ในช่วงเดือน ม.ค. มูลค่าการค้าระหว่าง สปป.ลาว-เวียดนาม ลดลง 27.3%

มูลค่าการค้าระหว่าง สปป.ลาว และเวียดนาม ลดลงกว่าร้อยละ 27.3 หรือคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 99.2 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือน ม.ค. แม้ข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลายลง โดยคิดเป็นการส่งออกของ สปป.ลาว ไปยังเวียดนาม มูลค่า 71.4 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นการลดลงร้อยละ 23.8 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าจากเวียดนามของ สปป.ลาว อยู่ที่มูลค่า 27.8 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกหลักของ สปป.ลาว ไปยังเวียดนาม ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ยางพารา ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ และปุ๋ย ซึ่งในปี 2022 มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่าง สปป.ลาว และเวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในปี 2023 สปป.ลาว และเวียดนามตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันที่ประมาณร้อยละ 10-15

ที่มา : https://vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten47_Laovietnam_y23.php

“อสังหาฯเวียดนาม” ยังคงเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

CBRE Vietnam บริษัทที่ให้บริการและการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ รายงานผลการสำรวจมุมมองของนักลงทุนในเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2566 แสดงให้เห็นว่าเมืองโฮจิมินห์และฮานอย เป็นหนึ่งใน 10 จุดหมายปลายทางของการลงทุนข้ามพรมแดนที่น่าสนใจที่สุด โดยเฉพาะเมืองโฮจิมินห์เป็นครั้งแรกที่อยู่ในอันดับที่ 3 ของผลการสำรวจในครั้งนี้ ประกอบกับอยู่อันดับดีกว่าออสเตรเลีย เนื่องจากอัตราการขยายตัวของเมืองที่คาดการณ์ไว้ที่ 42% ในปี 2568 ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

นอกจากนี้ จากรายงานของ PropertyGuru Group บ่งชี้ให้เห็นถึงนโยบายเศรษฐกิจเปิดของเวียดนามและการรวมเข้ากับห่วงโซ่อุปทานโลก ด้วยเหตุนี้ ห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นจึงเป็นกุญแจสำคัญในความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของเวียดนามและเพิ่มความน่าดึงดูดอสังหาริมทรัพย์แก่นักลงทุนต่างชาติ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-real-estate-remain-attractive-to-foreign-investors/249435.vnp

“เวียดนาม” เผยช่วง 2 เดือนแรก เกินดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกของเวียดนาม มีมูลค่า 49.44 พันล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 10.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะเดียวกัน การนำเข้าของเวียดนาม มีมูลค่า 46.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 16% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้า 2.82 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายจากการเติบโตทางการส่งออก 6% ต่อปี กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจึงได้ร้องขอให้ภาคธุรกิจเร่งปรับปรุงขีดความสามารถทางการแข่งขัน พร้อมกับขยายการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ

นอกจากนี้ กระทรวงฯ จะปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมการค้าและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เพื่อกระจายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซให้หลากหลายขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1493648/viet-nam-enjoys-trade-surplus-of-over-2-8-billion-in-two-months.html

“เวียดนาม” เผย CPI เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ก.พ. 2566 เพิ่มขึ้น 0.45% เมื่อเทียบรายเดือน และ 4.31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การปรับขึ้นของดัชนี CPI เป็นผลมาจากราคาเชื้อเพลิงในประเทศที่สูงขึ้น เหตุจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นและค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น หลังจากเทศกาลปีใหม่ทางจันทรคติ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการหลัก มี 5 กลุ่มจาก 11 กลุ่มที่ผลักดันให้ดัชนี CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบรายเดือน ได้แก่ กลุ่มขนส่งที่เพิ่มขึ้นสูงสุด 2.11% จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ตามมาด้วยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการขนส่งสาธารณะ ค่าบริการรถไฟโดยสาร ค่าที่อยู่อาศัยและการก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น และราคาก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า และค่าบำรุงรักษาที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 0.25% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 4.96% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-cpi-edges-up-in-february/

“เวียดนาม” เผยปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไตรมาสแรก

การลงทุน การบริโภคในประเทศและการค้าต่างประเทศเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในเดือน ก.พ. และไตรมาสแรกของปีนี้ จากข้อมูลของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจในเดือน ม.ค. 2566 ยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวกและเศรษฐกิจมหภาคยังอยู่ในระดับทรงตัว โดยเฉพาะดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 4.89% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ตลาดการเงิน สินเชื่อขยายตัว 0.65% เมื่อเทียบกับปี 2565 ทั้งนี้ รายรับงบประมาณในเดือน ม.ค. สูงถึง 11.3% ของประมาณการรับรายรับต่อปี การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ภาครัฐฯ เร่งปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุนและส่งเสริมให้ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสินเชื่อธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนกำลังซื้อภายในประเทศผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา : https://ven.vn/q1-economic-growth-drivers-46867.html

“เวียดนาม” ตั้งเป้าส่งออกสินค้าสัตว์น้ำปี 68 ที่ 1 พันล้านดอลลาร์

โครงการส่งเสริมเกษตรด้านการประมง ในปี 2573 โดยมีวิสัยทัศน์ถึงปี 2588 ได้ตั้งเป้าหมายว่าเวียดนามจะมีมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำ อยู่ที่ 800,000 – 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 และจะมีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรวมทั้งสิ้น 280,000 เฮกตาร์ สร้างผลผลิตปีละ 850,000 ตัน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดและปรับเปลี่ยนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเวียดนามให้ยกระดับขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ตลอดจนต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน นอกจากนี้ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าในปีนี้ เวียดนามมีสถานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในทะเล ประมาณ 7,447 แห่ง โดยครอบคลุมพื้นที่กว่า 85,000 เฮกตาร์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-eyes-1-billion-usd-from-seaculture-product-exports-by-2025/248993.vnp