นายกฯ ผลักดันใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง RCEP เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด

15 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มุ่งผลักดันการใช้สิทธิประโยชน์และขยายโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดโลกภายใต้ความตกลง RCEP ซึ่งมีผลบังคับใช้กับชาติสมาชิกครบทั้ง 15 ประเทศแล้ว ครอบคลุมประชากรและ GDP กว่า 30% ของโลก โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ซึ่งมีการลงนามครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อปี 2563 ได้มีผลบังคับใช้ครอบคลุมประเทศฟิลิปปินส์แล้ว เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565 ส่งผลให้ RCEP บังคับใช้โดยสมบูรณ์ในประเทศสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ ครอบคลุมประชากรและ GDP กว่า 30% ของโลก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมประเทศไทยในการขยายการค้าสินค้ากับและประเทศสมาชิก เพิ่มโอกาสทางการตลาดและการจ้างงานให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ และประชาชนชาวไทยได้อย่างมหาศาล รวมทั้งจะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้อีกด้วย ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก RCEP ในเดือนมกราคม 2566 มีการส่งออกไปยัง 9 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ออสเตรเลีย สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย มีมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์รวม 97.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 1,039 % เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2565 ที่ได้เริ่มบังคับใช้ความตกลง RCEP โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญภายใต้ความตกลง RCEP อาทิ น้ำมันหล่อลื่น มันสำปะหลังเส้น ปลาทูน่ากระป๋อง หัวเทียน เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมอำนวยความสะดวก และให้คำปรึกษาสำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างสูงสุด และสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

ที่มา : https://www.naewna.com/business/737438

RCEP โอกาสการค้า กัมพูชา-จีน และกลุ่มประเทศสมาชิก

หลังความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อต้นปี 2022 ได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกัมพูชาและประเทศสมาชิกอื่นๆ ให้เกิดการเร่งการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ซึ่ง RCEP ถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกจนถึงปัจจุบัน โดยจีนถือเป็นส่วนสำคัญในข้อตกลงฉบับนี้ ซึ่งปัจจุบันการค้าระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอีก 14 ประเทศขยายตัวถึงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นมูลค่า 442.75 พันล้านดอลลาร์ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 คิดเป็นร้อยละ 30.4 เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าทั้งหมดของปีก่อน ข้อมูลจากกระทรวงศุลกากรจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501063032/rosy-prospects-ahead-for-economic-ties-between-china-other-rcep-members/

เวิลด์แบงก์ ชี้ ‘เวียดนาม’ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากข้อตกลง RCEP

ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่าเวียดนามทำรายได้มากที่สุดจากการค้ากับประเทศสมาชิกภายใต้ความตกลงการเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค (RCEP) โดยอัตราภาษีศุลกากรทางการค้าเฉลี่ยของเวียดนามปรับตังลดลงจาก 0.8% มาอยู่ที่ 0.2% ในขณะที่อัตราภาษีศุลกากรที่ประเทศจะลดลงจาก 0.6% มาอยู่ที่ 0.1% ปี 2543-2578 ทั้งนี้ ตามรายงานของ newswire Vietnam Briefing ชี้ว่าผลประโยชน์จากการค้าของเวียดนามกับสมาชิกประเทศ RCEP ส่งผลให้เวียดนามมีรายได้เพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบกับระดับพื้นฐาน ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับของประเทศอื่นๆ ที่ทำรายได้เพิ่มขึ้นราว 2.5% อีกทั้ง เวียดนามและมาเลเซียเป็นประเทศสมาชิกที่คาดว่าจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากข้อตกลงฉบับนี้ “RCEP” จะช่วยให้เวียดนามเข้าถึงตลาดผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เท่าของความตกลง CPTPP อย่างไรก็ตามเวียดนามต้องยกระดับความสามารถ เพื่อที่จะตอบสนอบความต้องการที่สูงขึ้นและการแข่งขันที่รุนแรง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-to-benefit-most-from-rcep-wb-post937468.vov

กัมพูชาคาด RCEP ดันการส่งออกและการลงทุนภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

Pan Sorasak รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชา กล่าวถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกัมพูชา โดยกัมพูชาคาดว่าการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าจะส่งผลทำให้การส่งออกของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 การลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 และการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ซึ่งข้อตกลงการค้าได้มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา โดยจะทำการยกเลิกภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าที่ได้ทำการซื้อขายระหว่างผู้ลงนามในอีก 20 ปีข้างหน้ามากถึงร้อยละ 90

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501044513/cambodia-sees-gains-begin-flowing-from-rcep-agreement/

กัมพูชาคาดส่งออกรองเท้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นภายใต้ RCEP

กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์รองเท้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา กล่าวโดย Kith Meng ประธานหอการค้ากัมพูชาและประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน โดยได้กล่าวเสริมว่ากัมพูชาถือเป็นหนึ่งในประเทศที่คาดว่าจะใช้ความตกลงดังกล่าวให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาได้ดำเนินการตามกรอบแนวทางของ RECP ทั้งในด้านของการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน เศรษฐกิจดิจิทัล และการแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวมถึงการปรับปรุงสินค้าที่จำเป็น เพื่อเป็นการลดต้นทุนทั้งในด้านของการผลิตและการขนส่งในระยะถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501039486/cambodia-exports-footwear-to-china-under-rcep/

กัมพูชารั้งอันดับ 3 ด้านการส่งออก ภายใต้ RCEP

กัมพูชารั้งอันดับ 3 ในด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการส่งออกภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาค (RCEP) รายงานโดยธนาคารโลก ซึ่งพิจารณาจากสถานการณ์ทางด้านภาษี มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี และต้นทุนการค้า โดย สปป.ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซียได้รับประโยชน์สูงสุด ในแง่ของการเติบโตของการส่งออก รายงานระบุว่ากัมพูชาคาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ซึ่งเวียดนามคาดว่าจะมีการเติบโตสูงสุดที่ร้อยละ 11.4 และญี่ปุ่นที่ร้อยละ 8.9 โดยปัจจุบัน RCEP ถือเป็นข้อตกลงทางการค้าที่มีขนาดใหญ่ครอบคลุม 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ผนวกกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีประชากรรวมกันกว่าร้อยละ 30 ของโลก ครองสัดส่วน GDP ถึงร้อยละ 30 ของโลก

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/501032201/cambodia-ranks-3rd-in-real-income-gains-export-growth-under-rcep-trade-pact-world-bank/

RCEP-FTA กุญแจสำคัญดึงการลงทุนมายังกัมพูชา

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี (FTA) ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มายังกัมพูชาในยุคหลังโควิด-19 โดย RCEP และ FTA กัมพูชา-จีน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ขณะที่เขตการค้าเสรีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้คาดว่าจะมีผลในอนาคตอันใกล้ ซึ่ง Vongsey Vissoth ปลัดกระทรวงการคลังกัมพูชา ได้กล่าวเสริมว่าข้อตกลงการค้าเสรีเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในระยะยาว โดยเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5.6 ในปี 2022 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3 ในปี 2021 ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการพื้นตัวของภาคการส่งออกเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าเพื่อการเดินทาง การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง และการเกษตร เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501027994/rcep-bilateral-ftas-key-to-attract-investments-to-cambodia-in-post-pandemic-era/

กัมพูชา-แคนนาดา ตกลงกระชับความสัมพันธ์ด้านการลงทุนระหว่างกัน

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสะท้อนผ่านการส่งออกของกัมพูชาไปยังแคนาดาภายใต้ข้อตกลงทางการค้าที่มีมูลค่าสูงถึง 954.82 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2021 โดยทั้งสองประเทศตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือในภาคการลงทุนและการศึกษาระหว่างกัน รวมถึงการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการเจรจาการค้าที่เคยผ่านมา ตลอดจนการพัฒนาโครงการสนับสนุนอื่นๆ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาด้านเทคนิคสำหรับกัมพูชา โดยในระยะถัดไปอาจจะมีการประชุมทางธุรกิจระหว่างนักลงทุนชาวแคนาดาที่ลงทุนในประเทศไทยและสปป.ลาว เพื่อพิจารณากัมพูชาในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกัมพูชา-จีน (CCFTA) ข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกัมพูชา-เกาหลี (CKFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501024309/cambodia-and-canada-agree-to-further-strengthen-investment-ties/

ข้อตกลงการค้าเสรี โมเมนตัมเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ ปี 65

ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี อาทิความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. คาดว่าจะกลายมาเป็นแรงผลักดันใหม่ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับปรุงความสามารถทางการแข่งขันและคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อเป็นที่ต้องการของตลาดระหว่างประเทศและใช้โอกาสอย่างเต็มที่ในบริบทใหม่ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ ความตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามลงนามนั้น ถือเป็นประตูเปิดสำหรับการค้าในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกและเครือข่ายการผลิต ทั้งข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP, EVFTA และ UKVFTA เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ftas-momentum-for-vietnams-economy-in-2022/221551.vnp

ชี้ช่องใช้ประโยชน์ RCEP ส่งออกตลาด เกาหลี-มาเลเซีย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เร่งรัดให้หน่วgdยงานภาครัฐดำเนินการกระบวนการภายในในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จาก RCEP กับเกาหลีใต้และมาเลเซียที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ สำหรับเกาหลีใต้จะยกเว้นภาษีสินค้าให้ไทย 90.7% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยยกเว้นภาษีทันที 7,843 รายการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 และเปิดตลาดเพิ่มเติม 413 รายการ  ส่วนมาเลเซียจะยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าให้ไทย 90% ของรายการสินค้าทั้งหมด โดยวันที่ 18 มีนาคม 2565 จะยกเว้นภาษีทันที 6,590 รายการ

ที่มา:  https://www.naewna.com/business/632118