‘เมียนมา’ เผยราคาถั่วแระพุ่ง 1.7 ล้านจ๊าตต่อตัน

จากข้อมูลในวันที่ 19 ส.ค. เปิดเผยว่าราคาถั่วแระหรือถั่วแฮะ (Pigeon Pea) เพิ่มขึ้นราว 1.7 ล้านจ๊าตต่อตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และมีถั่วแระเพียง 25,000 ตันที่อยู่ในสต๊อกคลังสินค้า ในขณะที่จากการคาดการณ์ของอุตสาหกรรมถั่วพัลส์ของอินเดีย ระบุว่าความต้องการสินค้าของอินเดียเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้เพาะปลูกถั่วเมียนมาทำการขยายพื้นที่เพาะปลูกในปีนี้ โดยคาดว่าผลผลิตจะอยู่ที่ราว 250,000-300,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-up-by-k1-7-mln-per-tonne-on-19-aug/

‘เมียนมา’ เผยราคาถั่วดำและถั่วพีเจียนดิ่งลงฮวบ เหตุความต้องการตลาดโลก

ตามข้อมูล ณ วันที่ 1 ก.ค. ของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา (Bayintnaung Commodity Centre) เปิดเผยว่าราคาถั่วเขียวผิวดำ (Black Grams) และราคาถั่วแระ (Pigeon Pea) อยู่ที่ระดับสูงสุด 3.2 ล้านจ๊าดต่อตัน และ 2.3 ล้านจ๊าดต่อตัน ต่อมาราคาถั่วแระและราคาถั่วเขียวผิวดำ ลดลงมาอยู่ที่ 2.97 ล้านจ๊าดต่อตัน และ 2.24 ล้านจ๊าดต่อตันในวันที่ 21 ก.ค. ทั้งนี้ ความต้องการของอินเดียมีความสัมพันธ์อย่างมากกับทิศทางของราคาถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเมียนมา เนื่องจากเป็นผู้ซื้อรายสำคัญของประเทศ อีกทั้ง อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากเมียนมาและอินเดียได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2564 ส่งผลให้อินเดียนำเข้าถั่วเขียวผิวดำ 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน เป็นระยะเวลา 5 ปีติดต่อกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/black-gram-pigeon-pea-prices-plunge-tracking-weak-foreign-demand/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาถั่วแระ ต่ำกว่า 3 ล้านจ๊าดต่อตัน

หอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง รายงานว่าถั่วแระ (Pigeon Pea) ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 3 ล้านจ๊าดต่อตัน ขณะที่จากข้อมูลในวันที่ 5 มิ.ย. ราคาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.33 ล้านจ๊าดต่อตัน จากนั้นในวันที่ 27 มิ.ย. ราคาตกต่ำอย่างมากอยู่ที่ 2.94 ล้านจ๊าดต่อตัน โดยตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าถั่วแระลดลงราว 390,000 จ๊าดต่อตันในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับราคาถั่วเขียวผิวดำและถั่วพัลส์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-plunges-down-to-below-k3-mln-per-tonne/#article-title

เดือน ก.ค.65 ราคาถั่วแระตลาดย่างกุ้งพุ่งสูง

สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก.ค. 2565 ราคาของถั่วแระ (red gram) ในตลาดย่างกุ้ง พุ่งแตะ 1.485 ล้านจัตต่อตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 5,000 จัตต่อตันเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอินเดียผู้นำเข้าหลักลดพื้นที่การเพาะปลูกและความผันผวนของค่าเงินจัต ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันถั่วแระส่งออกไปยังอินเดียเป็นหลัก และยังส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซียด้วย โดยภาคเกษตรกรรมของเมียนมาเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจของประเทศ คิดเป็น 30% ของจีดีพีของประเทศ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเปลือก ข้าวโพด ฝ้าย อ้อย ถั่วต่างๆ และถั่วต่างๆ โดยถั่วคิดเป็น 33% ของสินค้าทางการเกษตรทั้งหมด ทั้งนี้ จากข้อมูลการค้าของกระทรวงพาณิชย์ เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 22 ก.ค.2565 ในปีงบประมาณ (2565-2566) เมียนมาส่งออกถั่วแระ มากกว่า 8,200 ตัน สร้างรายได้เข้าประเทศถึง 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-prices-remain-on-high-side-in-last-week-of-july/

ราคาถั่วแระมีแนวโน้มลดลงสวนทางกับราคาถั่วดำที่ราคาพุ่งขึ้น

ราคาถั่วแระและถั่วดำในตลาดย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมาราคาถั่วดำ อยู่ที่ 1,610,000 จัตต่อตันขณะที่ถั่วแระอยู่ที่ 1,410,000 จัตต่อตัน ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2565 ราคาถั่วดำพุ่งขึ้นเป็น 1,615,000 จัตต่อตันในขณะถั่วแระราคาลดลง 1,391,000 จัตต่อตัน ทำให้ราคาถั่วดำเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาถั่วแระที่ลดลง ซึ่งถั่วทั้ง 2 ชนิดส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย ในช่วงฤดูมรสุมของปี 2565 อินเดียได้หันปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลผลิตสูงแทนพืชตระกูลถั่ว เช่น อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ผู้ค้าถั่วชาวเมียนมา คาดว่าฤดูมรสุมนี้ผลผลิตถั่วของเมียนมาจะลดลง 5- 15% จะส่งผลให้ราคาถั่วแระเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-gets-downward-trends-than-black-grams/#article-title

อินเดียยืดเวลานำเข้าถั่วแระเมียนมา หนุนราคาพุ่งเป็น 2 เท่า !

ผู้ค้าในถั่วมัณฑะเลย์ เผย ราคาของถั่วแระเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาหลังจากข่าวการขยายเวลาการนำเข้าของอินเดียแพร่กระจายออกไป ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของเดือนมีนาคม ราคาถั่วแระอยู่ที่ 6,800 จัตต่อ 3 ถุงตะกร้า หลังจากข่าวยืดเวลาการนำเข้า ราคาพุ่งขึ้นเป็น 135,000 จัตต่อถุง โดยอินเดียขยายระยะเวลาการนำเข้าจากเดือนตุลาคมเป็นธันวาคม 64 นอกจากนี้ ยังมีผลมาจากค่าเงินจัตที่อ่อนค่าและความต้องการที่ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรพอใจกับราคาที่เพิ่มขึ้น โดยตลาดถั่วแระเมียนมาอาศัยอินเดียเป็นหลัก การปลูกถั่วแระส่วนใหญ่มักพบในตอนบนของภูมิภาค เช่น มะกเว มัณฑะเลย์ และซะไกง์ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้สภาพอากาศต้องเอื้ออำนวยจะทำให้ถั่วแระเติบโตและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-prices-double-on-extension-of-import-validity-period-by-india/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_B7qlq6wvmcQXIk4pOwFeaKVO9EufyEzJ3z4KoOpIf7o-1632320088-0-gqNtZGzNA5CjcnBszTAl#article-title

ราคาส่งออกถั่วแระเมียนมา มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น

เมื่อปลายเดือนส.ค.64 ราคาถั่วแระ เพิ่มขึ้นกว่า 1,320,000 จัตต่อตัน พุ่งจากช่วงเดือนเม.ย.64 ที่ราคา 1,000,000 จัตต่อตัน ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นอินเดีย และมีบางส่วนส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 ถึง 13 ส.ค. 64 ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วแระคิดเป็น 183,507 ตัน สร้างรายได้ 122.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมาอินเดียกำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ เมียนมาสามารถส่งออกถั่วดำ (urad) จำนวน 250,000 ตันและถั่วแระจำนวน 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G-to-G (รัฐบาลต่อรัฐบาล) ในปีงบประมาณ 64-65 และปี 68-69 ตาม MoU สองประเทศที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 64 ขณะที่ผลผลิตถั่วดำของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 400,000 ตันต่อปีและถั่วแระ 50,000 ตันต่อปี ทั้งนี้เมียนมาส่งถั่วพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 1.6 ล้านตัน โดยเฉพาะถั่วดำ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังต่างประเทศ โดยในปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกไปแล้วกว่า 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-remains-on-upward-trend/

9 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วแระไปแล้วกว่า 136,000 ตัน

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 26 มิ.ย.2564 เมียนมาส่งออกถั่วแระกว่า 136,632 ตันในปีงบประมาณปัจจุบัน 2563-2564 สร้างรายได้เข้าประเทศ 91.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถั่วแระส่วนใหญ่จัดส่งไปยังอินเดียซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ จะมีส่งออกไปสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซียด้วย แต่มีปริมาณไม่มากนัก เมียนมาส่งออกถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G to G (รัฐถึงรัฐ) ในปีงบประมาณ 2564-2565 และปีงบประมาณ 2568-2569 ทั้งนี้การค้าแบบ G-to-G ได้เริ่มต้นในปี 2559 และทั้งสองประเทศได้ลงนาม MoU เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2560-2561 เมียนมาส่งออกส่งถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียวเขียวกว่าล้านตันไปยังตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม รายได้ขึ้นทะเบียนเพียง 713 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาลดลง ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วชนิดต่างๆ กว่า 1.6 ล้านตัน สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-136000-tonnes-of-pigeon-peas-as-of-25-june/