ปิดฉาก ASEAN Summit : ปลดล็อกข้อจำกัด ผลักดัน RCEP เดินหน้าต่อ

การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 35 ที่ไทยในฐานะประธานและเจ้าภาพการประชุมปี 2562 หัวข้อการเจรจาในครั้งนี้ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ถือเป็นจุดสนใจของนานาประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเคยเป็นความตกลงที่เป็นคู่เทียบกับความตกลงเขตการค้าเสรีสำคัญอย่าง Trans-Pacific Partnership (TPP) จนปัจจุบันบรรลุข้อตกลงภายใต้ชื่อ Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP) และเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญสงครามการค้าซึ่งถือเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดการค้าเสรีโดยสิ้นเชิง ความสำเร็จในการเจรจาความตกลง RCEP ในครั้งนี้ ถือว่ามีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบจากสงครามการค้า และกระแสปกป้องทางการค้าที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ความสำเร็จที่ถือเป็นไฮไลต์สำคัญ คือ ไทยสามารถผลักดันให้เกิดผลสรุปของการเจรจาความตกลง RCEP ได้ครบข้อเจรจาทั้งหมด 20 บท จากช่วงต้นปี 2562 ที่ได้ผลสรุปเพียง 7 บท โดยเป็นการบรรลุข้อเจรจาระหว่างอาเซียน 10 ประเทศกับประเทศหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ยกเว้นเพียงอินเดียที่ยังไม่พร้อมในการเปิดเสรีการค้าการลงทุนในบางรายการตามความตกลง RCEP แต่ยังสามารถกลับมาเจรจาหาได้ในภายหลัง ทั้งนี้ คาดว่าอินเดียจะกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจามีความเป็นไปได้พอสมควร กลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจยิ่งขึ้นในมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ โดยประเทศสมาชิก RCEP (ไม่รวมอินเดีย) มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันถึง 24.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 29% ของขนาดเศรษฐกิจโลก ขณะที่มีประชากรรวมกันถึงราว 3.6 พันล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนประชากรโลก ส่วนไทยก็จะได้ประโยชน์จากการเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจมากขึ้นเช่นกัน ความตกลง RCEP จะช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า โดยก่อนหน้าประเมินว่าสินค้าในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางล้อ เส้นใย สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และกระดาษ จะเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น แม้อินเดียยังไม่เข้าร่วม RCEP ไม่ได้บั่นทอนการค้าระหว่างไทยและอินเดียแต่อย่างใด เนื่องจากไทยและอาเซียนยังคงมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีร่วมกับอินเดียภายใต้ Thailand-India Free Trade Agreement (TIFTA) และ ASEAN-India Free Trade Agreement (AIFTA) ขณะเดียวกันอินเดียนับเป็นตลาดเป้าหมายใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย ซึ่งภาครัฐให้ความสำคัญและพร้อมสนับสนุนในการเปิดตลาด โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกของไทยไปอินเดียขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี เทียบกับการส่งออกของไทยโดยรวมที่ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2 แม้ว่า RCEP จะยังไม่สำเร็จผลอย่างเต็มรูปแบบ ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมกลยุทธ์ให้พร้อม ควรศึกษาลู่ทางและแสวงหาโอกาสลงทุนในประเทศสมาชิก RCEP โดยอาศัยจุดแข็งของประเทศนั้น อาทิ ความพร้อมด้านแรงงาน และทรัพยากรทางธรรมชาติ ส่วนผู้ประกอบการไทยที่ยังไม่มีความพร้อมด้านการลงทุนในต่างประเทศหรือยังไม่มีแผนการลงทุนในต่างประเทศ ควรเตรียมกลยุทธ์รับมือกับแนวโน้มการแข่งขันในประเทศที่อาจรุนแรงขึ้นจากการเข้ามาของต่างชาติในอนาคต

ที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/24383

เซรามิกอ่วมแน่!!! สหรัฐฯตัดสิทธิ GSP กระทบกว่า 4,000 ล.บาทต่อปี

กลุ่มเซรามิกส.อ.ท.มึน มาตรการระงับการให้สิทธิ GSP ของสหรัฐอเมริกา หลัง 25 เม.ย63 จะทำให้ผลิตภัณฑ์เซรามิก มีผลกระทบเป็นมูลค่า 4,185 ล้านบาทต่อปี เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ว่าการที่ สหรัฐอเมริกาประกาศจะระงับการสิทธิ GSP มีผลบังคับใช้ 25 เมษายน 2563 นั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เซรามิกมีผลกระทบเป็นมูลค่า 4,185 ล้านบาทต่อปี และมีผลกระทบกับมูลค่าการส่งออก เซรามิกของไทยเฉลี่ยสูงกว่า 20% ของมูลค่าส่งออกไปยังทั่วโลก โดยผลกระทบมากสุดคือเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิกส่งออกไปยังสหรัฐฯมูลค่า 1,949.42 ล้านบาท หรือ 32% ของมูลค่าส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซรามิกประสบปัญหาหลายด้านอยู่แล้ว เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น วัตถุดิบในประเทศมีคุณภาพลดลง แต่มีราคาสูงขึ้น, ขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ต้นทุนการผลิต อื่นๆ สูงขึ้น เป็นต้น  ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงและเมื่อระงับการให้สิทธิ GSP ยิ่งเป็นการซ้ำเติมต่ออุตสาหกรรมเซรามิก จึงขอให้ภาครัฐช่วยแก้ไขปัญหาโดยขอให้ ภาครัฐออกมาตรการใช้ผลิตภัณฑ์เซรามิก ส่งเสริมการใช้สินค้าไทย (Made in Thailand), มีมาตรการป้องกันสินค้าเซรามิกด้อยคุณภาพจากต่างประเทศที่ ส่วนการส่งออก ขอให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาสิทธิ GSP ช่วยควบคุมค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้ค่าเงินบาทอยู่ในช่วง 31-33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ, เร่งเจรจา FTA เพื่อเปิดตลาดกับประเทศเป้าหมาย

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/413096

ดันไทยเป็นผู้นำอาเซียนด้านพลังงาน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards ประจำปี 2562 เปิดเผยว่า ในวันนี้ (18 ต.ค.) เป็นโอกาสการฉลองความสำเร็จครบรอบ 2 ทศวรรษ กับการผลักดันการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานของไทย โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมและเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านการประกวดไทยแลนด์เอนเนอร์ยี่อวอร์ด (Thailand Energy Awards) อย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปี โดยปัจจุบันมียอดส่งผลงานเข้าประกวด รวม 3,465 ผลงาน ได้รับการคัดเลือกรับรางวัลในสาขาต่างๆ จำนวน 951 รางวัล คิดเป็นสัดส่วนลดการใช้พลังงานมูลค่ากว่า 9,300 ล้านบาท สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 1.9 ล้านตัน

ที่มา:https://www.ryt9.com/s/tpd/3056555

ภาครัฐผนึกกำลังเอกชนดันไทยขึ้นแท่นฮับการเดินเรืออาเซียน

พิธีเปิดงาน Thailand Marine & Offshore Expo 2019 เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญประเทศ โดยปัจจุบัน 90% ของปริมาณการค้า ระหว่างประเทศ อาศัยการขนส่งทางน้ำ เนื่องจากสามารถบรรทุกได้ในปริมาณมาก และมีต้นทุนการขนส่งที่ราคาถูกกว่าการขนส่งด้านอื่นๆ ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพด้านความมั่นคงของประเทศ ปัจจุบันอุตสาหกรรม ต่อเรือและซ่อมเรือ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอีกมาก โดยอุตสาหกรรมต้นน้ำ เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบในการผลิตและการซ่อมเรือ อาทิ สี/เคมีภัณฑ์ การหล่อโลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์เดินเรือ และเครื่องมือสื่อสาร อุตสาหกรรมกลางน้ำ อาทิ สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมปลายน้ำ อาทิ การขนส่งทางทะเล การประมง การท่องเที่ยว ฯลฯ เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทย ซึ่งมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการเดินเรือในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอีกช่องทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ของประเทศไทย ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ พร้อมเป็นเวทีสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ ให้กับ ผู้ประกอบการในประชาคมอาเซียน ภูมิภาคเอเชีย และระดับโลก โดยการจัดงาน Oil & Gas Thailand (OGET) 2019 Thailand งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน ก๊าซ และปิโตรเคมี พร้อมกับงาน Thailand Marine & Offshore Expo (TMOX) 2019 โดยมีผู้ประกอบการจากไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมงาน เป็นโอกาสในการขยายตลาดและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการต่อเรือ การเดินเรือ ภาคการขนส่ง อุตสาหกรรมการประมงนอกชายฝั่ง อุตสาหกรรมเรือท่องเที่ยว รวมไปถึงอุตสาหกรรมด้านพลังงานน้ำมัน ก๊าซ และปิโตรเคมี สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่ออนาคต (New S-Curve)

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/nnd/3054120

ชง 8 เรื่องเด็ดดันเที่ยวไทยพุ่ง

นายกลินท์  สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นำคณะกรรมการเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ) เพื่อหารือความร่วมมือและนำเสนอประเด็นต่าง ๆ ของภาคเอกชนต่อการผลักดันเศรษฐกิจ โดยมีข้อเสนอประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย 1.Digital Tourism Platform ขอรับการสนับสนุนแหล่งข้อมูลด้านการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ของกระทรวงและหน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวง 2.Downtown VAT Refund  โดยขอให้มีการทำVAT Refund ไปยังจังหวัดต่าง ๆ และขอให้ช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มจุดในการดำเนินการ VAT Refund 3.การอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว   สนับสนุนให้มีการปรับปรุง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 4.สนับสนุนโครงการพัฒนาการท่องเที่ยว ตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ พ.ศ. 2561-2570 ให้มีผลในทางปฏิบัติ 5.โครงการทัวร์ริมโขง  ขอให้กระทรวงฯ ช่วยผลักดันการดำเนินโครงการทัวร์ริมโขงให้มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม และร่วมพัฒนาแผนแม่บทกับภาคเอกชน 6.โครงการไทยแลนด์ริเวียร่า  หอการค้าไทยสนับสนุนโครงการ โดยขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บท และแผนพัฒนาภายใต้โครงการไทยแลนด์ริเวียร่า 7.โครงการ 1 หอการค้า 1 ท่องเที่ยวชุมชน โดยการร่วมจัดหลักสูตรการอบรมให้ความรู้ชุมชน 8.การพัฒนาการท่องเที่ยวรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ ขอให้ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการที่มีคุณภาพที่ดีรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ โดยขอให้มีการปรับปรุงแผนพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/410950

ผู้ว่านครพนมจับมือหอการค้าจังหวัด เยือนฮ่าห์ติ๋งห์-กว่างบิงห์วางแนวปฏิบัติร่วม

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย และคณะหัวหน้าส่วนราชการ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรม สมาคมเวียดนามแห่งประเทศไทย ภาคเอกชนจังหวัดนครพนม ได้เข้าเยี่ยมเยือนจังหวัดฮ่าติ๋งห์และกว่างบิ่งห์ เมื่อวันที่25-26 กันยายน ที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเสนอให้รัฐบาลกลางสนับสนุนการปรับปรุงเส้นทางหลวง R8 เพื่ออำนวยความสะดวกความเชื่อมโยง การขนส่งสินค้าและประชาชนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้แวะเยี่ยมชมเขตเศรษฐกิจพิเศษของท่าเรือน้ำลึกหวุ๋นอ๋าง ที่สามารถเชื่อมโยงได้ทั่วโลก โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงถนนทางหลวง R12 และเสนอให้รัฐบาลนำเส้นทางดังกล่าวเข้าบรรจุในข้อตกลงการอำนวยความสะดวกการขนส่งภายใต้กรอบลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion Cross Border Trade Agreement) เพื่อส่งเสริมการไปมาหาสู่กันและร่นระยะเวลาการขนส่งระหว่างกัน ฝ่ายเวียดนามขอพิจารณาการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรแก่สินค้าศักยภาพ เช่น อาหารทะเล และเอกอัครราชทูตฯ ขอให้จังหวัดพิจารณาเชิญผู้แทนภาคเอกชนไทย สปป.ลาวและเวียดนาม ร่วมเดินทางกับคณะผู้แทนภาครัฐ เพื่อหารือถึงการร่วมทุนเพื่อเปิดเส้นทางเดินรถโดยสาร ไทย-ลาว-เวียดนาม ผ่านเส้นทาง R12 ทั้งนี้เอกอัครราชทูตฯ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม หอการค้าได้เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูง 3 ประเทศ 9 จังหวัด ครั้งที่ 22ประกอบด้วย จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร แขวงบอลิคำไซ แขวงคำม่วน จังหวัดเหงะอาน ฮาติ๋งห์ และกวางบิ่งห์ ซึ่งที่ประชุมได้รายงานผลการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในทุกมิติ โดยที่ประชุมเอกอัครราชทูตฯ เสนอวาระสำตัญให้มีแนวทางปฏิบัติดังนี้ 1.การพัฒนาให้เส้นทาง R12 เป็นระเบียงเศรษฐกิจโดยผลักดันให้เกิดการลงทุนบนเส้นทาง อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวและสถานีบริการยานพาหนะและผู้เดินทาง เพื่อให้ทั้งสามประเทศได้ประโยชน์ร่วมกัน 2.ให้ภาคเอกชนพิจารณาจัดตั้งบริษัทร่วมทุนการรถโดยสารสามฝ่ายระหว่างไทย สปป. ลาวและเวียดนาม 3.จัดตั้งการหารือกลุ่มย่อยในเรื่องที่ต้องมีการพิจารณารายละเอียดและคัดเลือกประเด็นสำคัญขึ้นหารือระหว่างผู้บริหารจังหวัดในที่ประชุมใหญ่ เพื่อต่อยอดและกระชับความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป 4.เพิ่มจังหวัดของไทยที่มีความสัมพันธ์กับเวียดนามและ สปป.ลาวเข้าร่วมประชุมเพิ่มเติม อาทิ จ.อุดรธานีและ จ.อุบลราชธานี และ 5. เชิญให้ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น บริษัทเดินรถ เข้าร่วมการประชุมเพิ่มเติมและอาจะแยกหารือกันโดยตรงแบบกลุ่มย่อยเป็นเรื่อง ๆ ไป

ที่มา: https://mgronline.com/business/detail/9620000093893

ทยควง 4 ชาติร่วม’China-Asean Forum’ หวังผนึกกำลังร่วมกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว

ระหว่างวันที่ 19-21 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ณ มณฑล กวางสี  เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้จัดการประชุมด้านวัฒนธรรมจีน-อาเซียน ครั้งที่ 14 “The 14 th  China-Asean Cultural Forum” เพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับ การสื่อสารเชิงลึกและการคิดเชิงปะทะสำหรับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความร่วมมือ ด้านการท่องเที่ยวระหว่างจีน – อาเซียน โดยมีตัวแทนภาครัฐบาล ทั้งจีน อีก 5 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และภาคเอกชน ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-อาเซียน เพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ด้านรองผู้ว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปะของกัมพูชาเชื่อว่า “One Belt One Road” ไม่เพียง แต่จะส่งเสริม การบูรณาการและการพัฒนาของจีนและอาเซียน แต่ยังส่งเสริมวัฒนธรรมเอเชียไปทั่วโลก “One Belt One Road” ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศในเอเชีย

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/nnd/3045081

พาณิชย์เร่งอัพเกรดเอฟทีเอ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมกำลังอยู่ระหว่างการ เตรียมความพร้อมสำหรับการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา หลังจากที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีมติให้อาเซียนไปเจรจากับคู่เจรจาเพิ่มเติม หลังจากที่เอฟทีเอจับคู่เจรจาหลายกรอบ ทั้งอาเซียน-จีน, อาเซียน-อินเดีย, อาเซียน-เกาหลีใต้ และอาเซียน-ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ ได้มีผลบังคับใช้มานานแล้ว และยังไม่มีการปรับปรุงความตกลง ยกเว้นอาเซียน-ญี่ปุ่น ที่ได้มีการอัพเกรดเอฟทีเอไปแล้ว ขณะนี้กำลังรอการบังคับใช้

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/tpd/3041888

เอกชนชี้ตลาดโลว์คอสต์ไทยโตทะลุ 20%

ไทยเวียดเจ็ต เผยว่าปี 62 เป็นอีกปีที่สายการบินต้นทุนต่ำ (Low-cost Airline) เติบโตอย่างคึกคัก สวนทางตลาดท่องเที่ยวไทยที่เติบโตลดลงมาโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติถือว่าไม่ค่อยคึกคัก ส่งผลให้ไทยเวียดเจ็ตปรับเป้าการเติบโตจาก 10% เป็น 20% ในปีนี้ ทั้งนี้คาดว่าปริมาณผู้โดยสารทั้งปีจะอยู่ที่ 2.4 ล้านคน เติบโตจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 2.1 ล้่านคน ตลาดศักยภาพเกิดใหม่เป็นขุมทรัพย์และเป้าหมายการทำตลาด คืออินเดีย ในรอบ 10 ปีข้างหน้าผู้โดยสารจากอินเดียจะไหลทะลักไปทั่วโลกรวมถึงเข้ามาในไทยด้วย ทั้งนี้ส่วนในรอบ 5-10 ปีนั้นสายการบินโลว์คอสต์จะพุ่งเป้าไปในกลุ่มประเทศ CLMV โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งมีดีมานต์ประชากรมากกว่า 70 ล้านคน ดังนั้นจึงสนใจเปิดเส้นทางบิน ไทย-ย่างกุ้ง (เมียนมา) และ ไทย-สปป.ลาว จากปัจจุบันมีเส้นทางบินแค่ ไทย-เวียดนาม รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่า ตลาดอินเดียมีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก เฉลี่ย 20% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 61 ขยายตัว 18% ทิ้งห่างเจ้าตลาดจีนอย่างมากซึ่งเติบโตเพียง 11% ในปีก่อน ดังนั้นคาดว่าปริมาณผู้โดยสารของอินเดียจะมีมากกว่า 520 ล้านคนในปี 2037 และเติบโตต่อเนื่องมากกว่า 10% ในอีกหลายปี

ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/45720

สปป.ลาว-ไทย ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับอุตสาหกรรม

สปป.ลาวและไทยได้ตกลงที่จะร่วมมือในการประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  – อุตสาหกรรม 4.0 อธิบดีกรมเทคโนโลยีดิจิตอล สปป.ลาว กล่าวว่าบทบาทของพวกเขาคือการจัดการพัฒนาส่งเสริมและให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศ รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์และนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล กระทรวงได้อำนวยความสะดวกให้หน่วยงานและสถาบันในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสำหรับการจัดการสาธารณะและการบริหารเพื่อประโยชน์สูงสุดของเทคโนโลยีดิจิตอล ได้เซ็นสัญญากับหน่วยงานเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการเกษตรและการพัฒนาอุตสาหกรรมในสปป.ลาวตามการใช้งานของอุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวทั้งสองฝ่ายจะเผยแพร่และส่งเสริมการประยุกต์ใช้การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลรวมทั้งแบ่งปันประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมและความทันสมัย พร้อมกับการปรับปรุงคุณภาพการบริการและบริหารของรัฐบาล

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-thailand-agree-digital-tech-cooperation-industry-103704