‘เวียดนาม’ คาด GDP ปีนี้ โต 3.5-4% หากควบคุมการระบาดได้ภายในเดือน ก.ย.

นาย Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าหากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถควบคุมได้ในเดือนนี้ และเวียดนามจะกลับมาสู่ภาวะปกติใหม่ได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปีนี้ แตะ 3.5-4% ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ ชี้ว่ามาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลกระทบทางลบต่อการผลิต การดำเนินธุรกิจและการจ้างงาน ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับสูงสำหรับการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และยังส่งผลกระทบต่อการจดทะเบียนธุรกิจใหม่และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การบริโภคสินค้าทางการเกษตรในท้องถิ่นก็เผชิญกับปัญหา รวมถึงราคาอาหารวัวที่ปรับตัวสูงขึ้นก็เป็นอุปสรรคต่อภาคปศุสัคว์ของประเทศ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/minister-predicts-gdp-growth-at-3-5-4-if-pandemic-brought-under-control-in-sept/

 

กัมพูชาร่วมกับสำนักงานสมาคมธุรกิจไทย ส่งเสริมการค้าระหว่างกัน

สมาคมสภาส่งเสริมการค้าธุรกิจกัมพูชา (CBC) และสมาคมธุรกิจไทยในกัมพูชา (TBCC) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อร่วมมือกันในการส่งเสริมกิจกรรมการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักหลายประการ อาทิเช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสารความสัมพันธ์สำหรับการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการค้าและการพัฒนาตลาดร่วมกัน แลกเปลี่ยนเครือข่ายธุรกิจ สนับสนุนช่องทางการตลาดเพื่อส่งเสริมธุรกิจ เพิ่มโอกาสในการลงทุนระหว่างกัน และการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยลดลงในช่วงหกเดือนแรกของปี โดยลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1 มาอยู่ที่มูลค่า 3.98 พันล้านดอลลาร์ จาก 4.03 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปยังไทยลดลงร้อยละ 33 มาอยู่ที่ประมาณ 516 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าจากไทยถูกตรึงไว้ที่ 3.47 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50930585/cambodia-thai-business-councils-agree-more-trade/

ประทานสภาธุรกิจมาเลเซียวางแผนส่งเสริมการค้าและการลงทุนในกัมพูชา

ประธานสภาธุรกิจมาเลเซียประจำกัมพูชา (MBCC) วางแผนเชื่อมโยงกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจอื่นๆ อย่างแข็งขัน โดยมีเป้าหมายเพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจและกิจกรรมทางสังคมในกัมพูชา ซึ่งในปัจจุบัน MBCC มีสมาชิกประมาณ 70 ถึง 80 ราย ที่เป็นนักธุรกิจชาวมาเลเซียซึ่งดำเนินธุรกิจในกัมพูชา โดยวางแผนที่จะดึงดูดนักธุรกิจชาวมาเลเซียมายังกัมพูชามากขึ้น ซึ่งโดยเฉพาะนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น การธนาคาร สถาบันการเงิน พลังงาน โทรคมนาคม การผลิต บริการ การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และร้านค้าปลีก เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50887084/mbccs-new-president-foresees-more-malaysian-businesses-in-cambodia/

กัมพูชาร่วมกับเวียดนามส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

 กัมพูชาและเวียดนามได้ร่วมกันวางแผนที่จะส่งเสริมภาคการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังยืนยันว่าจะอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการขนส่งสินค้าแม้กำลังจะเผชิญอยู่กับวิกฤตโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยรัฐมนตรีของทางฝั่งกัมพูชายังได้กล่าวถึงเกี่ยวกับความคืบหน้าของการให้สัตยาบันข้อตกลงการค้าระดับภูมิภาคและทวิภาคีที่ได้ข้อสรุปแล้วอีกด้วย รวมถึงได้ทำการขอบคุณรัฐบาลเวียดนามสำหรับการสนับสนุนกัมพูชาและหวังว่าหลังจากการร่วมมือกันในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยในพัฒนาระหว่างกันในระยะยาว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50886133/cambodia-vietnam-vow-to-further-boost-bilateral-trade-and-investment/

อินเดีย-เมียนมา เดินหน้าเจรจาทวิภาคีหนุนการค้าและการลงทุน

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าเมียนมา – อินเดียครั้งที่ 7 ทั้ง 2 ประเทศจะร่วมมือกันส่งเสริมการค้าและการลงทุนแบบทวิภาคี นายอูหมินหมิน อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าเมียนมากล่าวว่าการหารือเป็นไปเพื่อกระตุ้นการค้ารวมถึงการเพิ่มโควต้าการนำเข้าของอินเดียสำหรับถั่วและพัลส์ และการเปิดตลาดชายแดน หลังจากแก้ปัญหาชายแดนการขยายตลาดสำหรับภาคสิ่งทอได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคของอินเดียในภาคการเกษตรและปศุสัตว์และเร่งโครงการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและสะพานตามเส้นทางการค้าเมียนมา – อินเดีย นอกจากนี้ยังจับมือกับ MyanTrade ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศ สิ่งนี้จะทำให้เกิดโอกาสพัฒนาและการเติบโตใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการเกษตร สิ่งทอ การขนส่ง และการธนาคารของเมียนมาด้วย ทั้งสองประเทศยังหารือเกี่ยวกับการเพิ่มการลงทุนของอินเดียในภาคพลังงานของเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-strengthen-bilateral-trade-and-investment.html

สปป.ลาวและจีนเร่งส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค

จีนได้เปิดทางด่วนอีกเส้นที่เชื่อมทางตอนใต้ของประเทศกับชายแดนสปป.ลาวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคและส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีน – อาเซียน ทางด่วนเวียงจันทน์ – บอเต็นที่กำลังก่อสร้างอยู่ จะลดเวลาในการเดินทางระหว่างสองประเทศ เชื่อกันว่าจะช่วยปรับปรุงเครือข่ายถนนในภูมิภาคส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวไม่เพียงแต่ระหว่างสปป.ลาวและจีนเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค ทางด่วน Xiaomengyang-Mohan สร้างขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของทางหลวงคุนหมิง – กรุงเทพฯผ่านสปป.ลาว ทางด่วนสายที่ 2 มณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนไปยังชายแดนสปป.ลาวก็เปิดให้บริการเร็ว ๆ นี้ เวียงจันทน์ – วังเวียงเป็นด่านแรกของทางด่วนเวียงจันทน์ – บอเต็นและมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมปีนี้ เมื่อสร้างเสร็จจะลดเวลาเดินทางระหว่างเวียงจันทน์และวังเวียงเหลือเพียง 1.5 ชั่วโมง ส่วนที่วางแผนไว้อีกสามส่วนล ได้แก่ วังเวียง – หลวงพระบาง หลวงพระบาง – อุดมไซและอุดมไซ – โบเต็น ยังขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากรัฐบาลสปป. ขณะนี้ทางรถไฟสปป.ลาว – ​​จีนสร้างเสร็จแล้วมากกว่า 90% คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการรถไฟประมาณ 14 ล้านคนต่อปี จีนมีความตั้งใจที่จะให้ทางรถไฟเชื่อมต่อเมืองหลวงของอาเซียนโดยที่คุนหมิงทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค รัฐบาลสปป.ลาวถือว่าทางรถไฟและทางด่วนเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนประเทศจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นการเชื่อมต่อทางบกภายในภูมิภาคลดต้นทุนการขนส่งและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/10/13/laos-and-china-keen-to-boost-regional-connectivity