‘เวียดนาม’ ชี้ธุรกิจเตรียมแผนปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

นาย Tô Hoài Nam รองประธานและเลขาธิการสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งเวียดนาม (VINASME) กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจเวียดนามต้องปรับตัวหลายอย่างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่จะมีการหมุนเวียนพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายและควบคุมต้นทุน นอกจากนี้ ธุรกิจต่างๆ จัดทำแผนการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและปรับแผนการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์การระบาดของไวรัส ตลอดจนปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม นาย Trần Thoa รองผู้อำนวยการ บริษัท Thien Tâm Thảo ชี้ว่าการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินธุรกิจของทุกองค์กร และธุรกิจจำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์มาช่องทางออนไลน์ที่ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะช่วยให้กิจการสามารถรักษารายได้และกำไรต่อไปได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1015327/enterprises-diversify-plans-to-adapt-to-covid-19-pandemic.html

อัตตะปือขยายล็อกดาวน์ถึง 31ส.ค.

ทางการอัตตะปือมีคำสั่งให้ล็อกดาวน์ต่อไปจนถึงวันที่ 31 ส.ค. หลังมีรายงานการติดเชื้อโควิดที่แพร่ระบาดในท้องที่มากขึ้น โดยหลายหมู่บ้านจัดเป็นโซนสีแดงหรือสีเหลือง สถานบันเทิง บริการนวด สปา สนุ๊กเกอร์ อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ร้านเสริมสวย โรงแรม ร้านตัดผม ตลาดกลางคืน สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา และสถานที่ท่องเที่ยว ปิดให้บริการทุกประเภท และห้ามเข้าโรงเรียน บริการขนส่งผู้โดยสารจากอัตตะปือไปยังจังหวัดอื่น ๆ ก็ถูกระงับ ควบคู่ไปกับการส่งมอบสินค้า นอกเหนือจากสิ่งของจำเป็น เช่น อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการกู้คืนจากภัยพิบัติ เชื้อเพลิง และอาหาร นอกจากนี้ในจังหวัดบ่อแก้ว เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำถูกล็อกดาวน์จนถึงวันที่ 30 ส.ค. หลังจากมีผู้ติดเชื้อ 42 คนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมื่อวันที่ 16 และ 17 ส.ค.

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2021-08/18/c_1310134226.htm

‘เวียดนาม’ ชี้ธุรกิจฟื้นตัว ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19

จากข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าถึงแม้เศรษฐกิจเวียดนามจะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ไปยังต่างจังหวัด โดยเฉพาะเมืองโฮจิมินห์ อย่างไรก็ดี การส่งออกและการนำเข้าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยังอยู่ในระดับสูง ด้วยมูลค่า 373.36 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 30.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ประเด็นที่โดดเด่นที่สุดในเวียดนาม คือ ไม่ขาดแคลนสินค้าและไม่มีการปรับขึ้นราคาในช่วงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแสดงความกังวลว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ หากการระบาดยังทวีความรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลให้กิจการหยุดดำเนินธุรกิจ กิจกรรมการผลิตปิดตัวลง ตลอดจนขาดแคลนอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจำนวนมากจึงต้องปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าวและคงไว้กับการป้องกันการแพร่ระบาด

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/businesses-show-relisilience-amid-econmic-fallout-883020.vov

จีนอนุญาตชาวเมียนมามาเดินทางกลับประเทศ หลังโควิดระบาดซ้ำ

ชาวเมียนมาที่ติด COVID-19 ในเมือง Shweli ของจีน ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค.ถึง 10 ส.ค. 64 ที่จุดตรวจเข้า-ออกด่านชายแดนมูเซของรัฐฉาน ซึ่งชาวเมียนมาในมณฑลยูนนานถูกผลักดันให้เดินทางกลับประเทศ ตั้งแต่เดือนเม.ย. 64 เนื่องจากการกลับมาระบาดอีกครั้งของโควิด-19 ของมณฑลยูนนาน ชาวเมียนมาที่ทำงานในเมือง Shweli ชายแดนจีน-เมียนมา มีส่วนผลักดันผลผลิตในประเทศของจีนและสามารถส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในเมียนมา

ที่มา : https://news-eleven.com/article/213811

‘พาณิชย์เวียดนาม’ เดินหน้าร้องขอคลังสินค้า เหตุช่วยลดต้นทุนธุรกิจจากโควิด-19

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เรียกร้องให้ธุรกิจโลจิสติกส์และธุรกิจขนส่งทางทะเล ช่วยลดค่าธรรมเนียมสำหรับค่าภาระฝากตู้สินค้าและคลังสินค้าแก่บริษัทต่างๆ ที่ลดการดำเนินงานลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เมื่อวันที่ 10 สิ.ค. นาย Tran Quoc Khanh รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้ยื่นส่งคำสั่งไปยังสมาคมธุรกิจโลจิสติกส์เวียดนามและสมาคมท่าเรือเวียดนาม ซึ่งมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสนั้น ทำให้ธุรกิจลดการดำเนินงานและหยุดกิจการชั่วคราว ตลอดจนประสบปัญหาการรับสินค้าจากท่าเรือ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทางกระทรวงฯ จึงเรียกร้องให้ลดค่าใช้จ่ายแก่ธุรกิจดังกล่าว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/trade-ministry-wants-storage-warehousing-costs-cut-for-struggling-businesses/206261.vnp

รัฐบาลกัมพูชาเพิ่มงบประมาณ สำหรับการจัดการปัญหาโควิด-19 เป็น 2 เท่า

รัฐบาลกัมพูชาปรับงบประมาณรายจ่ายสำหรับการรับมือกับการระบาดของโควิด-19 ขึ้นเป็น 2 เท่า ในขณะที่ยังคงเดินหน้าตามเป้าหมายในการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศ รวมถึงการให้บริการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อย่างสุดความสามารถ รายงานดังกล่าวถูกนำเสนอโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังได้กำหนดงบประมาณสำหรับการรับมือประจำปี 2021 ไว้ที่ 719 ล้านดอลลาร์ในขั้นต้น ซึ่งต่อมางบประมาณดังกล่าวได้ขยายเป็น 1.454 พันล้านดอลลาร์ ในปัจจุบัน โดยรัฐบาลยังได้เพิ่มงบประมาณในการเยียวยาสำหรับผู้ได้รับผลกระทบหลังรัฐบาลออกมาตรการล็อกดาวน์ เป็นจำนวนเงิน 335 ล้านดอลลาร์ รวมถึงโครงการสนับสนุนเงินทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ที่ 270 ล้านดอลลาร์ ถูกปรับเป็น 150 ล้านดอลลาร์ เพื่อเบิกจ่ายภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้า เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50912498/govt-doubles-the-budget-for-pandemic-intervention-spending/

ถอดบทเรียนโลกสู้วิกฤตโควิดสู่มาตรการเศรษฐกิจไทย

โดย วิจัยกรุงศรี I ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

การระบาดของโควิดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มสูงกว่าที่คาด โดยตัวเลขการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันเข้าสู่กรณีเลวร้าย จากทั้งประสิทธิภาพของมาตรการล็อกดาวน์และประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันสายพันธุ์เดลตาต่ำกว่าที่คาด ทำให้มาตรการควบคุมการระบาดมีแนวโน้มลากยาวไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2564 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยค่าเฉลี่ยของการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จาก 31 สำนักวิจัยลดลงจาก 3.4% (มีนาคม 2564) อยู่ที่ 1.8% (สิงหาคม 2564)

การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนในวงกว้าง จากตัวเลขของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนพบว่า มีธุรกิจจำนวน 754,870 รายอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรืออยู่ใน 9 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง คิดเป็น 93.9% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด ซึ่งมีการจ้างงานถึง 24.8 ล้านคน คิดเป็น 65% ของแรงงานทั้งหมด และในจำนวนนี้มีแรงงานประมาณ 13.7 ล้านคนเป็นผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง

จากวิกฤตโควิดที่มีความรุนแรงและยาวนาน รวมถึงมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง มาตรการเยียวยาจึงมีความจำเป็นเพื่อควบคุมการระบาดและประคองให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนไทยอยู่รอดต่อไปได้

วิจัยกรุงศรีจึงศึกษาเปรียบเทียบการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากโควิดในประเทศต่างๆ พบว่า

  • มาตรการให้เงินสำหรับผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักตัว: เน้นการสร้างแรงจูงใจและข้อบังคับเพื่อให้คนที่มีความเสี่ยงยอมกักตัวอยู่บ้านเพื่อควบคุมการระบาด
  • มาตรการรักษาระดับการจ้างงาน: เป็นมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานผ่านภาคธุรกิจ เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนของธุรกิจและรักษาระดับการจ้างงาน เน้นการช่วยเหลือธุรกิจและแรงงานที่มีรายได้น้อย
  • มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคธุรกิจ: เป็นมาตรการให้เงินช่วยเหลือครั้งเดียวเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่อง โดยจำนวนเงินช่วยเหลือขึ้นกับผลกระทบและความอ่อนไหวของธุรกิจ
  • มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคครัวเรือน: รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี ด้านอุปกรณ์ป้องกันโรค ด้านที่อยู่ และด้านรายจ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าอาหาร และค่าการศึกษา เป็นต้น
  • มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคธุรกิจ: รวมถึงการลดต้นทุนค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์และต้นทุนค่าธรรมเนียมภาษี
  • มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคครัวเรือน: เน้นไปที่กลุ่มที่เข้าถึงความช่วยเหลือค่อนข้างยาก ได้แก่ กลุ่มเปราะบางและแรงงานนอกระบบ

อย่างไรก็ตาม มาตรการเยียวยาทั้ง 6 มาตรการที่ทำการศึกษาจะช่วยให้ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสามารถประคองตัวอยู่ที่ 3.25% โดยทั้ง 6 มาตรการมีวงเงินรวมกันประมาณ 7 แสนล้านบาทในช่วง 6 เดือนข้างหน้า การใช้มาตรการเหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น และสามารถสร้างรายได้ถึง 8.6 แสนล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า หรือระหว่างปี 2564-2568

ที่มา : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/Covid19-Response-Policy-2021

‘เวียดนาม-อินโดนีเซีย’ ส่งออกเติบโตแข็งแกร่ง แม้เผชิญวิกฤตโควิด-19

ตามรายงานสถิติของกรมศุลากากรเวียดนาม ชี้ว่ายอดการส่งออกของเวียดนามไปยังอินโดนีเซียในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อยู่ที่ 1.92 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 47.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตัวเลขของมูลค่าข้างต้นนั้นส่วนใหญ่มาจากกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมของเวียดนามที่มีอัตราการเติบโตสูง ทั้งนี้ สินค้าส่งออกของเวียดนามที่ขยายตัวแข็งแกร่ง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 167.3% ตามมาด้วยวัตถุดิบพลาสติก 95.1%, เหล็กและเหล็กกล้า 93.6% เป็นต้น ในขณะเดียวกัน เวียดนามส่วนใหญ่นำเข้าถ่านหินและน้ำมันพืชจากอินโดนีเซีย เป็นมูลค่า 894.12 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 24.7% ของยอดการนำเข้าทั้งหมดจากอินโดนีเซีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/indonesia-vietnam-enjoy-robust-export-growth-despite-covid-19-threat-880054.vov

สปป.ลาวพบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 250 ราย

จากรายงานผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 250 รายเมื่อวันอังคาร ส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติจากประเทศไทย จากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เหล่านี้ ยอดรวมทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 7,015 ราย ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นยอดที่ติดเชื้อสูงสุดเท่าที่มีการบันทึกมาของสปป.ลาว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้แนะนำให้ทุกคนแสดงความรับผิดชอบและสนับสนุนการต่อสู้เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสลุกลามจนควบคุมไม่ได้ ในขณะเดียวกัน โครงการฉีดวัคซีนก็กำลังเร่งดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของประชากรจะได้รับการฉีดวัคซีนภายในสิ้นปีนี้ ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 16.55 ของประชากรลาวทั้งหมดได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มแรกแล้วและร้อยละ 14.05 ได้รับวัคซีนทั้งสองโดส สปป.ลาวถือเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่มีความคืบหน้าด้านการฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แผนการฉีดวัคซีนของสปป.ลาวดำเนินการได้ต่อเนื่องมาจากการช่วยเหลือจากพันธมิตรที่สำคัญทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น จีน สหรัฐฯ เป็นต้น จึงทำให้สปป.ลาวต่อสู้กับโควิด-19ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_250New_150.php

เวียดนามเผชิญการผลิตและผลผลิตทรุดหนัก เดือนก.ค. เหตุโควิด-19 ระลอก 4

ตามรายงาน IHS Markit เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 45.1 ในเดือนก.ค. จากระดับ 44.1 ในเดือนมิ.ย. บ่งชี้ว่าสภาพธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ ลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน เป็นผลมาจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้ธุรกิจบางส่วนจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว ในขณะที่ธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งดำเนินกงานได้ลดลง เนื่องจากมาตรการเว้นระยะหางทางสังคม โดยสิ่งเหล่านี้ ส่งผลต่อยอดคำสั่งซื้อใหม่และการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ อีกทั้ง กิจการยังเผชิญกับปัญหาด้านการขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหตุจากการระบาดและการขาดแคลนวัตถุดิบ ตลอดจนต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83506/vietnam-faces-steep-decline-in-production-output-in-july.html