วิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกไทยในเวียดนาม

เวียดนามเผยส่งออกมันสำปะหลังลดลง ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ระบุว่าการส่งออกมันสำปะหลังของเวียดนามลดลงเล็กน้อย ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยปริมาณการส่งออกมันสำปะหลังในช่วงเวลาดังกล่าว 380,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 127 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.06 และ 0.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งราคาส่งออกเฉลี่ยของมันสำปะหลังอยู่ที่ราว 332 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ จีนยังคงเป็นตลาดมันสำปะหลังของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93 ของมูลค่าส่งออกมันสำปะหลังรวม อย่างไรก็ตาม การส่งออกมันสำปะหลังไปยังจีนลดลงร้อยละ 21.1 ในด้านปริมาณและร้อยละ 25.1 ในด้านมูลค่า เมื่อเทียบกับชาวงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งได้ปิดตลาดตามเขตชายแดนและระงับกิจกรรมการค้าตามบริเวณชายแดนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกมันสำปะหลังของเวียดนามไปยังจีน นอกจากนี้ จีนยังคงมีความเข็มงวดสำหรับการติดฉลาก,การบรรจุภัณฑ์ และการค้าตามชายแดน เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-cassava-export-reduction-in-two-months/169980.vnp

COVID-19 กระทบเล็กน้อยต่อส่งออกประมงเมียนมา

แม้ว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังประเทศจีนได้ลดลงเล็กน้อยในปีนี้เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่ทำการส่งออกไปให้ทั่วโลกเพียง 4,000 ตันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์ทางทะเลประมาณ 4,000 ตันมูลค่ากว่า 3.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4.3 พันล้านจัต) ถูกส่งออกไปยังประเทศจีนผ่านเส้นทางการค้าชายแดนมูเซ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 8 มีนาคม การส่งออกส่วนใหญ่เป็นปลาไพค์ ปลาฟลาวน์เดอร์ ปลาจะละเม็ดขาว ปลาคาร์พสีเหลือง ปลาปักเป้า กุ้งและปลาหมึก จุดการค้าชายแดนของชินฉ่วยฮ่อ ลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ปลาไหลและปลามังกรหรือปลาไหลทะเลมีการส่งออกรวม 28.23 ตันมูลค่า 72,075 ดอลลาร์สหรัฐถูกส่งออกระหว่างวันที่ 1 ถึง 8 มีนาคม การส่งออกชายแดนของผลิตภัณฑ์ประมงเป็นไปตามปกติในเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากประตูชายแดนชินฉ่วยฮ่อ ปิดทำการชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแต่จะเปิดใหม่ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตามการค้าผ่านประตูนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งออกปลาไหล จนถึงปีที่ 28 กุมภาพันธ์ของปีงบประมาณปัจจุบันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงเมียนมามูลค่า 415.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ 361.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/fisheries-exports-not-badly-hit-agriculture-virus.html

ถกทูตพาณิชย์ปรับทัพส่งออกปี63

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเรียกประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลก 28 ก.พ.นี้เพื่อประเมินสถานการณ์ส่งออกและปรับทัพใหม่หลังเจอไวรัสโควิด-19ระบาดหนัก  นายสมเด็จ สุสมบูรณ์  อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า  ในวันที่ 28 ก.พ.นี้จะมีการประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลกเพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 63  พร้อมทั้งปรับแผนงานการส่งออกในตลาดในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูง ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  สงครามการค้าสหรัฐ-จีน  เป็นต้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีแผนการหรือกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพื่อกระตุ้นการส่งออกที่แตกต่างกัน ส่วนแผนการการเจาะตลาด 18 ประเทศที่วางไว้ก็คงต้องมีการปรับใหม่เพื่อความเหมาะสมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์การระบาดของไวรัสโควิค-19 สำหรับแผนการตลาดที่ต้องต้องปรับใหม่ เช่น แผนการโปรโมทสินค้าผลไม้ในดือนเม.ย.ต้องดูความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเข้าไปทำกิจกรรมโปรโมทได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็ต้องระงับไว้ก่อน พร้อมกับปรับแผนให้เน้นในเรื่องของการขายออนไลน์ให้มากขึ้น แต่หากว่าจีนคุมสถานการณ์ได้ไว้ เราก็ต้องรีบเข้าจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด  ขณะเดียวกันก็ต้องมองไปที่ตลาดอื่นๆด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/758828

เวียดนามตั้งเป้า จ.ก่าเมา จะบรรลุตามเป้าหมายการส่งออก

จังหวัดก่าเมาอยู่ในทางตอนใต้ของเวียดนาม ได้หาแนวทางที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการท้องถิ่นและผลักดันการส่งออกให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ท่ามกลางไวรัสโคโรน่า (COVID-19) โดยคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัดได้มุ่งเน้นในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำหรับการประกอบธุรกิจและการลงทุน รวมถึงผลักดันโครงการเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมกุ้งในปี 2568 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ติดตามหรือเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีมีความทันสมัย ดังนั้น ธุรกิจท้องถิ่นจึงต้องเตรียมการวางแผนการผลิตและแปรรูป ขณะที่ จากข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) จะช่วยให้เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังตลาดยุโรปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจท้องถิ่นในจังหวัดก่าเมาได้สร้างรายได้ในเดือน ม.ค. 63 ประมาณ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งตลาดส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย จีนและสหภาพยุโรปในทางตอนใต้ของเวียดนามังคงมุ่งเน้นในการผลิตหน้ากาก้องกันเชื้อ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592306/ca-mau-looks-for-measures-to-achieve-export-turnover-target.html

รายได้การส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้น 27 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าปี 62-63 มีรายได้จากการส่งออกทางทะเลมีจำนวน 232.091 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 27.940 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายได้จากการส่งออกทางทะเลอยู่ที่ 482 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 57-58 รายได้ 502 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 58-59 รายได้ 652 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 59-60 มากกว่า 680 ล้านเหรียญสหรัฐจนถึง 18 มีนาคมในปี 60-61 และ 728.257 ตามข้อมูลจากกรมประมง เวียดนามติดอันดับประเทศผู้ส่งออกทางทะเลในอาเซียน รองลงมาคือ ไทย อินโดนีเซีย และเมียนมาตามลำดับ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกปลามากกว่า 40 ชนิดไปยังกว่า 40 ประเทศ ปริมาณการส่งออกทางทะเลของเมียนมาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน มีความพยายามที่จะเพิ่มการส่งออกซึ่งภาคการประมงควรให้ความสำคัญกับระบบการผสมพันธุ์มากว่าการทำประมงตามธรรมชาติ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/marine-export-earnings-increase-by-over-27-m

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

ตามข้อมูลของสมาคมเม็ดมะม่วงหิมพานต์เวียดนาม (Vinacas) เปิดเผยว่าภาคอุตสาหกรรมเม็ดมะม่วงหิมพานต์จะมุ่งเน้นไปที่การแปรรูป ปรับปรุงคุณภาพและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2562 มีการนำเข้าวัตถุดิบอยู่ที่ 1.5 ล้านตัน และแหล่งน้ำเข้าวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากแอฟริกา ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปริมาณส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์มากกว่า 418,000 ตัน ด้วยมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาจีนและเนเธอแลนด์ เป็นต้น นอกจากนี้ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าภาคเกษตรกรรมมียอดเกินดุลการค้าราว 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ สำหรับแหล่งส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด คือ จีน (26.9% ของการส่งออกรวม) รองลงมาสหรัฐฯ สหภาพยุโรป อาเซียนและญี่ปุ่น ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-targets-4-billion-usd-from-cashew-exports-in-2020-407924.vov

เวียดนามเผชิญกับอุปสรรคในการส่งออกพริกไทยไปยังตลาดโลก

ตามข้อมูลของสำนักงานการนำเข้า-ส่งออก ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม เปิดเผยว่าสถานการณ์การส่งออกพริกไทยของเวียดนามยังคงเผชิญกับอุปสรรค เป็นผลมาจากผลผลิตล้นในตลาดโลก และการแข่งขันจากคู่แข่งที่สูงขึ้น ทำให้ระดับราคาลดลง โดยในปัจจุบัน เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกพริกไทยอยู่ที่ 100,000 เฮกเตอร์ คิดเป็นปริมาณผลผลิตราว 247,000 ตัน ขณะที่ ราคาพริกไทยยังอยู่ในระดับต่ำและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมพริกไทยมีแนวโน้มชะลอตัวต่อไปอีก ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตพริกไทยในตลาดโลกจะเพิ่มสูงขึ้น 1 ล้านตันในปี 2050 เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาพริกไทย นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่าแม้ว่าสถานการณ์การส่งออกพริกไทยของเวียดนามเผชิญกับความท้าทาย แต่ด้วยข้อตกลงการค้าเสรี เช่น CPTPP และ EVFTA เป็นต้น จะทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับโอกาสมากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/pepper-exports-face-hurdles-in-global-market-407916.vov

เวียดนามคาดว่ายอดการส่งออกสินค้าป่าไม้ 11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2562

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าภาคป่าไม้ของเวียดนามยังคงเติบโตสูงถึง 5% ในปีนี้ มีมูลค่าการส่งออก 11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยอัตราการส่งออกอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ภาคการเกษตรขยายตัว โดยตลาดส่งออกสำคัญของผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนรวมกัน 80% ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ทั้งหมด ทั้งนี้ มีจำนวนผู้ประกอบการแปรรูปไม้กว่า 4,500 ราย และสถานประกอบการในประเทศมีอยู่มากกว่า 1,800 แห่ง นอกจากนี้ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI), อุตสาหกรรมไม้แปรรูปได้พัฒนาในลักษณะของโครงการขนาดใหญ่และมีการส่งเสริมเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้น ขณะที่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้นั้นมีรูปแบบและชนิดหลากหลายขึ้น ทำให้ได้รับมาตรฐานในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/forestry-exports-expected-to-beat-us113-billion-during-2019-407762.vov

ภาคการส่งออกกัมพูชายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกของกัมพูชาภายใต้ GSPs และข้อตกลงการค้าเสรีมีมูลค่าถึง 10.81 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 10 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 6.45% ตามที่กระทรวงพาณิชย์ระบุ โดยในรายงานล่าสุดกระทรวงระบุว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคมกัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าที่ 6.4 พันล้านเหรียญ, สิ่งทอ 40 ล้านเหรียญ, รองเท้า 905 ล้านเหรียญและข้าว 286 ล้านเหรียญ เป็นต้น ซึ่งความสำคัญอยู่ที่การเพิ่มความหลากหลายของตลาด ปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้ากับพันธมิตรของกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย ซึ่งผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์จากกัมพูชารายใหญ่ที่สุด คือ สหภาพยุโรปสหรัฐอเมริกา แคนาดาและจีน โดยกัมพูชากำลังขยายไปสู่ตลาดใหม่ๆผ่านข้อตกลงเขตการค้าเสรีแบบครบวงจร (RCEP) ซึ่งจะได้ข้อสรุปในปีหน้า โดยประธานสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าเสถียรภาพทางการเมืองและความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นรากฐานของความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจของกัมพูชา ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศมีการพัฒนามาจากการเกษตร อุตสาหกรรมและภาคบริการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50671488/exports-continue-strong-growth-ministry-report/