เวียดนามเผยโควิด-19 ดันช็อปออนไลน์พุ่งในช่วงเทศกาลเต็ด

การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลายเป็นตัวเร่งสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคชาวเวียดนามเกิดการจับจ่ายสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นตลอดทั้งปี คุณ Thu Hang นักบัญชีของธนาคารพาณิชย์ “Techcombank” กล่าวช่วงนี้ มีงานยุ่งกว่าปกติจากการทำรายงานเพื่อยื่นชำระทางด้านการเงินภายในสิ้นปี ดังนั้น การซื้อของออนไลน์บนเว็บไซต์จึงเป็นทางออก เพื่อที่จะเตรียมตัวสำหรับเทศกาลเต็ด (Tet) โดยเฉพาะในช่วงการรระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม เทศกาลเต็ดในปีนี้ ทางผู้ประกอบการค้าปลีกส่วนใหญ่ได้จัดโปรโมชั่นมากขึ้นและเตรียมสินค้าที่หลากหลาย ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล ทั้งนี้ Tiki ผู้ให้บริการ E-Commerce รายใหญ่ของเวียดนาม ได้เพิ่มปริมาณสินค้าขึ้น 30% โดยเน้นอาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทางโภชนากา นมและเครื่องเทศ เป็นต้น และคาดว่ายอดขายในช่วงเทศกาลดังกล่าว จะพุ่ง 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่าง Saigon Co.op, Big C และ Mega Market (MM) หันมาใช้เว็บไซต์และแอป เพื่อกระตุ้นการบริโภค นอกจากนี้ COVID-19 ยังสร้างโอกาสแก่ธุรกิจต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่ดิจิทัล รวมไปถึงการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-boosts-online-shopping-for-tet-316205.html

เมียนมาพร้อมเปิดตัวระบบค้าออนไลน์ TradeNet 2.0 มกราคมนี้

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยพร้อมใช้ระบบการค้าออนไลน์ TradeNet 2.0 ที่ปรับปรุงพร้อมใช้อย่างเต็มรูปแบบระหว่างการเปิดตัวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 63 ที่ผ่านมา เมื่อระบบถูกสมบูรณ์ผู้ค้าจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตการส่งออก / นำเข้าทางออนไลน์ได้ ระบบ e-licensing ที่ได้รับการปรับปรุงการสมัครเข้าไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกันและมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์วางแผนที่จะใช้ TradeNet 2.0 ด้วยเทคโนโลยีและเงินทุนที่จัดทำโดย หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) ขั้นตอนการดูแลระบบจะรวดเร็วมากและสามารถลดค่าใช้จ่ายเมื่อมีการย้ายทะเบียนการค้าและใบอนุญาตออนไลน์ภายใต้ระบบเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ผลิตและเกษตรกรส่งออกผลผลิตไปต่างประเทศได้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-launch-tradenet-20-system-january.html

เผยผลสำรวจพบนักช้อปชาวเวียดนามซื้อสินค้าออนไลน์พุ่ง ในปี 2563

“เอเซีย พลัส” บริษัทวิจัยตลาดเอเชียและอาเซียน เปิดเผยผลสำรวจของผู้บริโภคชาวเวียดนาม เรื่อง “ตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนาม ปี 2563” ทำการสำรวจเดือนต.ค. 2563 รวมทั้งสิ้น 700 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการซื้อสินค้าออนไลน์ เมื่อถามถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการซื้อสินค้าออนไลน์ พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้อยละ 59 ใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ ในขณะที่ร้อยละ 19 ใช้คอมพิวเตอร์ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากนักช้อปชาวเวียดนามอยู่บ้านมากขึ้นในช่วง COVID-19 ส่งผลให้การซื้ออาหารและเครื่องดื่มผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย รองลงมาแฟชั่น เครื่องสำอาง อุปกรณ์กีฬา หนังสือ โทรศัพท์มือถือและของใช้ภายในบ้าน ซึ่งล้วนแต่เป็นสินค้าที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตาม จำนวนเงินที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนใหญ่ร้อยละ 53 ใช้จ่ายต่ำกว่า 500,000 ด่องต่อเดือน (21.6 ดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่ร้อยละ 21 ใช้จ่าย 700,000-1 ล้าน ด่องต่อเดือน (30.3-43.2 ดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ สำหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ พบว่า ช้อปปี้ (Shopee) เป็นแพลตฟอร์ที่นักช้อปชาวเวียดนามร้อยละ 36 นิยมซื้อนิยมสินค้ามากที่สุด รองลงมาลาซาด้า (28%) และทิกิ (11%) โดยสาเหตุที่ช้อปปี้ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องมาจากราคาและความหลากหลายของสินค้าที่มีความเหมาะสม รวมถึงมีภาพลักษณ์ให้ความสนุกสนานในการจับจ่ายใช้สอย

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnamese-shoppers-increase-online-purchase-frequency-in-2020-survey-314726.html

“จุรินทร์” เดินหน้าช่วย SMEs ทำตลาด ผลักดันขายออนไลน์-ส่งออกต่างประเทศ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานเปิดงาน Smart SME Expo 2020 ว่า กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ที่มีอยู่ประมาณ 3 ล้านราย คิดเป็น 95% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ให้มีโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้นตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” โดยจะเข้าไปช่วยเหลือทางด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลักสูตรของกระทรวงพาณิชย์มีทั้งหลักสูตรพื้นฐาน หลักสูตรธรรมดา ปานกลาง และหลักสูตรเข้มข้น ที่จะอบรมให้เข้าใจจนลึกซึ้ง สุดท้ายจะค้าขายได้และส่งออกได้ และโอกาสการเข้าร่วมการจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศจะเปิดพื้นที่ 10-15% เป็นโอกาสให้ SMEsจัดแสดงสินค้าในตลาด CLMV และมาเลเซีย เปิดพื้นที่ให้ SMEs ในภาคต่างๆ ได้มีโอกาสมาแสดงสินค้าในงานของกระทรวงพาณิชย์  ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทำหน้าที่เซลส์แมนประเทศไปเจรจากับผู้นำเข้าในประเทศต่างๆ แล้วจับคู่ธุรกิจในประเทศไทยและลงนามสัญญาซื้อขาย ทำให้ส่งออกได้ นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ ได้ลงนาม MOU ร่วมกับหัวเว่ย ตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะช่วยนำเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งเทคโนโลยี 5G , IoT และระบบคลาวด์ มาพัฒนาภาคการผลิตและภาคการตลาดให้กับ SMEs ของไทย นอกจากนี้ ยังมีนโยบายผลักดันให้เด็ก GenZ เป็น CEO โดยจะช่วยให้มีความรู้ในการทำธุรกิจและการค้าขายออนไลน์ ตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะทำให้ได้ 12,000 คน โดยได้เริ่มต้นไปแล้วมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ 7 มหาวิทยาลัย จัดอบรมชุดแรกไปแล้ว 1,500 คน จะทำต่อไปในภาคอื่น เพื่อให้เป็นทัพหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศยุคโควิด-19 และหลังโควิด-19 ในอนาคต และกลุ่มนี้ถ้าไม่ไปทำสตาร์ทอัพ ก็ต้องมาทำ SMEs สุดท้ายก็จะมาเป็นกำลังสำคัญให้แก่ประเทศต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000112238

หนีโควิด พาณิชย์ลุยจัดงานแสดงอัญมณีฯ ผ่านออนไลน์แทน

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หนีโควิด เปลี่ยนแนวจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับออนไลน์แทน 2-4 พ.ย.นี้ ตั้งเป้าผู้ชม 50,000 ราย จับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 1,000 คู่  นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เตรียมจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับออนไลน์ บีจีเจเอฟ สเปเชียล เอดิชัน-ออน กราวด์ ทู ออนไลน์ เอ็กฮิบิชัน ระหว่างวันที่ 2-4 พ.ย.63 ผ่านทางเว็บไซต์ www.bkkgems-vts.com โดยถือเป็นงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับออนไลน์เต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตั้งเป้าหมายมีผู้เข้าชมแพลตฟอร์มไม่น้อยกว่า 50,000 ราย มีการจับคู่ธุรกิจทางออนไลน์ไม่น้อยกว่า 1,000 คู่ เกิดการซื้อขายออนไลน์ในช่วงการจัดงานไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้การจัดงานครั้งนี้ มีผู้ประกอบการไทยและต่างชาติร่วมแสดงสินค้ามากกว่า 600 บริษัท เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้นำเข้าชมสินค้าผ่านทางออนไลน์ รวมถึงจัดให้มีการเจรจาธุรกิจเสมือนจริง ผ่านไลฟ์แชต หรือวิดีโอคอล ในระบบที่มีความปลอดภัยสูง และสามารถนัดหมายเจรจาการค้าล่วงหน้าได้   นอกจากนี้ ยังเปิดตัวโครงการในรูปแบบออนไลน์ทาง www.bkkgems-vts.com ในวันที่ 2 พ.ย.63 การสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้แนวโน้มตลาด รับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญระดับโลก พร้อมสร้างเครือข่ายธุรกิจ “กรมฯมั่นใจว่า การจัดงานครั้งนี้ จะช่วยตอกย้ำภาพลักษณ์ของไทยในฐานะเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก รวมทั้งช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมีช่องทางจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น แม้จะอยู่ในช่วงโควิดระบาด ส่วนงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ บางกอก เจมส์ ครั้งที่ 66 กรมยังเดินหน้าจัดเช่นเดิม แต่เลื่อนไปจัดวันที่ 23-27 ก.พ.64 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี”

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/803308

ค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนบูม

จากการเสนา “CLMV Cross-Border Digital Trade” โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่าในปัจจุบันตลาดซื้อขายออนไลน์ของไทยโตขึ้นปีละ 30% มูลค่ากว่า 2 แสนล้านต่อปี เป็นรูปแบบ business-to-consumer (B2C) การขายสินค้าไปยังผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดเด่นของธุรกิจในลักษณะนี้ โดยผู้ประกอบการ SMEs และกลุ่ม Startup ต้องเน้นเจาะตลาดกลุ่มพฤติกรรมที่ชื่นชอบผ่าน 3 ชองทางที่มาแรง ได้แก่ ผ่านโซเชียล (50%) ,e-Market place (30%), Online Platform (20%) โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ กลุ่มแฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ขณะที่ตลาด CLMV ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาระบบ ซึ่งตลาดรวมยังน้อยกว่าไทย ส่วนใหญ่ธุรกิจที่ไปลงทุนเป็นโซเลียลมีเดีย โดยปัจจุบันตลาดอินโดนีเซียน่าสนใจไม่แพ้เวียดนาม เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ ทั้งนี้ นโยบายปั้นสตาร์อัพที่ภาครัฐผลักดันถือว่ามาถูกทาง แต่ควรมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง และผู้ประกอบการต้องสร้างอัตลักษณ์ตัวตนให้ชัดเจน สิ่งสำคัญ คือรัฐ และเอกชนต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 15-18 ส.ค. 2562