การส่งออกกุ้งของเมียนมาแตะ 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดือนเมษายน-ธันวาคม 2567

กรมประมงเมียนมาเปิดเผยว่า เมียนมาส่งออกกุ้งมากกว่า 6,250 ตันไปยังคู่ค้าระหว่างประเทศในช่วง 9 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 โดยระหว่างวันที่ 1 เมษายนถึง 31 ธันวาคม 2024 การส่งออกกุ้งมีมูลค่ารวมประมาณ 21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออกกุ้งทางทะเลของเมียนมามากกว่า 5,070 ตัน มูลค่า 14.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกกุ้งผ่านชายแดนมากกว่า 1,170 ตัน มูลค่า 6.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงไปยัง 40 ประเทศทั่วโลก รวมถึงญี่ปุ่น บังกลาเทศ จีน และไทย ผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน เมียนมามีรายได้ 256.6 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกปลามากกว่า 240,000 ตันในช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน ซึ่งเพิ่มขึ้น 39.344 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณก่อนหน้า

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/myanmar-shrimp-exports-reach-us21m-in-apri-dec/

ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางน้ำที่มีคุณภาพและปลอดภัย

เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา ดร. ออง จี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทาน ได้เข้าตรวจเยี่ยมบริษัท Two Rivers Co., Ltd. ในเมืองอินเส่ง เขตย่างกุ้ง โดยได้เข้าตรวจเยี่ยมกระบวนการผลิตและบรรจุหีบห่อปลาและกุ้งเพื่อส่งออกไปยังซาอุดีอาระเบียตามความต้องการของตลาด ในการเยี่ยมชมเจ้าหน้าที่จากบริษัทได้อธิบายว่าปลาและกุ้งคุณภาพสูงกำลังได้รับการแปรรูปและแช่แข็งเพื่อส่งออกไปยังซาอุดีอาระเบีย จีน ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม โอมาน และกาตาร์ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำยังส่งออกไปยังซาอุดีอาระเบีย จีน เกาหลี มาเลเซีย และอินเดีย ผ่านบริษัท MSL Industries Co., Ltd. โดยใช้เทคโนโลยีการแช่แข็งขั้นสูงจากเดนมาร์ก นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยังได้เข้าเยี่ยมชมแผนกปศุสัตว์และสัตวแพทย์ในเมืองอินเส่ง และได้ถ่ายทอดประสบการณ์จริงเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในสัตว์และการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน หลังจากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้เยี่ยมชมโรงงานจัดเก็บแบบเย็นของบริษัท Mega Marine Frozen Seafood Co Ltd โรงงานจัดเก็บและแปรรูปแบบเย็น Hlaing Htate Khaung และบริษัท Shwe Myinn Co Ltd ในเขตอุตสาหกรรม Hlinethaya ซึ่งได้หารือและสั่งการให้นำระบบ Best Aquaculture Practices (BAP) มาใช้เพื่อให้แน่ใจถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และให้ฝึกอบรมพนักงานที่เข้าใจระบบ BAP เพื่อบูรณาการระบบดังกล่าวเข้ากับกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/boosting-exports-of-high-quality-safe-aquatic-products/

มะริดส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่า 19.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

U Zaw Min Oo รองผู้อำนวยการกรมประมง เมืองมะริด เขตตะนาวศรี รายงานว่า ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากเขตตะนาวศรี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากมะริด ถูกส่งออกผ่านเส้นทางการค้าชายแดนมอตอง ในขณะที่บางส่วนขนส่งโดยตรงจากเกาะสองไปยังระนอง ในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา ซึ่งมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำรวม 32,567.61 ตัน สร้างรายได้ 19.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ 3,854 ตันในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2567-2568 โดยมีรายได้ 3.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี อำเภอมะริดขึ้นชื่อเรื่องการผลิตปลาน้ำเค็มและกุ้ง ซึ่งผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ส่งออกสำคัญจากเขตตะนาวศรี ได้แก่ ปลา กุ้ง ปลาเลี้ยง และผลิตภัณฑ์ทางทะเลอื่นๆ จากเกาะสอง อำเภอทวาย และมะริด ที่ถูกขนส่งผ่านห้าเส้นทางเพื่อการส่งออก และสินค้าบางส่วนยังขนส่งไปยังย่างกุ้งก่อนส่งออกไปต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myeik-district-exports-us19-41-million-worth-of-aquatic-products-in-2023-24-financial-year/

เมียนมาคาดว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในปีนี้จะมีมูลค่ามากกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกรมประมง คาดว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไปยังต่างประเทศจะเกิน 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบัน สำหรับในปีงบประมาณที่แล้ว มีการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 520,000 ตัน สร้างรายได้จากต่างประเทศเกือบ 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากเมียนมา ส่งออกไปยังต่างประเทศผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและการค้าชายแดน แม้ว่าขณะนี้การส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำยังดำเนินการไปได้ดีแต่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เท่าสถานการณ์ก่อนโควิด ทั้งนี้ จากข้อมูลของผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงปลาและกุ้ง เมียนมามีฟาร์มเลี้ยงปลาและกุ้ง 480,000 แห่ง พร้อมด้วยห้องเย็นกว่า 120 แห่ง รวมทั้งเมียนมามีการส่งออกปลามากกว่า 20 ชนิด ไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน ไทย และประเทศเพื่อนบ้านเป็นประจำผ่านการค้าชายแดน ตลอดจนประเทศญี่ปุ่นและประเทศในยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-expects-over-us-800-million-in-aquatic-product-exports-this-year/

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่ากว่า 624 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามรายงานของ U Nyunt Win ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอว์) ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ของปีการเงิน 2566-2567 เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 300 รายการไปยัง 45 ประเทศ สร้างรายได้กว่า 624.473 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการส่งออกเป็นประจำไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลรวมจำนวน 435,000 ตัน มีช่องทางการส่งออกผ่านการขนส่งทางอากาศ และผ่านชายแดนเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากการระงับเส้นทางการค้าชายแดนบางเส้นทางด้วยเหตุผลหลายประการ รายได้ในปีนี้จึงลดลง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ หากเทียบกับยอดรวมของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 676.528 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออกกำลังร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางทะเลจากเมียนมา เพื่อให้มั่นใจว่ามีการส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น จีนมีเกณฑ์การนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะปลอดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-aquatic-products-worth-over-us624m-in-2023-24-financial-year/

ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำของกัมพูชา ได้รับการอนุมัติในการส่งออกไปยังจีน

ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำของกัมพูชาได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการ ให้สามารถส่งออกไปยังจีนได้ แถลงการณ์โดยสถานทูตจีนประจำกัมพูชาในวันพุธที่ผ่านมา (31 พ.ค.) โดยถ้อยแถลงระบุว่า สำนักงานศุลกากรจีนได้ปรับปรุงข้อมูลการขึ้นทะเบียนของผู้ผลิตอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำของกัมพูชาได้รับอนุมัติเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการส่งออกไปยังจีน ด้าน บริษัท Kim Chou Co., Ltd. บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจ นำเข้า-ส่งออก รวมถึงให้บริการขนส่งระหว่างประเทศของกัมพูชา ได้รับอนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไปยังจีนเป็นบริษัทแรก โดยปัจจุบันสัตว์น้ำของกัมพูชาได้รับการอนุมัติในการส่งออกไปยังจีนแล้ว 12 ชนิด ซึ่งรวมถึงกุ้ง ปลา ปลาไหล และหอยทากแม่น้ำ เป็นส่วนสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501300300/cambodias-wild-aquatic-products-get-approval-for-access-to-china/