การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและอินเดียเพิ่มขึ้น

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในขณะที่ทั้งสองประเทศกำลังเดินหน้าไปสู่การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศต่อไป โดยสถิติจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศอยู่ที่ 271 ล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากจำนวนดังกล่าวกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังอินเดียมูลค่า 65 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และนำเข้าสินค้ามูลค่าราว 207 ล้านดอลลาร์ จากอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 โดยกัมพูชาและอินเดียกำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการเจรจา FTA และข้อตกลงดังกล่าวจะมีส่วนช่วยส่งเสริมการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50752363/cambodia-india-trade-on-the-rise/

ส่งออกข้าวไทยปี 63 เสี่ยงหล่นอันดับ 3 โลก

ผู้ส่งออกข้าวแนะ“ตลาดนำการผลิต” ไทยต้องเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ สู้ศึก ระบุกว่าจะเพียงพอความต้องการของเกษตรกรต้องใช้เวลา 3-5 ปี ปี 63 ไทยเสี่ยงสูงหล่นอันดับ 3 ส่งออกข้าวโลก จากที่กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศจับมือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” เป้าหมายเพื่อสร้างประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอาหารคุณภาพของโลก และผลักดันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารติด 1 ใน 10 อันดับแรกของโลกนั้น สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ชี้ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต”เป็นเรื่องที่ไทยเองจะต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากการค้าของโลกในยุคโลกาภิวัตน์นี้มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง ตลาดผู้บริโภคเองก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคอยากจะได้คือสิ่งที่เราต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำได้แค่ช่วงข้ามคืน ทั้งนี้ต้องเริ่มจากการพัฒนาไม่ว่าจะในการศึกษาวิจัยตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ จนมาถึงการทดลองปลูกจนมีผลเป็นที่น่าพอใจและลูกค้ายอมรับ จากนั้นก็ต้องขยายเมล็ดพันธุ์จนมีเพียงพอที่จะปลูกจนได้จำนวนที่สามารถนำไปจำหน่ายในตลาดได้ โดยรวมแล้วน่าจะใช้เวลาในส่วนนี้ไม่ต่ำกว่า 3-5 ปี เพราะฉะนั้นคงไม่สามารถที่จะทำให้บังเกิดผลได้ในปีนี้หรือปีหน้า ซึ่งยังไม่รวมถึงการพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรวมถึงภาคการแปรรูป ระบบสุขอนามัยและอื่น ๆ  อย่างไรก็ดีเป็นนิมิตหมายที่ดีถ้ามีการทำงานประสานกันระหว่างกระทรวงหลักรวมถึงภาคเอกชนที่จะมีข้อมูลที่ถูกต้องของตลาดซึ่งเอกชนจะใกล้ชิดมากกว่าหน่วยงานรัฐ แต่อย่างไรก็ตามก็มีหลายผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นข้าวซึ่งปีนี้คาดว่าจะส่งออกได้ไม่เกิน 6.5 ล้านตันจาก 7.5 ล้านตันในปีที่แล้วและอาจจะหล่นไปเป็นที่ 3 ของโลกในเรื่องตัวเลขส่งออกรองจากอินเดียและเวียดนาม ด้วยเหตุผลที่ข้าวไทยมีราคาที่แพงกว่าคู่แข่งในระดับค่อนข้างมากและพันธุ์ข้าวที่ไม่หลากหลายเหมือนที่คู่แข่งมีทำให้ตลาดข้าวของไทยหดตัวมาโดยต่อเนื่อง เราต้องมีพันธุ์ข้าวที่หลากหลายและมีผลผลิตต่อไร่ที่สูงถึงจะสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ได้  สิ่งเหล่านี้จะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถึงจะช้าก็ต้องทำเพราะนี่คือความอยู่รอดของอุตสาหกรรมข้าวไทยในอนาคต หากมิเช่นนั้นข้าวไทยในตลาดโลกก็คงเหลือแค่เป็นตำนาน สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดว่าจะผลักดันให้ไทยกลับมาเป็นอันดับ 1 ผู้ส่งออกข้าวโลกโลกภายใน 2 ปีคงไม่ใช่สิ่งที่น่าจะทำได้ แต่ถ้าเรามีความตั้งใจและพยายามผลักดันสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นและต่อเนื่อง ในอนาคตก็อาจจะมีความเป็นไปได้ ข้อมูลในปี 2562  ผู้ส่งออกข้าวโลก 3 อันดับแรกได้แก่  อินเดีย ปริมาณ 9.7 ล้านตัน , ไทย 7.5 ล้านตัน และเวียดนาม 6.5 ล้านตัน ขณะที่ช่วง 6 เดือนแรกปี 2563 อินเดียส่งออกได้ 5.5 ล้านตัน, เวียดนาม 3.4 ล้านตัน และไทย 3 ล้านตัน

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/442502?utm_source=sub_category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=trade

เวียดนามเผยเกินดุลการค้ากับอินเดีย ไตรมาสแรก

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ เวียดนามมียอดเกินดุลการค้ากับอินเดีย 343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่า 2.345 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเวียดนามมีมูลค่าส่งออก 1.398 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าอินเดียเป็นหุ้นส่วนทางการค้าใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่ได้ใช้ตลาดดังกล่าวอย่างเต็มที่ สำหรับสินค้าเวียดนามจำนวนมาก ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ เงาะและทุเรียน ล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในอินเดีย นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศมุ่งมั่นที่จะบรรลุการค้าระหว่างสองฝ่าย มีมูลค่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-records-trade-surplus-with-india-in-q1/172836.vnp

อินเดียนำเข้าถั่วดำ 400,000 ตันจากเมียนมา

รัฐบาลอินเดียประกาศเมื่อวันที่ 19 มีนาคมว่าจะซื้อถั่วดำสีดำเพิ่มอีก 400,000 ตันซึ่งรู้จักกันในชื่อ matpe จากเมียนมาในปีงบประมาณ 2563-2564 มีแนวโน้มว่าพวกเมียนมาจะเพิ่มโควต้าการส่งออก จากยอดขาย 250,000 ตันเมื่อปลายปีที่แล้วยังเหลืออีก 40% ที่จะต้องส่งออกไปยังอินเดีย ความต้องการ matpe ยังมีอย่างต่อเนื่องทำให้ราคาอยู่ที่ระหว่าง 900,000 จัต ถึง 1 ล้านจัตต่อตันในขณะที่ราคาของถั่วแระซึ่งอินเดียหยุดการนำเข้าลดลงเหลือ 700,000 จัตต่อตัน ฤดูเก็บเกี่ยวของถั่วดำ อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิ้นเดือนเมษายน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-import-400-000-tonnes-black-gram-myanmar.html

ตลาดยาเมียนมาเข้าสู่ภาวะขาดแคลน

ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาให้ข้อมูลว่ายาบางชนิดที่นำเข้าจากอินเดียอาจขาดสต็อกในเมียนมาในไม่ช้า จากข้อมูลอุตสาหกรรมยาพบว่า 75% ของยาที่ขายในเมียนมานำเข้ามาจากอินเดียและปัจจุบันบริษัทยาอินเดียกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการผลิต การระบาดของโรค coronavirus ในประเทศจีนได้ทำลายห่วงโซ่อุปทานของส่วนผสมและสารเคมีที่ใช้ในการทำยา ทั้งนี้รัฐบาลอินเดียยังจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์บางประเภทไปยังประเทศอื่น ๆ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศ อย่างไรก็ตามการแข็งค่าของเงินจัตเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนั้นก็ค่อนข้างที่จะส่งผลต่อการขาดแคลนและราคายาให้คงที่ได้เช่นกัน เมียนมานำเข้ายา 80% จากอินเดีย และประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ปากีสถาน บังกลาเทศ จีน เวียดนามฟิลิปปินส์ และยุโรป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/market-conditions-tighten-indian-pharmaceuticals.html

อินเดียเพิ่มการนำเข้าถั่วดำจากเมียนมา

จากข้อมูลเดือนต.ค. ที่ผ่านมาอินเดียนำเข้าถั่วดำจำนวนมากจากเมียนมา อินเดียกำหนดระบบโควตาสำหรับพืชจากเมียนมาโดยมี 3 บริษัทได้รับอนุญาตจากรัฐบาลอินเดียให้นำเข้าจากเมียนมา ช่วง ต.ค.ราคาถั่วดำอยู่ที่ประมาณ 80,000 จัตต่อตัน แต่ตอนนี้ราคาอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านจัตต่อตัน รายงานระบุว่าผลผลิตในอินเดียต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้และมีการซื้อจากเมียนมา 3,000 ถึง 4,000 ตันต่อสัปดาห์ตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา อินเดียซื้อกรัมดำจำนวนมากภายใต้ระบบโควต้าในราคาที่ต่ำกว่าแต่ตอนนี้อินเดียซื้อในราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานพบว่า 77% ของการเพาะปลูกส่งออกไปยังอินเดีย โดยจะเพาะปลูกในเดือนมี.ค.และเม.ย. และเก็บเกี่ยวในเดือนก.ย.หรือต.ค. พืชที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตมะกเว, เขตอิรวดี, ย่างกุ้ง, มั ฑะเลย์ และเขตสะกาย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-buying-more-black-gram-myanmar.html