ไตรมาสแรกของปีงบฯ 65-66 ภาคการผลิตเมียนมาดูดเม็ดเงินลงทุนจากจีนไปแล้วกว่า 11.112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) ของเมียนมา เผย ไตรมาสที่ 1 (เม.ย.-มิ.ย.2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 มีการลงทุนในภาคการผลิตจาก 7 บริษัทของจีน รวมทั้งสิ้น  11.112 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด 21.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มทุนจากฮ่องกง ลงทุนกว่า 5.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ญี่ปุ่นประมาณ 3.1 และไต้หวันอีก 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าสถานประกอบการที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมากต้องเผชิญกับผลกระทบของโควิด-19 และความไม่สงบทางการเมือง แต่ขณะนี้เริ่มกลับสู่ภาวะปกติหลังจมีการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับแรงงาน ตั้งแต่เดือนก.ย.2564 ที่ผ่านมา โดยภาคการผลิตส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ผลิตแบบ CMP (การตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของจีดีพีประเทศ ทั้งนี้ ในช่วงงบประมาณย่อยที่ผ่านมา (เดือนต.ค. 2564 ถึงเดือนมี.ค. 2565) เมียนมาดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 647.127 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 49 บริษัทต่างชาติ ในจำนวนนี้ มี 40 บริษัทลงทุนในภาคการผลิต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-manufacturing-sector-attracts-11-million-from-china-in-q1-april-june/#article-title

ราคาข้าวส่งออกไปจีนผ่านด่านมูเซ พุ่งขึ้น!

นาย อู มิน เต็ง รองประธานศูนย์ค้าส่งข้าวชายแดนมูเซ เผย ราคาส่งออกข้าวไปจีนราคาพุ่งสูงเป็นที่พอใจเป็นอย่างมาก โดยราคาข้าวหักอยู่ที่ 36,000 จัตต่อถุง (น้ำหนัก 50 กิโลกรัม) จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของต่างประเทศ คาดว่าจะหนุนราคาไปได้ถึง 45,000 จัตต่อถุง ปัจจุบันมีการส่งข้าวและข้าวหักจีนผ่านชายแดนมูเซอยู่ที่ประมาณ 10,000 ถุง ซึ่งก่อนหน้านี้มีปริมาณการส่งออกมากถึง 60,000 ถุง ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. ถึง 30 มิ.ย.2565 ของปีงบประมาณ 2565-2566 มีส่งออกข้าวและข้าวหักกว่า 550,000 ตัน โดย 510,000 ตัน ส่งออกทางทะเล และผ่านชายแดนอีก 33,000 ตัน ทั้งนี้ เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2563-2564 ประมาณ 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 2 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/broken-rice-export-to-china-fetches-high-price/#article-title

Q1 ของปีงบ 65-66 ค้าระหว่างประเทศเมียนมา พุ่งแตะ 18.19%

ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ถึง วันที่ 24 มิ.ย.2565 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2565-2566  มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเมียนมาเพิ่มขึ้น 18.19% เมื่อเทียบปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 7.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกเพิ่มขึ้น 18.34 % ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น 18.04 % แม้ว่าการค้าโดยรวมจะสูงขึ้น แต่การค้าชายแดนของประเทศลดลง 15.54 % มาอยู่ที่กว่า 1.719 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งการค้าขายส่วนใหญ่ผ่านเส้นทางเดินเรือ ส่วนการค้าชายแดนจะทำการค้ากับจีน ไทย บังกลาเทศ และอินเดีย ทั้งนี้สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา ได้แก่ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การประมง แร่ธาตุและผลิตภัณฑ์จากป่า ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://english.news.cn/20220707/a1174db83ab2439296f539a3a2e35999/c.html

เดือน เม.ย.-มิ.ย.65 เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วกว่า 550,000 ตัน

รายงานของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่า  สามเดือนที่ผ่านมาของปี 2565 (เม.ย.-มิ.ย.) เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 550,547 ตัน จากบริษัทผู้ส่งออกข้าวประมาณ 38 บริษัทผ่านการค้าทางทะเล ในขณะที่ 33,593 ตันถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้วเนื่องจากความเข้มงวดของจีน ส่วนใหญ่แล้วเมียนมาสงออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ (65,990 ตัน) และจีน (54,635 ตัน) ปัจจุบันราคาข้าวขาวคุณภาพต่ำอยู่ที่ประมาณ 320-360 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งราคาส่งออกค่อนข้างต่ำกว่าราคาขาวของไทยและเวียดนาม แต่ยังสูงกว่าราคาของอินเดียและปากีสถาน ทั้งนี้ราคาข้าวส่งออก (คุณภาพต่ำ) อยู่ในช่วง 29,000 และ 30,000 จัตต่อถุง (น้ำหนัก 108 ปอนด์) ราคาขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวที่ในประเทศ ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.2564 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2565 ของปีงบประมาณย่อย (2564-2565)  เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 1.4 ล้านตัน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564  เมียนมาการส่งออกข้าว 2 ล้านตัน สร้างรายได้กว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-550000-mt-of-rice-in-april-june/#article-title

ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมาปรับตัวสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2565 ราคาน้ำมันปาล์มนอกเขตเมืองย่างกุ้ง ลดฮวบเหลือ 6,300 จัตต่อ viss จากราคาเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2565 ที่ 8,000 จัตต่อ viss เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศมีความผันผวนอย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 9 ถึง 30 มิ.ย ราคาน้ำมันลดลงประมาณ 1,000 จัตต่อ viss เนืองจากความต้องการของจีนที่มีแนวโน้มลดลง และผลผลิตน้ำมันปาล์มของมาเลเซียที่ออกมาล้นตลาด ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ความต้องการในประเทศมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากเรือบรรทุกน้ำมันจะเข้ามาในไม่ช้า และส่งผลให้ราคาในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันปาล์มจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-prices-on-the-rise/