กัมพูชาเร่งผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ

กัมพูชาเร่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้พลังงานสะอาดเป็นทางเลือกด้านการลงทุนที่ดี โดยปัจจุบันพลังงานสะอาดคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 62 ของกำลังการผลิตพลังงานทั้งหมดของกัมพูชา ซึ่งทางการยังคงผลักดันให้มีการใช้พลังงานสะอาดในโครงข่ายมากขึ้น กล่าวโดย Keo Rattanak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน สำหรับการผลักดันนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงาน (PDP) ประจำปี 2022-2040 ของกัมพูชา โดยให้ความสำคัญกับการขยายแหล่งพลังงานหมุนเวียนในประเทศ ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาสามารถผลิตพลังงานได้ประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ต่อปี แต่การบริโภคต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2,400 เมกะวัตต์เท่านั้น ดังนั้น กัมพูชาจึงกำลังพิจารณาส่งออกพลังงานไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคในอนาคต ตามที่กระทรวงฯ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501515050/cambodia-steps-up-renewable-energy-push/

กัมพูชาดันพลังงานหมุนเวียนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในประเทศ

กัมพูชาเร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการนำพลังงานทดแทนมาขับเคลื่อนภาคพลังงานกัมพูชา ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการนำแนวคิดพลังงานสีเขียวมาร่วมปรับใช้ในภาคพลังงานของประเทศ ในขณะเดียวกันทางการได้ให้ความสำคัญกับความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจากทั้งโครงสร้างประชาชนและภาคธุรกิจที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ด้านผู้เชี่ยวชาญและองค์กรส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน อย่างสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (IREA) ชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันระบบพลังงานสีเขียวมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งบางประเภทสามารถทดแทนการผลิตพลังงานในรูปแบบดังเดิมได้อย่างเต็มสมบูรณ์แบบ ขณะที่กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวเสริมว่าทางการได้มีความพยายามเป็นอย่างมากในการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านพลังงานในประเทศด้วยการเพิ่มปริมาณผลผลิตจากปัจจัยการผลิตหลายๆ รูปแบบ ภายใต้การรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) โดยปัจจุบันรัฐบาลได้รับความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนอย่าง Asean Power Grid (APG) ในการกำหนดเป้าหมายระดับอนุภูมิภาคในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ สำหรับกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งติดตั้งอยู่ในกัมพูชา ปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 432 MW ซึ่งคาดว่าจะพัฒนาไปสู่ 1,000 MW ภายในปี 2030 และสูงสุดถึง 3,155 MW ภายในปี 2040

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501380196/kingdom-focusing-on-renewables-to-boost-energy-efficiency/

บริษัทต่างชาติเข้าลงทุนจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ใน สปป.ลาว

บริษัท China International Water & Electric Corp (CWE) พร้อมที่จะลงทุนเพิ่มในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำและภาคส่วนอื่นๆ ใน สปป.ลาว แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะต้องเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยปัจจุบันบริษัทได้เข้าลงทุนใน สปป.ลาว มานานกว่าสองทศวรรษ ซึ่งลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 5 โครงการ และโครงการสายส่งและสายแปลง 4 โครงการ มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งโครงการเหล่านี้กำลังสร้างโอกาสในการจ้างงานสำหรับพนักงานท้องถิ่นราว 300-400 คน ในจังหวัดเซียงขวาง เวียงจันทน์ และอัตปือ โดยตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น ผ่านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงถนนและสะพาน โรงเรียน สนามเด็กเล่น ห้องปฏิบัติการ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน รวมถึงการลงทุนด้านพลังงานสะอาดสอดคล้องกับการมุ่งเน้นของโครงการ Belt and Road Initiative ในด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และการแสวงหาหนทางสำหรับการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_192_Foreign_y23.php

กัมพูชาถือเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศ ซึ่งได้รับการลงทุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของจีน

การประชุมใหญ่เชิงวิชาการอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า (CEPSI) ครั้งที่ 24 มีกำหนดจัดขึ้นที่เมืองเซี่ยเหมินทางตอนใต้ของประเทศจีน ในระหว่างวันที่ 19-23 ตุลาคม นำโดยสภาการไฟฟ้าของจีน (CEC) ซึ่งโครงการลงทุนดังกล่าวครอบคลุม 10 ประเทศในภูมิภาค รวมถึงปากีสถาน กัมพูชา อุซเบกิสถาน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณกว่า 1.95 พันล้านดอลลาร์ ด้าน Xu Guangbin ผู้อำนวยการของ CEPSI กล่าวเสริมว่าในระหว่างการประชุมจะมีเซสชันและกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพลังงานระหว่างกัน รวมถึงมองหาโอกาสในการร่วมมือและการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคพลังงาน ภายใต้ธีม “Low Carbon Energy Powering a Green Future” โดยเชื่อว่าการประชุมดังกล่าวจะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมพลังงานเพื่อที่จะลดการปล่อยคาร์บอนของโลกเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสีเขียวในระยะต่อไป สำหรับบริษัทพลังงานของจีนกำลังมุ่งเน้นไปที่โครงการพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมทั่วโลก โดยจนถึงขณะนี้บริษัทใหญ่ๆ ได้ลงทุนและสร้างโครงการพลังงานแล้ว 16 โครงการ ภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 66.7 ของการลงทุนภาคพลังงานในต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501367595/cambodia-is-among-10-countries-where-1-95-billion-of-the-total-foreign-investment-by-major-chinese-power-companies-went/

‘นิ่งห์ถ่วน’ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางพลังงานหมุนเวียนของประเทศ

จังหวัดนิ่งห์ถ่วน (Ninh Thuan) ตั้งเป้าผลักดันประเทศสู่ศูนย์กลางผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน 26,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 และเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้น ทางจังหวัดมุ่งพัฒนาโซลาร์ฟาร์มและฟาร์มกังหันลม รวมถึงส่งเสริมให้ประเทศมีส่วนร่วมด้านความมั่งคงทางพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2564-2573 ทางจังหวัดจะมุ่งพัฒนาพลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม ไฟฟ้าพลังน้ำ และก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว คาดว่าจะมีสัดส่วน 16% ของ GDP จังหวัด ในปี 2573

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/ninh-thuan-looks-to-become-renewable-energy-hub/

กัมพูชาอนุมัติโครงการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน 5 โครงการ

รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติโครงการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน 5 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะมีกำลังการผลิตรวม 520 เมกะวัตต์ หวังช่วยเพิ่มกำลังการผลิตให้กับกริดไฟฟ้าของประเทศ และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากข้อมูลของ Phay Siphan รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกรัฐบาล กล่าวว่า 1 ใน 5 โครงการ เป็นการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Stung Russey Chrum Kandal ขนาดกำลังการผลิต 70 เมกะวัตต์ และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ Stung Veay Thmar Kambot ขนาดกำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์ ในจังหวัดเกาะกง ขณะที่อีก 4 โครงการ เป็นโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยโครงการขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่ 150 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในจังหวัดโพธิสัตว์ โครงการถัดมา 2 โครงการ มีขนาดกำลังการผลิตที่ 60 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในจังหวัดกำปงชนังและในจังหวัดสวายเรียง และโครงการสุดท้ายมีขนาดกำลังการผลิตอยู่ที่ 80 เมกะวัตต์ ในจังหวัดไพรแวง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501265922/five-renewable-energy-investment-projects-with-installed-power-generating-capacity-of-520-mw-approved/

‘เวียดนาม’ มีศักยภาพการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวกับกรอบนโยบายพลังงานหมุนเวียนและความพร้อมการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวในเวียดนาม จัดโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) และมี GIZ ป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเวียดนามมีอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่และหลากหลาย พร้อมกับสามารถเข้าถึงผู้นำเข้ารายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยังมีศักยภาพด้านทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนที่แข็งแกร่งและความเสี่ยงทางการเมืองต่ำ ทั้งนี้ คุณ Ali Habib ที่ปรึกษาทางด้านระหว่างประเทศ กล่าวว่าเวียดนามอยู่ในตำแหน่งที่ดีในแง่ของการผลิต อย่างไรก็ตามในเรื่องของนโยบายและความร่วมมือเป็นส่วนสำคัญที่จะประสบความสำเร็จ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1401361/viet-nam-is-well-positioned-for-gh2-production.html

รัฐบาล สปป.ลาว มุ่งพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ

รัฐบาล สปป.ลาว ให้คำมั่นที่จะพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศ เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญของแหล่งพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์, ลม และระบบชีวมวล ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บท ในการสร้างความมั่นคงด้านทางด้านพลังงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงฤดูแล้งของ สปป.ลาว และเพื่อลดการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศในอนาคต โดยปัจจุบันกว่าร้อยละ 81 ของไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศมากจากแหล่งไฟฟ้าที่ผลิตด้วยระบบพลังงานน้ำ รองลงมาคือโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ร้อยละ 17 ในขณะเดียวกัน แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวล เป็นเพียงร้อยละ 2 ของพลังงานที่ใช้ในประเทศ ตามรายงานล่าสุดจากกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาว ซึ่งรัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนข้างต้นเป็นร้อยละ 11 ตามกรอบแผน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2021-2025 โดยปัจจุบันมีโรงงานผลิตพลังงาน 90 แห่งทั่วประเทศ มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมเกือบ 11,000 เมกะวัตต์ ซึ่งแบ่งออกเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 77 แห่ง, โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 แห่ง, โรงไฟฟ้าชีวมวล 4 แห่ง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 แห่ง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten158_Govtto.php

‘เวียดนาม’ เล็งหาผลประโยชน์จากการลงทุนสหรัฐฯ ด้านพลังงานหมุนเวียน

จากการประชุมสุดยอดธุรกิจเวียดนาม-สหรัฐฯ ณ กรุงฮานอย คุณ  Pham Tan Cong ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของเวียดนาม (VCCI) เปิดเผยว่าพลังงานเป็นหนึ่งในสาขาเศรษฐกิจที่มีศักยภาพทางในการร่วมมือการลงทุนระหว่างบริษัทเวียดนามและสหรัฐฯ และเชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการเวียดนามและสหรัฐฯ มีโอกาสที่ดีในการสร้างความร่วมมือทางด้านก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG), พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางการค้าและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ทั้งนี้ คุณ Hoang Tien Dung ผู้อำนวยการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าเวียดนามตั้งเป้าในปี 2573 ว่าจะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สัดส่วน 45% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศ โดยนายฝ่าม มิงห์ จิ๋ง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ประกาศว่าเวียดนามได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพลังงานอย่างยั่งยืนเป็นอันดับแรก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-seeks-us-investment-in-renewable-energy/223430.vnp

 

สปป.ลาว-เกาหลีร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน

สปป.ลาวเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานทดแทนรูปแบบอื่น ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากสาธารณรัฐเกาหลีรวมตัวกันที่ EDL Training Center เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศในด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นโดย KOTRA Vientiane และกลุ่มของหน่วยงานเกาหลีซึ่งรวมถึง Daeyeon C&I, Elim และสถาบันเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เกาหลี จุดมุ่งหมายของการประชุมเชิงปฏิบัติการคือการแบ่งปันความรู้ด้านเทคนิคระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านสปป.ลาวและเกาหลีโดยเฉพาะในสาขาพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือด้านพลังงานทดแทนเพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ หลักสูตรการฝึกอบรมสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้ง 2 ประเทศต่อพลังงานทดแทนรวมถึงความร่วมมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประชุมเชิงปฏิบัติการครอบคลุมหลักการของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ การวางแผนและการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบการติดตามตรวจสอบการทำงานของพลังงานแสงอาทิตย์และเทคโนโลยี ICT สำหรับระบบพลังงานแสงอาทิตย์

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-keen-adopt-korean-lessons-renewable-energy-103447