“เวียดนาม” เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 6 เดือนแรกปี 66 ขยายตัว 0.44%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (IIP) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ขยายตัวเพียง 0.44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อลดลง อุปสงค์จากต่างประเทศที่น้อยลง และต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ สำนักงานฯ ยังแสดงข้อมูลให้เห็นว่ามีสาขาการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี ได้แก่ ถ่านหินและปิโตรเลียม (13.2%), แร่โลหะ (11.5%), ยางพาราและพลาสติก (7.2%), บุหรี่ (6.7%) และเครื่องดื่ม (5.7%) ในขณะที่สาขาการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ (7.7%), กระดาษและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากกระดาษ (7.5%), เสื้อผ้าและยานยนต์ (6.8%)

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้ขอความร่วมมือกับหน่วยท้องถิ่นและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ดำเนินโครงการ การวางแผนกลยุทธ์และแผนการในการพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนแก้ไขปัญหากับอุปสรรคที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา : https://en.nhandan.vn/index-of-industrial-production-up-044-in-six-months-post127057.html

เกษตรกรเมียนมาหันไปใช้ปุ๋ยธรรมชาติกันมากขึ้น เพราะปุ๋ยเคมีราคาพุ่งสูง

นาย โก คินวัน ผู้ค้าปุ๋ยเคมีในเมืองตาน-ลยีน ของย่างกุ้ง ได้ให้ข้อมูลว่า การซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกรในท้องถิ่นลดลงเนื่องจากได้หันไปใช้ปุ๋ยธรรมชาติกันมากขึ้นเพราะปุ๋ยเคมีมีราคาสูง ตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 14 ตุลาคม 2565 มีการนำเข้าปุ๋ยกว่า 40,000 ตัน มูลค่า 24.726 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากโอมาน จีน เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม และมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าปุ๋ยมากกว่า 1,000 ตัน มูลค่า 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากชายแดน โดยนำเข้าจากจีน 600 ตัน อินเดีย 20 ตัน และไทย 400 ตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/fertilizer-pesticide-prices-slightly-decrease-as-cold-market/#article-title

พาณิชย์ชี้ดีเซลกระทบต้นทุนน้อย สั่งตรึงราคาสินค้า ขอผู้ผลิตให้ความร่วมมือ

กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในวิเคราะห์“น้ำมันดีเซล”กระทบต้นทุนการผลิตสินค้า พบปรับเพิ่มขึ้นไม่มาก อาหาร เครื่องดื่มแค่ 1.45% ของใช้ประจำวัน 1.1% วัสดุก่อสร้าง 1.2% ปัจจัยเกษตร 0.5% ห้ามร้านค้าอ้างเหตุผลปรับขึ้นราคา ขอความร่วมมือผู้ผลิตให้ตรึงราคาไปก่อน ยันไม่มีนโยบายให้ปรับขึ้นราคาช่วงนี้ พร้อมเชิญ ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมการค้า ผู้ผลิตสินค้า ผู้ประกอบการ มาหารือ ติดตามสถานการณ์ เผยเตรียมจัดโครงการลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชน นอกจากนี้กรมฯ ยังมีแผนจะประสานงานไปยังซับพลายเออร์ เพื่อให้จัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภคต้นทุนถูกเช่นของใช้ส่วนบุคคล สบู่ แชมพู ยาสระผม ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เป็นต้น ให้กับร้านค้าธงฟ้าที่มีอยู่1.3แสนราย เพื่อจำหน่ายต่อให้กับผู้บริโภค รวมทั้งพิจารณาจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูก เพื่อแทรกแซงตลาดตามความจำเป็น

ที่มา: https://www.naewna.com/business/635517

ราคาหัวหอมช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง ร่วงหนัก !

แม้ว่าฤดูเพาะปลูกต้นหอมในช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง  เขตมัณฑะเลย์ ราคามีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ เกษตรกรยังจำเป็นต้องขายในราคาปกติเพื่อไม่ให้ขาดทุน ทั้งนี้เกษตรกรและผู้ค้าหัวหอมได้รับผลกระทบจากตลาดเนื่องจากขาดความต้องการจากต่างประเทศและสถานการณ์การแพร่ระบาดของของ COVID-19 และยังเผชิญกับต้นทุนการปลูกที่สูงขึ้นถึง 2 ล้านจัตต่อเอเคอร์ ปัจจุบันมีราคาเพียง 300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ดังนั้นเกษตรกรจึงดิ้นรนหาทุนสำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลหน้า ในช่วงต้นปี 2563 หัวหอมราคาอยู่ที่ 1,200-1,300 จัตต่อ viss และความต้องการที่สูงขึ้นของตลาดต่างประเทศส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทำให้มีการขยายการเพาะปลูก แต่หลังจากนั้นราคาดิ่งลงอย่างมากในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ตลาดการส่งออกหลัก คือ บังคลาเทศและอินเดีย โดยหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-in-bear-market-even-when-winter-growing-season-starts/#article-title

ภาคปศุสัตว์เมียนมา อ่วม! ต้นทุนการผลิตพุ่ง

สหพันธ์ปศุสัตว์เมียนมา (MLF) ระบุ ภาคปศุสัตว์ของเมียนมาประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง รวมถึงต้นทุนอาหารสัตว์ น้ำมันเชื้อเพลิงและค่าขนส่งที่พุ่งขึ้น อีกทั้งปัญหาการนำเข้าเนื้อสัตว์แช่แข็งอย่างผิดกฎหมาย ค่าเงินจัตต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัว รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้ผลผลิตไก่ไข่และไก่เนื้อในปีนี้ลดลง การผลิตสินค้าปศุสัตว์และสัตว์ปีกในเมียนมาโตขึ้น 10-15% ต่อปี ส่วนใหญ่ใช้วิธีการแบบดั้งเดิมและบางส่วนได้เปลี่ยนไปใช้วิธีการสมัยใหม่ ซึ่งบางครั้งการเลี้ยงสัตว์ปีกและการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานยังพบเห็นได้ทั่วไปในเมียนมา นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นยังเผชิญกับแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุน เช่น  จีน ไทย และอินเดีย นั่นคือเหตุผลที่ต้องปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ท้องถิ่นใหม่ เพื่อตอบรับการลงทุนในการเลี้ยงสัตว์ปีกของนักลงทุนต่างชาติ
ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-sector-struggling-with-high-input-cost/

เวียดนามเผยราคาอาหารพุ่ง ส่งสัญญาภาวะเงินเฟ้อ

นาย Ðỗ Văn Khuôl ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหาบริษัทไซ่ง่อน ฟู้ด กล่าวว่าต้นทุนของปัจจัยการผลิตทั้งมาจากในประเทศและต่างประเทศ ล้วนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงข้าวและอาหารทะเลที่มีผลผลิตลดลง และอีกปัจจัยหนึ่ง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าและราคาสูงขึ้นราว 10-25% ในไตรมาสที่ 3-4 ปีนี้ ทั้งนี้ นาย Nguyễn Anh Đứ ผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัทไซ่ง่อน คอร์ป กล่าวว่าในเดือนเมษายน ซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่แจ้งว่ามีแผนที่จะปรับราคาในเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะน้ำมันสำหรับทำอาหาร นมและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ทางกระทรวงการคลัง ระบุว่าจะดำเนินติดตามราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นและยังเสนอแนวทางแก้ไข เพื่อรักษาเสถียรภาพของอุปสงค์และอุปทานของตลาด หากจำเป็น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/950553/foodstuff-prices-rise-pose-inflation-threat.html