี่ยงในการสูญเสียสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างเมียนมา กับ EU และสหรัฐ ฯ ที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลเป็นวงกว้าง ครอบคลุมถึงการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม ที่มีการจ้างงานกว่า 1 ล้านตำแหน่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และตัดเย็บเสื้อผ้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาจะอยู่ในกรอบ (-)0.5% ถึง (-)2.5% ในปี 2564

สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทย จะเกิดขึ้นผ่านทาง 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ การค้าชายแดน และ การเคลื่อนย้ายแรงงานเมียนมาเข้ามาในประเทศไทย โดยการเข้ายึดอำนาจทำให้เกิดความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย ซึ่งอาจทำให้มีมาตรการตรวจสอบคนหรือสินค้าข้ามพรมแดนที่เข้มงวดขึ้นจากเดิม สุดท้ายนี้ อุปสรรคในการเคลื่อนย้ายแรงงานเมียนมาข้ามพรมแดนอาจทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมายในภาคธุรกิจต่าง ๆ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Myanmar-z3186.aspx