“อินเดีย” เมิน นำเข้าถั่วเขียวจากตลาดเมียนมา

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย อินเดียจำกัดการนำเข้าถั่วเขียวจากเมียนมา คาดจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อตลาดเมียนมา โดยอินเดียเป็นผู้นำเข้าถั่วดำและถั่วแระของเมียนมารายใหญ่ แต่การนำเข้าถั่วเขียวคิดเป็นสัดส่วนเพียง 12% อินเดียจำกัดการนำเข้าเพื่อป้องกันราคาและผลผลิตช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของอินเดียและการแทรกแซงราคาที่จะไม่ต่ำไปกว่าราคาขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้ แม้จะปิดด่านชายแดนแต่ถั่วเขียวส่วนใหญ่ถูกส่งออกทางทะเลไปยังจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป ซึ่งการจำกัดการนำเข้าของอินเดียนี้จะมีผลตั้งแต่หลังวันที่ 11 ก.พ.2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาพร้อมที่จะเจรจากับคู่ค้าอินเดียผ่านรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ สมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยามที่จะค้นหาและเจาะตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้นรวมทั้งตลาดใหม่ๆ ในสหภาพยุโรป เพราะได้ราคาได้ดีกว่า ส่วนด้านผลผลิต เมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกเมล็ดถั่วและถั่วพัลส์ต่างๆ ประมาณ 9.9 ล้านเอเคอร์ มีผลผลิตที่ได้ต่อปีอยู่ที่ 4.1 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วเขียวประมาณ 700,000 ตันไปยัง 64 ประเทศ ซึ่งระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 4 ก.พ. 2565 มีการส่งออกถั่วเขียวไปแล้วจำนวน 147,326 ตัน ในจำนวนนี้ 18,842 ตันถูกส่งไปยังอินเดีย โดยราคาในปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,900-2,350 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/indias-policy-changes-indifferent-to-myanmar-green-gram-market/

ณ วันที่ 18 ก.พ.65 ค้าต่างประเทศเมียนมาดิ่งฮวบ 11.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ เผย ณ วันที่ 18 ก.พ.65 การค้าภายนอกของเมียนมาร์ ในช่วง 6 เดือนของงบประมาณย่อยปี 2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ลดลงมาอยู่ที่ 11.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 765.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้ารวมที่ก 12.72 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีงบประมาณ 2563-2564  ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 18 ก.พ. 2565 เมียนมาการส่งออกสินค้า 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าอยู่ที่ 5.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากการปิดชายแดนของจีน อย่างไรก็ตาม การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยมีมูลค่ากว่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา คือ สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ส่วนสินค้านำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยภาคการส่งออกจะพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-foreign-trade-tops-11-95-bln-as-of-18-february-2022/#article-title

เดือนก.พ.65 ค้าชายแดนเมียนมาแตะ 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา เผย ณ วันที่ 18 ก.พ.2565 ของปีงบประมาณ 2564-2565 :ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนต.ค.2564 มีมูลค่าการค้าชายแดนเมียนมา อยู่ที่ 2.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออก 1.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากสถิติพบว่าลดลง 1.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 4.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมียวดีติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุดที่ 998 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยด่านตีกี 776 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยด่านชายแดนที่ทำการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนผ่านชายแดน มูเซ ลิวจี กัมปะติ ชินฉ่วยฮ่อ  และเชียงตุง กับประเทศไทยผ่าน ท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง, ทิกิ มุต่อง และแม่เส้า กับบังคลาเทศผ่านชายแดนซิตเว่ และมองตอ และกับอินเดียผ่านตามู และรีด ตามลำดับ เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าการผลิต ฯลฯ  ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา:  https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-over-2-67-bln-as-of-18-feb/#article-title

รอบ1 ปี เขตพะโค ดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสะพัดกว่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และลงทุน ในประเทศอีก 8.3 พันล้านจัต

จากรายงานของคณะกรรมการการลงทุนเขตพะโค (BRIC) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 2564 ถึง 1 ก.พ. 2565 เขตพะโคสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 110.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการลงทุนภายในประเทศจำนวน 8.329 พันล้านจัต สร้างตำแหน่งงานกว่า 4,953 ตำแหน่ง โดยพื้นที่ของเขตพะโคนั้นขึ้นอยู่กับการเกษตรและปศุสัตว์เป็นหลัก เนื่องจากมีแหล่งวัตถุดิบมากมายในการผลิตปุ๋ยธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ใช้แรงงานในการตัด การผลิต และการบรรจุ (Cutting Making and Packaging : CMP) ที่น่าสนใจเพราะมีแรงงานฝีมืออยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การอนุมัติให้เข้ามาลงทุนต้องผ่านการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนเท่านั้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/bago-region-pulls-over-110-mln-foreign-investment-k8-3-bln-domestic-investment-in-one-year/#article-title

ราคาข้าวคุณภาพต่ำในเมียนมา พุ่งถึง 30,000 จัตต่อถุง

นาย อู่ ธาน อู เลขาธิการตลาดค้าส่งข้าวบุเรงนอง เผย ราคาข้าวพันธุ์คุณภาพต่ำ (ข้าวเมล็ดยาว) ในประเทศมีราคาสูงถึง 30,000 จัตต่อถุง นอกจากนี้ราคาข้าวพันธุ์ปวาสันต์ยังมีมูลค่าถุงละ 40,000-50,000 จัตอีกด้วย ข้าวหอม “Pearl Paw San” ที่นิยมบริโภคและปลูกในพื้นที่เมืองชเวโบ เขตซะไกง์ ราคาพุ่งไปถึงถุงละ 50,000 จัต อย่างไรก็ตาม ตลาดในประเทศค่อนข้างซบเซา ส่วนราคาส่งออกมีความเกี่ยวพันอย่างมากกับตลาดค่างินและตัวชี้วัดเศรษฐกิจโลก ปัจจุบันเงินจัตอ่อนค่าลงลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ที่ 1,980 จัต ช่วงนี้ข้าวนาข้าวปีเริ่มถูกส่งเข้าสู่ตลาดข้าวบุเรงนองประมาณ 30,000-40,000 ถุงต่อวัน ทั้งนี้ตลาดข้าวบุเรงนองเป็นจุดสำคัญสำหรับการส่งออกข้าวผ่านทางทะเล

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/low-grade-rice-price-rises-over-k30000-per-bag-in-domestic-market/

เมียนมา ชี้ มันสำปะหลัง ต้องการลงทุนเพิ่ม เพื่อเจาะตลาดส่งออกมากขึ้น

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย เมียนมาส่งออกมันสำปะหลังได้เพียงเล็กน้อย จึงจำเป็นต้องอาศัยการร่วมทุนจากต่างประเทศ ปัจจุบันปริมาณการส่งออกค่อนข้างต่ำอยู่ที่ 50 ตันต่อเดือน และมีการพยายามส่งออกไปยังจีนให้มากขึ้น โดยมันสำปะหลังหนึ่งตันมีมูลค่าประมาณ 200-250 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะความต้องการของตลาดต่างประเทศยังต่ำ ส่วนใหญ่มีการปลูกอยู่ในเมือง Kyonpyaw, Yekyi, Ngathainggyoung, Kyaunggon และ Thaboung ในเขตอิรวดีโดยมีพื้นที่มากกว่า 30,000 เอเคอร์ทั่วภูมิภาค มีผลผลิตต่อเอเคอร์ประมาณ 3,500 viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงและราคามันสำปะหลังที่ลดลงในปีงบประมาณ 2563-2564 นอกจากนี้ ตลาดยังขึ้นอยู่กับผู้บริโภคในท้องถิ่นและโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์ ราคามันสำปะหลังลดลงจาก 103 จัต มาอยู่ที่ 80 จัตต่อ viss ในปัจจุบัน ในทำนองเดียวกันราคาแป้งมันสำปะหลังก็ปรับลดลงจาก 850 จัตมาเป็น 500-550 จัตต่อ โดยเมียนมามีพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่อย่างจีนและอินเดียที่มีความต้องการคิดเป็น 90% ของความต้องการทั้งโลก ดังนั้นควรเพิ่มปริมาณการปลูกให้มากขึ้น ทั้งนี้มันสำปะหลังสามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ทดแทนแป้งสาลี ยารักษาโรค อาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ อย่างไรก็ตาม ตลาดภายในประเทศมีการบริโภคไม่มากนักเนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tapioca-needs-market-promotion-to-penetrate-more-foreign-markets/

ผลผลิตมะเขือเทศสร้างรายได้งาม ! ให้เกษตรกรเมืองนะเมาะ

เกษตรกรในท้องถิ่นจากหมู่บ้าน West Lekkokpin ในเมืองนะเมาะ (Natmauk) จังหวัดมะกเว เขตมะกเวของเมียนมา กำลังปลูกมะเขือเทศโดยอาศัยน้ำบาดาลหลังฤดุฝนเพื่อการยังชีพและสร้างรายให้กับครัวเรือนได้อีกด้วย มะเขือเทศมี 2 สายพันธุ์ เช่น มะเขือเทศเมียนมาและไต้หวัน ตอนนี้เรากำลังปลูกมะเขือเทศพันธุ์เมียนมาร์ มะเขือเทศจะปลูกบนหย่อม ๆ ห่างกันประมาณสามฟุต ต้องรดน้ำทุกสามวัน ผลไม้ให้ผลผลิตสูงในขณะนี้ ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านปลูกหัวหอมส่งขายได้ราคา 1,000 จัตต่อ Visses (1 Visses เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) แต่ตอนนี้ราคาร่วงมาอยู่ที่ K350 จัตต่อ Visses ดังนั้นมะเขือเทศจึงเป็นทางเลือกของชาวบ้านในการสร้างรายได้ โดยมะเขือเทศที่จะขายปลีกและส่งจะถูกส่งไปยังตลาด Myoma ในทุกฯ วัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/manageable-tomato-production-earns-regular-income-for-farmers-in-natmauk/#article-title