‘เวียดนาม’ เผยดึง FDI ช่วง 5 เดือนแรกปี 67 ทะลุ 11.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สำนักงานการลงทุนต่างประเทศ กระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเวียดนาม ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่จากข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค. พบว่าเวียดนามมีโครงการลงทุน 40,285 โครงการ และมีมูลค่าทุนจดทะเบียน 481.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เกินดุลการค้า 19.57 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ภาคในประเทศ ขาดดุลการค้า 11.05 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ สาขาการผลิตและแปรรูปยังคงได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด มีมูลค่าเกินกว่า 7.43 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 67.1% ของจำนวนเงินทั้งหมด เพิ่มขึ้น 11.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาสาขาอสังหาริมทรัพย์ มีมูลค่าราว 1.98 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสาขาการค้าส่งค้าปลีก การขนส่งและการจัดเก็บสินค้า มีมูลค่ากว่า 856.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656338/fdi-reaches-us-11-07-billion-in-first-five-months-of-2024.html

‘สถาบันวิจัย’ คาดเศรษฐกิจเวียดนามปีนี้ ขยายตัว 6%

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและนโยบายของเวียดนาม (VEPR) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2567 จะขยายตัว 5.6% – 6% โดยได้ปัจจัยหนุนมาจากการส่งออก การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศยังคงอ่อนแอ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปีนี้ จะเห็นได้ว่าทิศทางของเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวในไตรมาสแรก บ่งชี้ให้เห็นสัญญาณเชิงบวก อย่างไรก็ดียังมีความไม่แน่นอนอยู่ นอกจากนี้ เวียดนามยังได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออก การลงทุนจากต่างประเทศและการผลิตของภาคอุตสาหกรรม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1655818/vepr-forecasts-vietnamese-economy-growth-at-below-6-per-cent.html

‘สื่อ’ เผยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนาม ส่งสัญญาเขิงบวก ปี 2567

ตามรายงานของเว็บไซต์ข่าว ‘Vietnam Briefing’ เปิดเผยว่าภาพรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเวียดนาม ปี 2567 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และจากรายงานดังกล่าวได้อ้างข้อมูลของสำนักงานการค้าต่างประเทศที่ระบุว่าเวียดนามได้รับเม็ดเงินลงทุน FDI ของเดือน ม.ค. และ ก.พ. มูลค่ามากกว่า 4.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่มูลค่าการเบิกจ่ายเงินลงทุนในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ มีอุตสาหกรรมที่ได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศหลายภาคส่วน ได้แก่ เทคโนโลยี พลังงานทดแทน สุขภาพ การธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ ในขณะเดียวกัน เวียดนามยังมีนโยบายที่เป็นมิตรกับนักลงทุน รวมถึงการลดหย่อนภาษีและมีศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่จะจัดตั้งในเมืองฮานอยและโฮจิมินห์ ทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่กำลังมองหาโอกาสการเติบโตในระยะยาวที่ยั่งยืน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fdi-flows-in-vietnam-forecast-to-boom-this-year/283248.vnp

CDC อนุมัติการลงทุนให้แก่บริษัท 12 แห่ง มูลค่า 66.6 ล้านดอลลาร์

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการลงทุน 12 โครงการ มูลค่ารวม 66.6 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าจะสร้างโอกาสในการจ้างงานมากกว่า 12,000 ตำแหน่ง ครอบคลุมกิจกรรมการผลิตอุปกรณ์กีฬา โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า รองเท้า โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานผลิตโคมไฟ และโรงงานผลิตสี โดย CDC ได้รายงานเสริมว่านับตั้งแต่ต้นปี 2023 จนถึงเดือนกันยายน ได้อนุมัติโครงการการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวม 191 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับจำนวนโครงการในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีทุนจดทะเบียนรวมกว่า 45.8 พันล้านดอลลาร์ ณ ไตรมาสแรกของปี 2023 ด้านธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) รายงานเสริมว่าแหล่งเงินทุนหลักยังคงมาจากทางประเทศ จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย ไทย และสหราชอาณาจักร เป็นสำคัญ โดยการไหลเข้าของ FDI ครอบคลุมภาคส่วนสำคัญต่างๆ เช่น ภาคการเงิน การผลิต อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและรีสอร์ท ไปจนถึงเกษตรกรรม พลังงานทดแทน และการก่อสร้าง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501385590/cdc-nod-for-12-manufacturing-investments-worth-66-6m/

“เวียดนาม” กลายมาเป็นตลาดบริการรับฝากเซิร์ฟเวอร์ที่น่าสนใจ ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

จากรายงานของ KPMG ล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนนี้ พบว่าเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 7 ของตลาดเกิดใหม่ชั้นนำที่ให้บริการเช่าพื้นที่สำหรับการวางเซิร์ฟเวอร์ (Server) และคาดการณ์ว่าขนาดตลาดจะพุ่งสูงขึ้นแตะ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2569 ทั้งนี้ คุณ Meir Tlebalde ผู้อำนวยการของบริษัท KPMG ประจำเวียดนาม กล่าวกับหนังสือพิมพ์ Vietnam Investment Review ว่าการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับตลาดเทียร์-1 เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ซิดนีย์และโตเกียว คิดเป็นสัดส่วน 82% ของขนาดข้อมูลทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ดี ตลาดเทียร์-1 กำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนที่ดินจำนวนมากที่ใช้ในการพัฒนาและต้นทุนของพลังงานทดแทนที่มีราคาสูง เป็นต้น อีกทั้ง จากข้อมูลของ Tlebalde ชี้ให้เห็นว่าตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญของตลาดให้บริการเช่าพื้นที่สำหรับการวางเซิร์ฟเวอร์ของเวียดนาม มาจากต้นทุนที่ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระบบอินเทอร์เน็ตที่มีศักยภาพ ประกอบกับแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้ในราคาต้นทุนที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เร่งดีดตัวขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-becomes-attractive-colocation-markets-for-foreign-investors-2151582.html

สื่อสวิส ตีแผ่ ‘เวียดนาม’ จุดหมายปลายทางใหม่ของธุรกิจต่างชาติ

สื่อสวิส (Swiss Daily) เปิดเผยบทความว่าเวียดนามมีการเติบโตทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในเอเชีย ปี 2565 หลังวิกฤตโควิด-19 ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์อยู่ในตำแหน่งที่มีความได้เปรียบจากเศรษฐกิจเวียดนามที่ขยายตัวสูงขึ้น และบริษัทสวิสหลายร้อยแห่งเป็นหนึ่งในนักลงทุนยุโรปรายสำคัญที่สุดในเวียดนาม โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมของสวิสที่สามารถใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผลิตในเวียดนาม “Made in Vietnam” ทั้งนี้ การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการเข้ามาของบริษัทระดับโลก อาทิ ฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของ Apple และบริษัทซัมซุง (Samsung) เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามได้รับการจัดอันดับจากนักลงทุนต่างชาติว่าเป็นแหล่งการลงทุนที่ได้รับความสนใจชั้นนำของโลก ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจะยังคงเห็นการก่อตั้งโรงงานขนาดใหญ่ในอนาคตอีกจำนวนมาก

ที่มา : https://en.nhandan.vn/swiss-daily-vietnam-becomes-a-new-destination-for-foreign-companies-post122754.html

CDC อนุมัติโครงการลงทุนใหม่จากญี่ปุ่นมูลค่ารวม 2.9 พันล้านดอลลาร์

สภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการลงทุน 150 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ที่เสนอโดยนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศ ณ สิ้นเดือนมกราคมปีนี้ ตามการรายงานของ CDC หลังจากการประชุมระหว่างเลขาธิการ Sok Chenda Sophea และเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา Atsushi Ueno รวมถึงผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA), องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และสมาคมธุรกิจญี่ปุ่นแห่งกัมพูชา (JBAC) ในการหารือร่วมกัน โดยโครงการลงทุนที่โดดเด่นของนักลงทุนญี่ปุ่นในกัมพูชา ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า, โรงงานประกอบรถยนต์, โรงงานผลิตมอเตอร์ขนาดเล็ก, โรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า และโรงพยาบาล ซึ่งการลงทุนของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมต่างๆ ของกัมพูชา ถือเป็นบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความหลากหลายทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501243067/cdc-approves-2-9-billion-japanese-investment-projects/

“เวียดนาม” เผย ม.ค. ต่างชาติลงทุน FDI หดตัวลง 20%

ตามข้อมูลของหน่วยงานควบคุมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FIA) กระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่ายอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเดือนมกราคม อยู่ที่ 1.69 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 80.2% ของยอดเงินทุนรวมจากต่างประเทศในเดือนมกราคม 2565 ทั้งนี้ จากข้อมูลในเดือนที่แล้ว พบว่าจำนวน 153 โครงการเป็นโครงการที่ได้ใบรับรองการจดทะเบียนการลงทุน พร้อมกับเงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยการลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่จะลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป รองลงมาภาคการค้าปลีกค้าส่ง และภาคการขนส่งและการก่อสร้าง ทั้งนี้ สิงคโปร์เป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนามมากที่สุด ด้วยมูลค่าการลงทุน 814 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 48.3% ของเงินทุนรวมจากต่างประเทศ รองลงมาจีน เกาหลีใต้และไต้หวัน

ที่มา : https://vietreader.com/business/74014-january-fdi-down-20-per-cent-on-year.html

FDI ในกัมพูชาขยายตัวเฉลี่ยกว่า 8.1% ในช่วงปี 2017-2021

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ภายในกัมพูชาขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 8.1 ต่อปี ในช่วงปี 2017-2021 ตามรายงานแนวโน้มด้านการค้าและการลงทุนเอเชียแปซิฟิกปี 2022-2023 โดยในปี 2021 ปริมาณ FDI ที่ไหลเข้ามายังกัมพูชาปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.9 แต่ถึงอย่างไรต้นทุนการดำเนินธุรกิจภายในกัมพูชาก็ยังต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก-3 อย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งในปี 2020 ต้นทุนการดำเนินธุรกิจของกัมพูชาอยู่ที่ร้อยละ 96.4 ของมูลค่าสินค้า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ เช่น กลุ่มเศรษฐกิจยุโรป-3 (เยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร) และเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก-4 (จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และสหพันธรัฐรัสเซีย) ที่มีต้นทุนการดำเนินธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 104.2 และ 145.4 ของมูลค่าสินค้า ตามลำดับ โดยในปี 2021 คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชายังคงเป็นจีน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8.6 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา ขณะที่การนำเข้าจากจีนของกัมพูชามีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 33.8 ของการนำเข้าทั้งหมด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501224868/average-annual-fdi-inflow-growth-of-8-1-in-cambodia-from-2017-to-2021/

สิงคโปร์แซงหน้าจีน ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกัมพูชา

ในปี 2021 สิงคโปร์ได้เข้ามาแทนที่จีนในฐานะประเทศผู้ลงทุนรายสำคัญของกัมพูชา ด้วย 6 โครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งประเทศจีนครองตำแหน่งผู้ลงทุนรายสำคัญในปี 2019 และ 2020 ตกลงมาเป็นอันดับ 2 ร่วมกับสหรัฐฯ ตามรายงานของ Investment Monitor ในเรื่อง “Cambodia punches above its weight in attracting FDI” โดยกัมพูชาถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุนอันดับ 3 ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก รองจากสิงคโปร์และนิวซีแลนด์ อ้างอิงจากฐานข้อมูลโครงการการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของ GlobalData ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกัมพูชาพุ่งสูงสุดในปี 2019 ด้วยโครงการลงทุนกว่า 43 โครงการ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2018 หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์ ที่เคยได้รายงานไว้ใน World Investment Report 2020

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501178069/singapore-replaces-china-as-cambodias-top-fdi-source/