CLMVT เน้นการปกป้องสิทธิแรงงาน

จากการหารือประชุมของความร่วมมือครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ในวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ “การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในประเทศ CLMVT” โดยสปป.ลาวยังคงร่วมมือในการปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติในกรุงเสียมราฐในประเทศกัมพูชา ซึ่งจากข้อมูลดร.คำเพ็ญ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ ระบุว่าสปป.ลาวให้ความสำคัญในการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติ และดำเนินตามนโยบายคุ้มครองสังคมแห่งชาติ ซึ่งทำให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิในการเจรจาต่อสภาพการทำงานได้ และเมื่อทำงานอยู่ในต่างประเทศ จะได้รับสิทธิให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน นอกจากนี้ แรงงานยังสามารถพัฒนาทางด้านความปลอดภัย ด้วยการประกันสังคม รวมไปถึงทั้ง 5 ประเทศในกลุ่มอาเซียน เห็นด้วยว่าจะดำเนินตามกรอบกฎหมายและร่วมมือในการสนับสนุนด้านประกันสังคมของแรงงานข้ามชาติ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_CLMTV_211.php

กรมพัฒน์ฯ หนุนแฟรนไซส์ไทย เตรียมดัน 27 ธุรกิจ ลุยตลาดสากล

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่งเครื่องผลักดันสู่ตลาดสากล จำนวน 27 ธุรกิจ หลังพบธุรกิจแฟรนไซส์ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังคึกคัก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (CLMV) ที่ถือว่าเป็นทำเลทองในการขยายธุรกิจของไทย พร้อมเปิดตัวเลขแฟรน์ไซส์ไทยมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท โดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ดำเนินตามนโยบายของรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข็มแข็ง ผ่านการสนับสนุน ส่งเสริม และขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไซส์ รวมไปถึงมุ่งเน้นกลยุทธ์สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมสภาพแวดล้อม หรือ Ecosystem ให้พร้อมสู่ระดับสากล ทั้งนี้ กรมฯ ได้ดำเนินการสร้างความเข็มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไซส์ไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน โดยเน้นการสร้างมาตรฐานคุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ จากข้อมูลของธนาคารกสิกรไทย พบว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าตลาดโดยรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20.3 ต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 15,000 – 20,000 ราย ถือว่ากลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์เป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าถึงกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมทุกระดับ และสามารถสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน

ที่มา : ทรานสปอร์ต เจอร์นัล ฉบับที่ 16-30 ก.ย. 2562

ซุ่มดึง บจ. CLMV เข้าตลาดหุ้น “ไฟฟ้าลาว-เขตศก.พนมเปญ” จ่อไฟลิ่ง

ที่ปรึกษาการเงินซุ่มทำดีลดึง บจ. “CLMV” เข้าระดมทุนตลาดหุ้นไทยแบบ dual listing “แอสเซท โปรฯ” ประกาศบุก “ลาว-กัมพูชา” นำร่องเข็น “บริษัทผลิตไฟฟ้าลาว-เขตเศรษฐกิจพนมเปญ” เตรียมแผนปีหน้ายื่นไฟลิ่งเข้าจดทะเบียน SET ฟาก “ยูโอบี” อยู่ระหว่างปั้นดีลในมือ 7-10 ราย ตลท.ชี้ตลาดหุ้นไทยโดดเด่นสภาพคล่องสูง หุ้นติดโผ MSCI กว่า 33 ตัว ในขณะที่ นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทให้ความสนใจกับการไปดึงบริษัทจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะใน สปป.ลาวและกัมพูชา นอกจากนี้ยังได้หารือกันถึงเครื่องมือการเงินอื่น ๆ เช่น การตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) รวมถึงการนำบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของลาวที่มีศักยภาพ เข้ามาจดทะเบียนควบ 2 ตลาด (dual listing) ในตลาดหลักทรัพย์ไทย นอกจากนี้ยังได้หารือกันถึงเครื่องมือการเงินอื่น ๆ เช่น การตั้งกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Trust) รวมถึงการนำบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของลาวที่มีศักยภาพ เข้ามาจดทะเบียนควบ 2 ตลาด (dual listing) ในตลาดหลักทรัพย์ไทย รวมไปถึงมองว่าการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยจะช่วยขยายฐานนักลงทุนและหนุนการเติบโตของบริษัท ทำให้หน่วยงานในประเทศเหล่านั้นต่างสนับสนุนให้บริษัทในประเทศตนมาจดทะเบียนในไทย ขณะที่ความน่าสนใจของตลาดหลักทรัพย์ไทยนอกจากจะเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงสุดในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ยังมีกลุ่มนักลงทุนที่หลากหลาย ทั้งนักลงทุนสถาบันไทย นักลงทุนต่างประเทศ และนักลงทุนบุคคล อีกทั้งมีหุ้นที่ได้รับการจัดอันดับจากดัชนี MSCI ถึง 33 ราย มากเป็นอันดับสองของอาเซียนรองจากมาเลเซีย

ที่มา : http://www.prachachat.net

DEMCO เดินหน้ารับรู้งานในมือตุนไว้แล้ว 3.2 พันลบ. ลุยประมูลงานใหม่-บุก CLMV กระจายแหล่งรายได้เพิ่ม

DEMCO ประเมินผลการดำเนินงานมีทิศทางที่ดี เนื่องจากมีงานในมือรอรับรู้รายได้แล้วกว่า 3.2 พันล้านบาท พร้อมเดินหน้าประมูลงานใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เปิดให้ยื่นประมูลราว 1 หมื่นล้านบาท เตรียมแผนรุกตลาดกลุ่มประเทศ CLMV กระจายแหล่งรายได้เพิ่ม หนุนการเติบโตในอนาคต ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัทฯมีงานในมือที่ยังไม่ได้ส่งมอบ และอยู่ระหว่างดำเนินการ ณ กลางเดือนสิงหาคม 2562 โดยในครึ่งปีหลังบริษัทฯ ยังคงมีแผนที่จะเดินหน้ายื่นประมูลงานใหม่เพิ่มทั้งจากโครงการทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เปิดให้ยื่นประมูลราว 1 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ทางกรรมการผู้จัดการ ระบุอีกว่า ขณะนี้บริษัทฯยังอยู่ระหว่างการขยายธุรกิจไปยังประเทศ CLMV มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศมีการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสในการเข้าไปบุกตลาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับงานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า และสถานีไฟฟ้าย่อยมาแล้ว เพื่อเพิ่มฐานรายได้ และกระจายความเสี่ยงธุรกิจในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3039789

ดีไอทีพี เปิดเวทีรวมกลุ่มผู้นำเศรษฐกิจ CLMVT

นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ คณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (ที่ 3 จากซ้าย)เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “CLMVT PLUS EXECUTIVE PROGRAM ON NEW ECONOMY 2019” เวทีแลกเปลี่ยนกลยุทธ์จาก 69 ผู้นำทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน เพื่อส่งเสริมนโยบายในการสร้างเครือข่ายผู้นำทั้งภาครัฐและเอกชน ในการสร้างแนวคิดและความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการยกระดับศักยภาพธุรกิจในภูมิภาค โดยมีนายวิทยากร มณีเนตร รองอธิบดีกรมส่งเสริม การค้าระหว่างประเทศ(คนที่ 2 จากซ้าย) และนายนันทพงษ์    จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่(NEA) (คนที่ 1 จากซ้าย) ร่วมพิธีเปิด สำหรับกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมิลเลนเนียมฮิลตัน กรุงเทพฯ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3035058

ธสน.แนะธุรกิจแฟรนไชส์! รุกเจาะตลาดซีแอลเอ็มวี

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนา “พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ก้าวสู่สากล” ว่าคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 6% สูง กว่าเศรษฐกิจโลก ขณะที่กำลังซื้อจะเพิ่มขึ้นอีก 30% ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจึงควรหันมาให้ความสำคัญและผลักดันธุรกิจไทยไปเติบโตที่ประเทศในแถบ CLMV มากขึ้น แฟรนไชส์แบรนด์ไทยระดับพรีเมียมที่ไปเปิดตลาดต่างประเทศมี 49 แบรนด์ โดย กว่า 80% อยู่ในประเทศแถบ CLMV ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับความสนใจ เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคของคนรุ่นใหม่ในประเทศ กลุ่ม CLMV เปลี่ยนไป ซึ่งผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น โดยแฟรนไชส์แบรนด์ไทยมีความแข็งแกร่งที่จะดึงดูดใจผู้บริโภคได้ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่าปีนี้คาดว่ามูลค่าตลาดธุรกิจแฟรนไชส์จะขยายตัวได้ถึง 3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนสะท้อนว่าธุรกิจแฟรนไชส์มีอัตราการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยขยายตัวได้กว่า 20% ต่อปี ในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นเฉลี่ย 2 หมื่นรายต่อปี.

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/tpd/3034353

เจาะตลาดซีแอลเอ็มวี-ตั๋วดิจิทัล แผนครึ่งปีหลังบางกอกแอร์เวย์ส

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค. ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม บริษัทสายการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (BA) แถลงทิศทางการ เจาะตลาดซีแอลเอ็มวี-ตั๋วดิจิทัล แผนครึ่งปีหลังบางกอกแอร์ว์ส ซึ่งผลการดำเนินงาน ระบุว่าการดำเนินงานครึ่งปีแรกมีรายได้รวม 13,865.7 ล้านบาท เป็นรายได้ในส่วนของ ธุรกิจสายการบิน 10,106 ล้านบาท มีจำนวนผู้โดยสาร 3.02 ล้านคน อัตราบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 70% ซึ่ง ทั้ง 2 ไตรมาสที่ผ่านมาไม่ทำกำไรและคาดว่าช่วงครึ่งปีหลังตัวเลขผู้โดยสารน่าจะใกล้เคียงเพราะจองตั๋วล่วงหน้าถึง 11 เดือน โดยครึ่งแรกของบริษัทฯ ขยายเส้นทางบินไปกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ในเวียดนาม และสปป.ลาวและเส้นทางบินเชื่อมเมืองท่องเที่ยวสำคัญในไทย สำหรับแผนการตลาดและการขายครึ่งปีหลังเน้นทำการตลาดและการขายเชิงรุกในตลาดดิจิทัลทำกิจกรรมทางการขายและการตลาดผ่านตัวแทนจำหน่ายออนไลน์รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกล่าสุดจับมือพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งด้านช่องทางการจำหน่ายบนช่องทางอีคอมเมิร์ซ อาทิ บริษัท ช้อปปี้ (ประเทศ ไทย) จำกัด (Shopee) โดยทำข้อตกลงเว็บไซต์จองตั๋วและเว็บไซต์ท่องเที่ยวจองโรงแรมที่พัก

ที่มา : เดลินิวส์ ฉบับที่ 29 ส.ค. 2562 (กรอบบ่าย)

DEMCO เดินหน้าขยายธุรกิจใน CLMV พร้อมชิงงานใหม่ต่อเนื่อง แม้ตุน Backlog ได้แล้วกว่า 3 พันลบ.

บมจ.เด็มโก้ (DEMCO) เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างการขยายธุรกิจไปยังประเทศ CLMV ทั้งกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศมีการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสในการเข้าไปบุกตลาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับงานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า และสถานีไฟฟ้าย่อยมาแล้ว เพื่อเพิ่มฐานรายได้ และกระจายความเสี่ยงธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ยังมีแผนจะยื่นประมูลงานใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง จากโครงการทั้งภาครัฐและเอกชนที่เปิดให้ยื่นประมูลราว 2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ล่าสุดได้งานโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินมูลค่า 958.078 ล้านบาท ส่งผลให้มีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 2.3 พันล้านบาทเป็น 3.2 พันล้านบาท สำหรับงานโครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินดังกล่าวนั้น บริษัทได้เข้าทำสัญญากับกิจการร่วมค้าเอดับบลิวดี ให้ดำเนินการงานออกแบบวิศวกรรม จัดหา ก่อสร้าง โครงการนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 ของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (ครอบคลุมถนนสายหลัก สายรอง ถนนโครงข่ายและซอย พื้นที่เขตดินแดง วัฒนา ห้วยขวาง สะพานสูง หนองจอก รวมถึงพื้นที่บางส่วนของเขตสวนหลวง มีนบุรี ลาดกระบัง ราชเทวี คลองเตย วังทองหลาง บางกะปิ ประเวศ คลองสามวา ) ระยะทางรวม 121 กิโลเมตร มีระยะเวลาในการก่อสร้างรวม 2 ปี

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/iq05/3030389

ค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนบูม

จากการเสนา “CLMV Cross-Border Digital Trade” โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่าในปัจจุบันตลาดซื้อขายออนไลน์ของไทยโตขึ้นปีละ 30% มูลค่ากว่า 2 แสนล้านต่อปี เป็นรูปแบบ business-to-consumer (B2C) การขายสินค้าไปยังผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดเด่นของธุรกิจในลักษณะนี้ โดยผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่ม Startup ต้องเน้นเจาะตลาดกลุ่มพฤติกรรมที่ชื่นชอบผ่าน 3 ชองทางที่มาแรง ได้แก่ ผ่านโซเชียล (50%) ,e-Market place (30%), Online Platform (20%) โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ กลุ่มแฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ขณะที่ตลาด CLMV ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาระบบ ซึ่งตลาดรวมยังน้อยกว่าไทย ส่วนใหญ่ธุรกิจที่ไปลงทุนเป็นโซเลียลมีเดีย โดยปัจจุบันตลาดอินโดนีเซียน่าสนใจไม่แพ้เวียดนาม เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ ทั้งนี้ นโยบายปั้นสตาร์อัพที่ภาครัฐผลักดันถือว่ามาถูกทาง แต่ควรมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง และผู้ประกอบการต้องสร้างอัตลักษณ์ตัวตนให้ชัดเจน สิ่งสำคัญ คือรัฐ และเอกชนต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 15-18 ส.ค. 2562

พาณิชย์ แนะผู้ประกอบการใช้ E-Commerce ยกระดับการค้าใน CLMVT รับการแข่งขันยุคดิจิทัล หลังมีอัตราเติบโตสูง

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าการจัดงาน CLMVT Cross-Border Digital Trade เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากการจัดงานประชุมระดับผู้นำ CLMVT Forum 2019 ที่ผ่านมา โดยการจัดงานครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานจากกลุ่มประเทศ CLMVT และอาเซียนกว่า 300 คน เพื่อเจาะลึกเรื่อง E-Commerce กับการค้าผ่านแดน สร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ประกอบการในการนำข้อมูลการค้าดิจิทัลข้ามพรมแดนไปใช้ในการวางแผนและปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจการค้ายุคใหม่ และให้มุมมองของภาครัฐในการจัดทำข้อมูลการค้าผ่านระบบดิจิทัล เพื่อใช้ในการพัฒนาผู้ประกอบการ รวมถึงการกำหนดนโยบายและเสนอแนะแนวทางด้านเศรษฐกิจการค้าของประเทศได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น จึงเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสสร้างเครือข่ายกันในภูมิภาคอีกด้วย โดยจากข้อมูลสถิติ พบว่าสัดส่วนของมูลค่า E-Commerce ในภูมิภาคแปซิฟิก แบบ B2C ใน GDP สูงที่สุดในโลกอยู่ที่ร้อยละ 4.5 และในปี 2562 มูลค่าของ E-Commerce ในภูมิภาคนี้จะอยู่ที่ 3.81 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยประเทศที่มีมูลค่าของ E-Commerce ของกลุ่มประเทศ CLMVT คือ ไทย ด้วยมูลค่า 3.1 ล้านล้านบาท ในปี 2561 

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3024399