ค้าชายแดนเมียนมา ลดฮวบ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค 64 ถึง 7 ม.ค. 65 ของปีงบประมาณรายย่อยปัจจุบัน (2564-2565)  มูลค่าการค้าชายแดนรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ 2.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นการส่งออก 1.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 493 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านที่ทำการค้าขายกับเมียนมา เช่น จีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย มีด่านชายแดนที่ทำการค้าขายทั้งหมด 19 แห่ง โดยชายแดนเมียวมีมูลค่าการค้าสูงสุดประมาณ 656 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ ด่านตีกี 444 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และด่านมูเซ 324 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เกษตร สัตว์ ทางทะเล ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/total-border-trade-down-nearly-1-3-bln/

ราคาหัวหอมช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง ร่วงหนัก !

แม้ว่าฤดูเพาะปลูกต้นหอมในช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง  เขตมัณฑะเลย์ ราคามีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ เกษตรกรยังจำเป็นต้องขายในราคาปกติเพื่อไม่ให้ขาดทุน ทั้งนี้เกษตรกรและผู้ค้าหัวหอมได้รับผลกระทบจากตลาดเนื่องจากขาดความต้องการจากต่างประเทศและสถานการณ์การแพร่ระบาดของของ COVID-19 และยังเผชิญกับต้นทุนการปลูกที่สูงขึ้นถึง 2 ล้านจัตต่อเอเคอร์ ปัจจุบันมีราคาเพียง 300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ดังนั้นเกษตรกรจึงดิ้นรนหาทุนสำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลหน้า ในช่วงต้นปี 2563 หัวหอมราคาอยู่ที่ 1,200-1,300 จัตต่อ viss และความต้องการที่สูงขึ้นของตลาดต่างประเทศส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทำให้มีการขยายการเพาะปลูก แต่หลังจากนั้นราคาดิ่งลงอย่างมากในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ตลาดการส่งออกหลัก คือ บังคลาเทศและอินเดีย โดยหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-in-bear-market-even-when-winter-growing-season-starts/#article-title

เมียนมาส่งออกกาแฟ 450-500 ตันในฤดูกาลนี้

ศูนย์วิจัยและเผยแพร่เทคโนโลยีกาแฟแห่งเมืองปยีนอู้ลวีน เผย เมียนมาจะส่งออกกาแฟประมาณ 450 หรือ 500 ตันในฤดูการนี้ โดยจะถูกส่งออกไปยัง เช่น อเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ไทย และจีน ปัจจุบันมีการปลูกและผลิตกาแฟคุณภาพสูงและจำหน่ายในเดือนธันวาคมและมีนาคมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันกาแฟเป็นที่ต้องการอย่างมากและมีการแข่งขันสูง โดยราคาจะอยู่ระหว่าง 4 – 5 จัตล้านต่อตัน ขณะที่ราคาในตลาดต่างประเทศสูงกว่า 5 ล้านจัตต่อตัน ทั้งนี้ไร่กาแฟในจีนและบราซิลถูกภัยพายุพัดถล่ม คาดว่าราคากาแฟเมียนมาน่าจะปรับขึ้นมากที่สุดในรอบสามปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-export-450-500-tonnes-of-coffee-this-coffee-season/#article-title

MEODA เริ่มทยอยขายน้ำมันปาล์มให้ร้านค้าปลีก

กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชแห่งเมียนมา (MEODA) จะเริ่มทยอยขายน้ำมันปาล์มในราคาถูกให้กับผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ประกอบการรถโมบายขายสินค้าและสมาคมต่างๆ ในภูมิภาคและรัฐต่างๆ โดยผู้มีสิทธิซื้อน้ำมันปาล์มต้องปฏิบัติตามกฎที่กำหนดเพื่อชำระเงินเพื่อซื้อน้ำมันพืช ถ้าไม่ชำระเงินตามระยะเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถซื้อน้ำมันผ่านสมาคมฯ ได้อีก ปัจจุบัน ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4,800 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) การบริโภคน้ำมันพืชภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี การผลิตน้ำมันเพื่อประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน เพื่อความเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศ เมียนมาต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารจากมาเลเซียและอินโดนีเซียประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/meoda-to-sequentially-sell-palm-oil-to-retailers/

 

เกษตรกร ปลื้ม ปีนี้ ขายกะหล่ำปลีได้กำไรงาม

เกษตรกรจากหมู่บ้านในเขตอำเภอวู่นโต และกอลี่น เขตซะไกง์ กำลังปลูกะหล่ำปลีโดยใช้น้ำชลประทานจากลำห้วย Daungmyu กำลังปลื้มกับราคากะหล่ำปลีในปีนี้ โดยทปีที่แล้วขายกะหล่ำปลีหนึ่งหัวได้ในราคา 600 แต่ปีนี้ราคาพุ่งไปถึง 1,500 ต่อหัว แม้ปีนี้ต้นทุนการปลูกจะสูงกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยเนื่องจากราคาปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 70,000 จัตต่อ 2,000 ต้น หากราคากะหล่ำปลีไม่ตกต่ำ เชื่อว่าเกษตรกรจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cabbage-growers-making-handsome-profits-this-year/#article-title

ราคาแตงโมเมียนมาในตลาดจีน ร่วงหนัก!

ก่อนวันที่ 8 ม.ค.65 ราคาแตงโมคุณภาพคุณภาพดี อยู่ที่ 7 หยวนต่อกิโลกรัม แต่ปัจจุบันลดฮวบต่ำกว่า 5 หยวนต่อกิโลกรัม  ศูนย์การค้าผลไม้ชายแดนมูเซได้ขอให้เกษตรกรรอการจัดส่งในวันที่ 10 ม.ค.65 อย่างไรก็ตาม ราคายังคงทรงตัวที่ 5 ถึง 7 หยวนต่อกิโลกรัม ความล่าช้าของรถบรรทุกทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของแตงโม ปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 20 วัน จากสวนสู่ตลาดจี นอกจากมาตรการจัดการการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แล้ว กฎระเบียบศุลกากรของจีนยังส่งผลให้เกิดความล่าช้าและด่านชายแดนจีนจะเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้น ซึ่งการค้าจะกลับสู่ภาวะปกติหลังจากที่จีนผ่อนคลายกฎเกณฑ์และมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้จีนจำเป็นต้องปิดด่านชายแดนมูแซเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ด่านชายแดน Kyinsankyawt ระหว่างเมียนมาและจีน ได้ปิดตัวลงไปแล้วตั้งแต่ 8 ก.ค.64 และได้เปิดทำการค้าขายชั่วคราวอีกครั้งในวันที่ 26 พ.ย.64 ที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-prices-fall-again-in-chinese-market/

รถโมบายขายสินค้าราคาถูก ช่วย ชาวเมียนมา ช่วงโควิด-19 ระบาด

สมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา (UMFCCI) เผย รถโมบายขายสินค้าสำหรับตลาดเคลื่อนที่ราคาได้กลับมาให้บริการอีกครั้ง ในวันที่ 7 ม.ค.65 ที่ผ่านมา ในห้าเขต อาทิ ดาลา เซอิคยี คะนองโต ทวันไต ไคเมียนดีน และคามายุต เพื่อลดความแออัดในการไปซื้อสินค้าที่ตลาดในช่วงการระบาดของ COVID-19 และลดค่าครองชีพของชาวเมียนมา โดยผู้บริโภคสามารถซื้อข้าวสารได้ในราคา 1,000 จัต (สำหรับข้าวคุณภาพต่ำ) และ 1,700 จัต (สำหรับพันธุ์ ปาว ซาน) และน้ำมันพืชอยู่ที่ 1,850 จัตต่อขวด เป็นต้น แผนการตลาดเคลื่อนจะดำเนินการที่ไปสี่เขตของย่างกุ้ง โดยจะอัปเดตการขายรายวันผ่านเพจ Facebook และแผ่นป้ายไวนิลในเขตเมืองย่างกุ้งเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mobile-market-trucks-offer-food-at-fair-prices/#article-title

เมียนมาส่งออกน้ำผึ้ง บุกตลาดต่างประเทศกว่า 4,000 ตันต่อปี

คนเลี้ยงผึ้งและธุรกิจเลี้ยงผึ้งรายย่อยของเมียนมา ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทาน สามารถผลิตน้ำผึ้งได้ปีละกว่า 6,000 ตัน เป็นบริโภคภายในประเทศ 2,000 ตัน และส่งออก 4,000 ตัน ซึ่งกระทรวงฯ กำลังเตรียมพื้นที่ 1.5 ล้านเอเคอร์เพื่อให้ผึ้งผสมเกสร โดยเขตซะไกง์เป็นผู้ผลิตน้ำผึ้งรายใหญ่ อีกทั้งรัฐมอญก็เริ่มทำการผลิตน้ำผึ้งเช่นกัน ธุรกิจการเลี้ยงผึ้งในเมียนมาเริ่มขึ้นในปี 2522 เริ่มส่งออกตลาดต่างประเทศในปี 2528 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งน้ำผึ้งดอกทานตะวัน น้ำผึ้งปาล์ม และน้ำผึ้งดอกงาเป็นที่ต้องการของตลาด โดยจีนและเวียดนามเป็นผู้ส่งออกน้ำผึ้งรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่เมียนมาและไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-about-4000-tonnes-of-honey-yearly/#article-title