“เมียนมา” เผยตลาดถั่วเขียวนิ่ง เหตุจากอุปสงค์ทั่วโลกซบเซา

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง เปิดเผยว่าราคาถั่วเขียว (Green Gram) ตกต่ำลงมาก ตามความต้องการจากตลาดต่างประเทศที่อ่อนแอลง โดยราคาถั่วเขียวของภาคกลาง แตะระดับสูงสุดที่ 2.092 ล้านจ๊าตต่อตันในช่วงกลางเดือน พ.ค. อย่างไรก็ตาม ราคาถั่วเขียวในปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ 1.765 ล้านจ๊าตต่อตัน แสดงให้เห็นว่าราคาถั่วเขียวลดลงราว 300,000 จ๊าตต่อตัน เพียงแค่ 1 เดือนครึ่ง ทั้งนี้ ในเดือน พ.ค. จีนเริ่มมีการดำเนินนโยบายภาษี ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อตลาดถั่วเขียวและทำให้ราคาถั่วเขียวปรับตัวลดลง นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าเมียนมาเตรียมความพร้อมที่จะส่งออกถั่วเขียวไปยังสหภาพยุโรปในปีนี้ ซึ่งจะทำให้เมียนมามีส่วนแบ่งทางการตลาดที่แข็งแกร่งมากขึ้นในตลาดโลก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/green-gram-market-calms-down-on-sluggish-global-demand/#article-title

“อินเดีย” เมิน นำเข้าถั่วเขียวจากตลาดเมียนมา

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย อินเดียจำกัดการนำเข้าถั่วเขียวจากเมียนมา คาดจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อตลาดเมียนมา โดยอินเดียเป็นผู้นำเข้าถั่วดำและถั่วแระของเมียนมารายใหญ่ แต่การนำเข้าถั่วเขียวคิดเป็นสัดส่วนเพียง 12% อินเดียจำกัดการนำเข้าเพื่อป้องกันราคาและผลผลิตช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของอินเดียและการแทรกแซงราคาที่จะไม่ต่ำไปกว่าราคาขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้ แม้จะปิดด่านชายแดนแต่ถั่วเขียวส่วนใหญ่ถูกส่งออกทางทะเลไปยังจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป ซึ่งการจำกัดการนำเข้าของอินเดียนี้จะมีผลตั้งแต่หลังวันที่ 11 ก.พ.2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาพร้อมที่จะเจรจากับคู่ค้าอินเดียผ่านรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ สมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยามที่จะค้นหาและเจาะตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้นรวมทั้งตลาดใหม่ๆ ในสหภาพยุโรป เพราะได้ราคาได้ดีกว่า ส่วนด้านผลผลิต เมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกเมล็ดถั่วและถั่วพัลส์ต่างๆ ประมาณ 9.9 ล้านเอเคอร์ มีผลผลิตที่ได้ต่อปีอยู่ที่ 4.1 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วเขียวประมาณ 700,000 ตันไปยัง 64 ประเทศ ซึ่งระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 4 ก.พ. 2565 มีการส่งออกถั่วเขียวไปแล้วจำนวน 147,326 ตัน ในจำนวนนี้ 18,842 ตันถูกส่งไปยังอินเดีย โดยราคาในปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,900-2,350 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/indias-policy-changes-indifferent-to-myanmar-green-gram-market/

ปลูกถั่วเขียวช่วงหน้าร้อน สร้างกำไรงามให้เกษตรกรเมืองญองอู้

เกษตรกรเมืองญองอู้ เขตมัณฑะเลย์ กำลังเร่งการปลูกถั่วเขียวในช่วงฤดูร้อนโดยการใช้น้ำบาดาลและใกล้เข้าสู่การเก็บเกี่ยวคาดผลผลิตราคาพุ่ง 39,000 จัตต่อตะกร้า ซึ่งเกษตรกรจะเริ่มหว่านเมล็ดในเดือนมีนาคมโดยการใช้น้ำบาดาล หลังจากนั้นสองเดือนก็เริ่มให้ผลผลิตสามารถนำไปขายได้ ในการเก็บเกี่ยวแต่ละเอเคอร์ต้องการคนงานประมาณ 20 คน ค่าแรงต่อหัวอยู่ที่ 3,000 จัตต่อวัน ถั่วเขียวที่เก็บเกี่ยวจะนำไปตากแดดให้แห้งก่อนที่จะขายให้กับผู้ที่มารับซื้อ ถั่วเขียวแต่ละตะกร้าที่ขายจะมีน้ำหนัก 19 visses ราคาอยู่ที่ 39,000 จัต ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/summer-green-gram-growing-using-underground-water-gets-good-price/#article-title

ฤดูร้อนเกษตรกรเมืองยอง อู ปลูกถั่วเขียวได้ราคาถึง 40,000 จัตต่อตะกร้า

ในฤดูร้อนเกษตรกรจากเขตเมืองยอง อู ประสบผลสำเร็จในการปลูกถั่วเขียวบนพื้นที่กว่า 300 เอเคอร์โดยใช้น้ำจากแม่น้ำ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตและจำหน่ายได้ราคาสูงถึง 42,000 จัตต่อตะกร้า ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในกว่าปีที่แล้ว โดยจะเริ่มหว่านในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากปลูกได้ 45 ถั่วเขียวก็เริ่มแตกหน่อและออกดอก หลังจากนั้นสองเดือนก็จะนำผลผลิตไปขายที่นายหน้าที่มารับซื้อ ซึ่งแต่ละเอเคอร์สามารถให้ผลิตตะกร้าได้ถึง 20 ตะกร้า สำหรับต้นทุนการเพาะปลูกจะอยู่ที่ 3,000 จัตต่อเอเคอร์ ในทางตรงกันข้ามการปลูกข้าวในช่วงฤดูร้อนมีต้นทุนสูงถึง 9,000 จัตต่อเอเคอร์ ณ ตอนนี้ราคาถั่วเขียวอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตะกร้าในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นช่วงที่ทำกำไรให้กับเกษตรกร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-summer-green-gram-succeeds-selling-for-k40000-per-basket/

เกษตรกรเมืองมี่นบู้ ปลื้ม ผลผลิต-ราคาถั่วเขียวเพิ่มขึ้น

เกษตรกรหมู่บ้าน U Yin Zin เมืองมี่นบู้ในเขตมะกเวพอใจกับผลผลิตถั่วเขียวที่เพิ่มสูงขึ้นและได้ราคาดีในตลาดท้องถิ่น บางส่วนเพาะปลูกหลังเผชิญกับมรสุมในช่วงเพาะปลูกข้าว และบางรายยังเพาะปลูกด้วยระบบน้ำชลประทาน ซึ่งในปีนี้ราคาลดลงเล็กน้อยจาก 41,000 จัตต่อตะกร้าเหลือ 38,000 จัตต่อตะกร้า ตามที่เกษตรกรในท้องถิ่นกล่าวว่ากรัมสีเขียวให้ผลผลิตอย่างมากมายและมีราคายุติธรรม ก่อนหน้านี้ผลผลิตถั่วเขียวในเมียนมาต่อปีมีเพียง 300,000 ตัน ต่อมามีการปลูกเพิ่มมากกว่า 600,000 ตัน นอกจากนี้การส่งออกส่วนใหญ่จะเน้นไปที่จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/farmers-enjoy-high-yield-of-green-gram/#article-title

Covid-19 ไม่มีผลกระทบต่อตลาดส่งออกถั่วเขียวของเมียนมา

ผลกระทบจาก Covid-19 ในตลาดส่งออกถั่วเขียวยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เมียนมายังคงส่งออกถั่วไปยังบางประเทศในยุโรป ยังคงมีการส่งออกถั่วดำไปตลาดอินเดีย ถั่วเขียวไปยังตลาดจีนและบางประเทศในยุโรป กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ปัจจุบันสภาพดังกล่าวเป็นประโยชน์สำหรับทั้งเกษตรกรและพ่อค้า ตั้งแต่วิกฤติปี 2560 เมียนมามีตลาดใหม่ในสหภาพยุโรปญี่ปุ่นและจีน คาดว่าจะไม่มีปัญหาการส่งออกถั่วในอีกหนึ่งหรือสองปีข้างหน้า เนื่องจากตลาดในประเทศจีนและสหภาพยุโรปมีอัตราการเติบโตอย่างมากในช่วงปลายปี 2561 ราคาของถั่วเขียวคุณภาพต่ำมีราคามากกว่า 1.1 ล้านจัตต่อตัน ราคาของถัวเขียวคุณภาพส่งออกอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านจัตต่อตัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/no-significant-impacts-on-green-gram-export-market