สายการบิน MAI, KBZ พร้อมเปิดเที่ยวบิน ย่างกุ้ง-ซิตต์เวย์ และ ย่างกุ้ง-ทันดเว
สายการบินเมียนมาแอร์เวย์อินเตอร์เนชั่นแนล (MAI) และสายการบิน KBZ จะเปิดให้บริการเที่ยวบินย่างกุ้ง-ซิตต์เวย์ และย่างกุ้ง ตันดเว ทุกวันสำหรับผู้โดยสารที่จะเดินทางในประเทศ สายการบินเหล่านี้จะให้บริการเที่ยวบินย่างกุ้ง-เจาะพยู ทุกวันจันทร์ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์ ขระเดียวกันเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 เครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศจะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 64 โดยตั้งแต่ปี 2559 ถึงเดือนส.ค. 63 เมียนมามีรายได้จาก e-Visa หรือ ระบบตรวจตราคนต่างด้าวที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศเมียนมาทางอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 69.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากนักท่องเที่ยวกว่า 1.7 ล้านคนที่สมัครผ่านระบบ e-Visa ทั้งนี้ ณ วันที่ 21 ธ.ค.64 เมียนมามียอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมรวม 528,380 ราย เสียชีวิต 19,226 ราย ในขณะเดียวกันมีผู้หายป่วยกลับบ้านแล้วจำนวน 505,761 ราย
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mai-air-kbz-to-fly-yangon-sittway-and-yangon-thandwe-daily/#article-title
เมียนมาอนุญาตนำเข้ารถยนต์การพาณิชย์เพื่อจำหน่ายรถในโชว์รูมและศูนย์จำหน่ายในประเทศ
กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ประกาศว่าจะเริ่มนำเข้ารถยนต์เพื่อการพาณิชย์สำหรับโชว์รูมรถยนต์และศูนย์จำหน่ายรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศ สำหรับปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ตัวแทนขายรถในกรุงย่างกุ้งคาดว่าการนำเข้ารถยนต์เพื่อการพาณิชย์จะลดลงตามไปด้วย แต่ทั้งนี้การนำเข้าต้องปฏิบัติตามระเบียบ ซึ่งเฉพาะรถยนต์พวงมาลัยซ้ายเท่านั้นที่จะสามารถนำเข้าได้เท่านั้น
ที่มา : https://news-eleven.com/article/222383
ตำบลพวงพิน เขตซะไกง์ ผลผลิตข้าวช่วงมรสุม คาด ลดลงครึ่งหนึ่งจากปีก่อน
ผลผลิตข้าวในช่วงมรสุมของตำบลพวงพิน อำเภอพะงัน เขตซะไกง์ คาดลดลงมากกว่าครึ่งจากปีก่อน เนื่องจากขาดน้ำ สาเหตุจากปริมาณน้ำฝนน้อยลง ทำให้นาข้าวขาดน้ำและผลผลิตลดลง โดยปกติผลผลิตจะอยู่ที่ประมาณ 60 ตะกร้าต่อเอเคอร์ทุกปี แต่ในปีนี้มีเพียง 30 ตะกร้าเท่านั้น ในตำบลพวงพิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีผลผลิตข้าวเปลือกน้อยลงและส่งออกข้าวน้อยลงในปีนี้เช่นกัน ในบรรดาเมืองจินดวินตอนบนริมแม่น้ำจินดวิน (Chindwin River) ของเขตซะไกง์ พบว่า ตำบลพวงพินมีผลผลิตข้าวมากที่สุด
ที่มา: https://news-eleven.com/article/222307
เดือนต.ค.-พ.ย.64 ภาคการผลิตเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนไปแล้วกว่า 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย สถานประกอบการต่างประเทศส่วนใหญ่จับตาภาคการผลิตของเมียนมาเพื่อดูแนวโน้มการลงทุน พบว่าเมียนมาดึงดูดเม็ดเงินลงทุนประมาณ 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 8 โครงการ ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.64 ของงบประมาณย่อยในปีงบประมาณปัจจุบัน ที่ผ่านมาการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเมียนมาลดลงอย่างมากจากความต้องการของตลาดสหภาพยุโรปที่ตกต่ำในเดือนที่แล้ว ส่งผลให้โรงงานผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ส่งผลโรงงานบางแห่งปิดตัวถาวรและชั่วคราว ทำให้คนงานหลายพันคนต้องตกงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกำลังกลับสู่ภาวะปกติหลังจากมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงาน ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่แบบ CMP และถือเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ เมียนมาดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มูลค่ากว่า 234.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากบริษัท 13 แห่งในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.64 เป็นการลงทุนในภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์และการประมง การผลิต พลังงาน การก่อสร้าง การขนส่งและการสื่อสาร โรงแรมและการท่องเที่ยว และบริการอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการขยายทุนโดยวิสาหกิจที่มีอยู่แล้วและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-75-6-mln-in-oct-nov/#article-title
Digital marketing เทรนด์ใหม่ของอุตสาหกรรมอะโวคาโดในเมียนมา
Digital marketing ได้รับความสนใจในอุตสาหกรรมอะโวคาโด ปัจจุบันผลอะโวคาโดจำนวนมากจากเขตต่างๆ กำลังไหลทะลักเข้าสู่ตลาด โดยการส่งออกไปตลาดต่างประเทศมีอุปสรรคจากการขนส่งเพราะอยู่ในช่วง COVID-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในประเทศเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งอะโวคาโดคุณภาพดีสามารถขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้และราคาที่เป็นธรรมถูกกำหนดไว้เพื่อป้องการการตั้งราคาที่สูงหรือต่ำจนเกินไป ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์มากขึ้นเมื่อมีผลอะโวคาโดจำนวนมากเข้าสู่ตลาด ซึ่งอะโวคาโดระยะเวลาเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความสูงจากระดับน้ำทะเล โดยการเก็บเกี่ยวจะอยู่ระหว่างเดือนก.ย.ถึงเดือนก.พ. และอะโวคาโดพันธุ์ Hass เป็นที่ต้องการมากที่สุดในตลาด ทั้งนี้ราคาอะโวคาโดอยู่ที่ 9,500-10,000 จัตต่อกิโลกรัมสำหรับเกรด A ส่วนเกรด B อยู่ที่ 8,500 จัตต่อกิโลกรัม ส่วนเกรด C จะอยู่ที่ 6,500-7,000 จัตต่อกิโลกรัม และต่ำกว่าเกรด C จะอยู่ที่ 1,500 จัตต่อกิโลกรัม
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/digital-marketing-becomes-trendy-in-avocado-industry/
CBM อนุญาตให้ใช้เงินหยวน-จัต ซื้อขาย ในเขตชายแดนจีน-เมียนมา
ธนาคารกลางเมียนมา หรือ CBM ประกาศ อนุญาตให้ใช้หยวนหรือจัตในการทำธุรกรรมในขตชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนเพื่อสนับสนุนการค้าของสองประเทศ ซึ่งผู้ค้าชาวเมียนมาสามารถเปิดบัญชีที่ธนาคารที่กำหนดโดยสามารถชำระเงินหยวน-จัต ได้โดยตรง ทั้งนี้ธนาคารต้องปฏิบัติตามแนวทางการใช้เงินหยวนหรือจัดอย่างเคร่งครัดในการค้าขายข้ามพรมแดน โดยด่านข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมา และจีน 5 แห่ง ได้แก่ ด่านมูเซ ด่านลิวจี, ด่านชินฉ่วยฮ่อ, ด่านคามาไพติ และด่านเชียงตุง ซึ่งด่านมูเซ เป็นด่านชายแดนที่มีความสำคัญมากที่สุด จากข้อมูล พบว่า เมียนมามีมูลค่าการค้าข้ามแดนผ่านด่านมูเซ 4.057 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยเป็นการส่งออกมีมูลค่า 2.9 พันดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 1.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/yuan-kyat-direct-trade-allowed-in-sino-myanmar-border-areas/