‘ธนาคารกลางเวียดนาม’ ยืนยันไม่ลดดอกเบี้ยในปีนี้

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบของธนาคารมีสภาพคล่องและรักษาผลประโยชน์ของผู้ฝากเงิน โดยธนาคารกลางไม่ได้เตรียมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้และเฝ้าติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะใช้มาตรการที่เหมาะสมในการจัดการ ทั้งนี้ นายด่าวมีงตือ (Dao Minh Tu) รองผู้ว่าการธนาคารชาติกล่าวถึงประเด็นสินเชื่อ พบว่า ณ วันที่ 7 ต.ค. สินเชื่อของธนาคารเพิ่มขึ้น 7.42% ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/sbv-says-no-to-more-rate-cuts-this-year/

แบงก์ชาติเวียดนามตั้งเป้าสินเชื่อ 12% ในปี 64

ในปี 2564 ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อไว้ที่ 12% ใกล้เคียงกับระดับเดียวกันของปีที่แล้วที่ 11-12% สิ่งนี้เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในปี 2564 ที่กำหนดไว้ในหนังสือเวียนฉบับ No.01/CT-NHNN โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ แบงก์ชาติเวียดนาม คาดว่าจะยังคงควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่า 4% เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในขณะที่ ภาคธนาคารมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพสินเชื่อ รวมถึงช่วยเหลือธุรกิจและผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติเวียดนาม ได้เน้นถึงความสำคัญในเรื่องการปรับโครงสร้างสถาบันสินเชื่อ โดยเฉพาะระบบธนาคารที่อ่อนแอ และแก้ไขปัญหาหนี้เสีย นอกจากนี้ เมื่อปี 2563 แบงก์ชาติเวียดนามได้หั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ครั้งที่ 4 เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-cbank-targets-credit-growth-at-12-in-2021-315835.html

เวียดนามเผยการเติบโตของสินเชื่อ 10.14%

ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อ ณ วันที่ 21 ธันวาคม อยู่ที่ร้อยละ 10.14 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นายดาว มินห์ ทู รองผู้ว่าการธนาคารกลางเวียดนาม เปิดเผยการเติบโตของสินเชื่อเวียดนาม แตะร้อยละ 13 ขณะที่ ธนาคารกลางตั้งเป้าการเติบโตไว้ที่ร้อยละ 14 ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีนี้ ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย นับเป็นครั้งที่ 4 ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ โดยเมื่อวันที่ 30 กันยายน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ลงมากถึงร้อยละ 0.5 เป็นต้น ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ลงจากร้อยละ 4.5 ต่อปี สู่ระดับร้อยละ 4, ปรับอัตราดอกเบี้ย rediscount rate ลงจากร้อยละ 3 สู่ระดับร้อยละ 2.5, อัตราดอกเบี้ยข้ามคืน ลงจากร้อยละ 5.5 สู่ระดับร้อยละ 5 และอัตราดอกเบี้ยผ่าน OMO ลงจากร้อยละ 3 สู่ระดับร้อยละ 2.5 นอกจากนี้ สถาบันสินเชื่อได้ปรับโครงสร้างการชำระหนี้ให้กับลูกค้ากว่า 270,000 รายที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 15.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-credit-growth-hits-1014-as-of-december-21-315538.html

ค่าเงินด่องของเวียดนามมีแนวโน้มเสถียรภาพ

จากรายงานของฟิทช์ โซลูชันส์ (Fitch Solutions) ระบุว่าในระยะสั้น ทางธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) คาดว่ายังคงรักษาเสถียรภาพของค่าเงินด่องได้ เนื่องจากต้องควบคุมระดับของความสามารถทางการแข่งขันด้านการส่งออก ด้วยเหตุนี้  ฟิทช์ โซลูชันส์ปรับค่าเงินด่องเวียดนามเฉลี่ยที่ 23,250 ด่อง/ดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 และมาอยู่ในระดับที่ 23,400 ด่อง/ดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 ขณะที่ ค่าเงินด่องยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่เดือนก.ค. ทั้งนี้ คาดว่าการเกินดุลการค้าของเวียดนามยังคงต่อเนื่อง เนื่องจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำและการส่งออกยังได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ที่ช่วยกระตุ้นการส่งออกของประเทศ ในขณะที่ การไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ ทุนสำรองระหว่างประเทศในเดือนก.ค. อยู่ที่ 84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทางธนาคาร SBV มองว่ายังสามารถรักษาระดับของค่าเงินด่องในไม่กี่เดือนข้างหน้า และมีแนวโน้มว่าจำเป็นต้องซื้อเงินสำรองต่างประเทศมากขึ้น เพื่อที่จะให้ค่าเงินด่องกลับมาอ่อนค่าลง

ที่มา : http://hanoitimes.vn/stable-outlook-expected-for-vietnamese-dong-314500.html