การระบาดของโรคอหิวาต์สุกรส่งผลให้การเลี้ยงสุกรของเมียนมาลดลงในปีนี้

เจ้าของฟาร์มสุกรในเมืองยาเมธิน กล่าวว่า เนื่องจากเกิดไข้หวัดหมูระบาดตั้งแต่ในช่วงฤดูแล้งของปีที่แล้ว ส่งผลให้จำนวนผู้เลี้ยงสุกรลดลงในปีนี้ แต่การบริโภคเนื้อหมูยังคงเท่าเดิม ส่งผลให้ราคาเนื้อหมูในตลาดจึงสูง อย่างไรก็ดีในการเลี้ยงหมูอ่อนของเมียนมามีทั้งการเลี้ยงหมูพื้นเมืองและหมูซีพี ซึ่งขณะนี้แม้ว่าเกษตรกรบางรายหยุดทำฟาร์มสุกรไปเนื่องจากผลกระทบของโรคระบาดเมื่อปีก่อน แต่ก็มีความต้องการที่จะทำฟาร์มต่อ นอกจากนี้ ราคาสุกรมีชีวิตอยู่ในเกณฑ์ที่ดีระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม รวมทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่ในตลาดปัจจุบันยังมีความต้องการให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของเมียนมาพัฒนามากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/last-years-swine-fever-leads-to-decline-in-pig-farming-this-year/#article-title

ฟาร์มเพาะพันธุ์ปศุสัตว์ใน 9 รัฐและภูมิภาคจะได้รับเงินกู้ 12 พันล้านจ๊าด เริ่มเดือนมิถุนายน

ตามที่กรมเพาะพันธุ์ปศุสัตว์และสัตวแพทย์เมืองเนปิดอว์ ระบุว่า จะมีการกู้ยืมเงิน 12,000 ล้านจ๊าด ให้กับฟาร์มเพาะพันธุ์ปศุสัตว์ใน 9 รัฐและภูมิภาค รวมถึงกรุงเนปิดอว์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ทั้งนี้ เขตสภาเนปิดอว์ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค อิรวดี มะเกว ตะนาวศรี รัฐฉาน และรัฐมอญ กำลังวางแผนที่จะให้กู้ยืมเงินสำหรับการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม การเลี้ยงไก่ไข่ และการเพาะพันธุ์แกะและแพะตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป โดยเงินกู้ดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งรัฐ และจะมีการเสนอในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยมีการวางแผนการให้กู้ยืมแบบพิเศษสำหรับธุรกิจฟาร์มโคนม มีระยะเวลากู้ยืมสำหรับธุรกิจฟาร์มโคนมกำหนดไว้ที่ 3 ปี ในขณะที่ระยะเวลากู้ยืมสำหรับธุรกิจโคเนื้อ ฟาร์มไก่ไข่ และธุรกิจฟาร์มแกะและแพะกำหนดไว้ที่ 2 ปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/livestock-breeding-farms-in-9-states-and-regions-to-get-k12-billion-loans-starting-june/

เมียนมา-ไทยหารือการพัฒนาการเกษตรและการผลิตปศุสัตว์

วานนี้ 11 พ.ค. 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานแห่งสหภาพเมียนมา อู มิน น่อง เข้าพบ นายมงคล วิศิษฏ์สตัมภ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำเมียนมา และคณะ ณ ห้องประชุมกระทรวง ในการประชุมหารือการอนุญาตให้ผู้ประกอบการเอกชนของไทยลงทุนในการผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ตามกฎหมาย การขยายพันธุ์โคนมและการผลิตผลิตภัณฑ์จากนมเพื่อดึงดูดโอกาสการลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมา การส่งออกถั่วและถั่วชนิดต่างๆ จากเมียนมา การจัดตั้งเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยสำหรับโคในประเทศเมียนมา การดำเนินการเขตควบคุมโรคในสัตว์ นโยบายในการส่งออกสัตว์ข้ามพรมแดน ข้อกำหนดสำหรับการพัฒนาบันทึกความเข้าใจสำหรับการส่งออกโค ความร่วมมือในการอนุรักษ์ปลาดุกหัวสั้น กระบวนการเพื่อการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืนที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และความร่วมมือในการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์ของทั้งสองประเทศ โดยมีปลัดกระทรวงและเจ้าหน้าที่กรมกระทรวงร่วมประชุมด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-discuss-developing-agriculture-and-livestock-production/#article-title

ก.สาธารณสุข สปป.ลาว สั่งเฝ้าระวังหลังพบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ 54 ราย ในแขวงจำปาสัก

กระทรวงสาธารณสุข สปป.ลาว ออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศเฝ้าระวังภายหลังมีรายงานผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ 54 ราย ใน 2 เมืองของแขวงจำปาสัก โดยสั่งให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการติดตามแหล่งที่มาของการติดเชื้อ รวบรวมข้อมูลที่จำเป็น กักกันพื้นที่เสี่ยงและกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ ทั้งนี้ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงจะถูกแบ่งออกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคแอนแทรกซ์ และโรงฆ่าสัตว์บางแห่งจะถูกห้ามฆ่าวัวและควาย กรมควบคุมโรคติดต่อแนะนำเจ้าของสัตว์ควรเฝ้าระวังอาการโรคแอนแทรกซ์ในสัตว์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนจับตาดูสัตว์เลี้ยงของตนอย่างใกล้ชิดเพื่อดูสัญญาณของการเจ็บป่วย และรายงานกรณีที่น่าสงสัยให้สัตวแพทย์ประจำหมู่บ้านทราบทันที กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ในเมืองสุขุมา แขวงจำปาสัก ที่ได้รับผลกระทบ ติดตามการฆ่าสัตว์และการบริโภคเนื้อสัตว์ในพื้นที่ที่เกิดการติดเชื้อ รวมถึงมอบหมายให้ฆ่าเชื้อทุกพื้นที่ที่ตรวจพบผู้ป่วย เพื่อป้องกันการระบาด กรมวิชาการเกษตรประจำเขตได้ออกประกาศให้ทุกภาคส่วนทั้งผู้อยู่อาศัยและธุรกิจขนาดเล็ก ห้ามค้าสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์นอกเขต

ที่มา : https://english.news.cn/20240325/a4456b16c86a45f09f9de397d530ddef/c.html

บริษัทผลิตเนื้อวัวของ สปป.ลาว เล็งส่งออกเนื้อวัวไปยังจีนมากขึ้น

กลุ่มบริษัท ดวงเจริญพัฒนา กำลังจัดตั้งฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ในแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดหาเนื้อวัวให้กับตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะจีน ซึ่งกลุ่มบริษัท ดวงเจริญพัฒนา ได้รับสัมปทานที่ดิน 5 แปลง จากรัฐบาล ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 3,687 เฮกตาร์ เพื่อปลูกหญ้าและเลี้ยงโค โดยประธานและผู้อำนวยการของบริษัท กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มต้นในปี 2564 และได้ทำการทดลองเลี้ยงวัว 4 สายพันธุ์ จนถึงขณะนี้ บริษัทได้ส่งออกวัวไปแล้วมากกว่า 1,000 ตัว ส่วนใหญ่ไปยังจีน ไทย และเวียดนาม ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท ดวงเจริญพัฒนา ได้สร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นมากกว่า 300 ตำแหน่ง มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจในแขวงบ่อแก้ว และส่งผลให้ สปป.ลาว สามารถสร้างรายได้มากกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกสินค้าเกษตรในปี 2566 ซึ่งเกินเป้าหมายกว่า 20.18% สินค้าเกษตรหลักที่ส่งออก ได้แก่ กล้วย ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย วัว และกระบือ โดยจีนเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุด รัฐบาลลาวสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ผลิตเพิ่มการส่งออกเพื่อนำเงินตราต่างประเทศ ช่วยลดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่สูงในช่วงที่ผ่านมา

ที่มา : https://english.news.cn/asiapacific/20240223/1b37e1a966b24406a4d9d723b13ce70e/c.html

โฆษกรัฐบาลเผย รัฐบาลเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ไทยส่งออกโคเนื้อทางเรือไปยังเวียดนามครั้งแรก 2,000 ตัว คาดเริ่มกุมภาพันธ์ 2567 นี้

นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลยินดีที่การดำเนินการเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์ โดยเฉพาะโคและสุกรมีชีวิต ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน อาเซียนและตะวันออกกลาง เห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และกล่าวว่าโคเนื้อ เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ โดยประเทศไทยมีปริมาณโคเนื้อที่สามารถทำการส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 500,000 ตัว/ปี โดยตลาดประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเวียดนามมีความต้องการโคเนื้อจากไทยถึงกว่า 2,000 ตัว/เดือน ซึ่งล่าสุด เป็นครั้งแรกของไทยที่ส่งออกโคเนื้อทางเรือจากเพชรบุรีไปยังเวียดนาม เนื่องจากเห็นถึงศักยภาพในการส่งออก มาตรฐานและกระบวนการเลี้ยงโคเนื้อของไทย

ที่มา : https://www.agrinewsthai.com/domestic-animal/105262

สปป.ลาว แสวงหาการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อ ‘ส่งเสริมการส่งออกปศุสัตว์’

ปศุสัตว์มีบทบาทสำคัญในภาคเกษตรกรรมของ สปป.ลาว ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากกว่าหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์ตามการระบุของเจ้าหน้าที่อาวุโส นายกวิพล ภูธาวงศ์ อธิบดีกรมปศุสัตว์และประมง กล่าวในระหว่างการประชุมระดับชาติว่าด้วยการลงทุนในการปฏิรูปปศุสัตว์อย่างยั่งยืนในประเทศลาวว่า การส่งออกปศุสัตว์ของลาวในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีมูลค่ามากกว่า 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้กล่าวเน้นย้ำว่า สปป.ลาว มีศักยภาพอย่างมากในการเพิ่มการผลิตปศุสัตว์เพื่อการส่งออกภายหลังการเปิดทางรถไฟลาว-จีนในปี 2564 ประเทศนี้มีที่ดินขนาดใหญ่ที่เหมาะสำหรับโครงการผลิตปศุสัตว์ที่มุ่งสู่ตลาดส่งออก ความต้องการปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ รวมถึงเนื้อสัตว์ นม และไข่ กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและในตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2023/11/20/laos-seeks-more-investments-to-boost-livestock-exports?fbclid=IwAR2Qz4mZsmQeozsmqfdFhEho-J-gJgddYfbG06n7zObSEwrgY6IkxLKqCrA

“มินอ่องหล่าย” เดินหน้าตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ เหตุมั่งคงด้านอาหาร

พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และคณะ ได้ทำการตรวจสอบการดำเนินงานในพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (Thilawa) และมีการรายงานชี้แจ้งถึงผลการดำเนินงานในเขตพื้นที่ดังกล่าวเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ผ่านระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ตลอดจนการกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในเขตย่างกุ้งที่มีความจำเป็นต้องให้แน่ใจว่าอาหารมีเพียงพอและราคาอยู่ในระดับเหมาะสมต่อผู้บริโภคในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีการชี้แจ้งถึงความสำคัญของการขยายพื้นที่เพาะพันธุ์การเกษตรและปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรและกำชับหน่วยงานให้ปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

ที่มา : https://www.myanmaritv.com/news/food-sufficiency-sg-inspects-thilawa-multipurpose-agriculture-livestock-zone

โควิคพ่นพิษ! วัว 7,000 ตัว ติดค้างที่ด่านชายแดนมูเซ

หลังจีนยกระดับควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 แถบชายแดนการค้าปศุสัตว์หยุดชะงัก ทำให้วัวประมาณ 7,000 ตัวติดอยู่ด่านมูเซ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ทำให้พ่อค้าชาวจีนรับซื้อวัวในตลาดมืดข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมาและจีนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันตลาดมืดเติบโตขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา สำหรับการค้าอย่างถูกกฎหมาย จีนอนุญาตให้นำเข้าโคที่มีชีวิตได้ก็ต่อเมื่อมั่นใจว่าโคนั้นปลอดจากโรควัว 20 โรค แต่เกณฑ์ดังกล่าวนั้นไม่สำคัญในตลาดมืด การส่งออกโคมีชีวิตพึ่งพาตลาดจีนเป็นอย่างมากเนื่องจากราคาที่ดี แม้ว่าจะมีตลาดอื่นๆ เช่น ลาว ไทย มาเลเซีย และบังคลาเทศ กระทรวงพาณิชย์ออกใบอนุญาตให้แต่ละบริษัทส่งออกโค 100 ตัว มีอายุ 3 เดือน ในช่วงปลายปี 2560 เพื่อสกัดการค้าผิดกฎหมาย เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตว์รวมถึงปศุสัตว์มูลค่า 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีงบประมาณ 2561-2562 มูลค่าการส่งออกลดลง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2562-2563 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/about-7000-cattle-stranded-in-muse/#article-title

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-63 ภาคปศุสัตว์ ประมง ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศถึง 5 โครงการ

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ถึงสิ้นเดือนเมษายน 2564 -ของปีงบประมาณ 2563-2564 คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) เผย ภาคปศุสัตว์และประมงดึงดูดโครงการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 5 โครงการ สร้างรายได้กว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วย ฟาร์มสัตว์ปีก สุกร ไก่เนื้อ และกุ้ง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 16 ประเทศประมาณ 926.218 ล้านดอลลาร์ไหลเข้าสู่ภาคปศุสัตว์และการประมง ในจำนวนนั้น ประเทศไทยมีการลงทุนสูงสุด โดยมีมูลค่ามากกว่า 380 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคือสิงคโปร์ด้วยเงินประมาณ 130 ล้านดอลลาร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-fisheries-attract-five-foreign-investment-projects-in-seven-months/