‘ไทย’ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ อันดับ 2 ของเวียดนาม

ประเทศไทยกลายมาเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกรวมสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และขึ้นแท่นเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ อันดับ 2 ของตลาดเวียดนามในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกัน ไทยนำเข้าทุเรียนจากเวียดนาม 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 82% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ นาย ดัง ฟุก เหงียน เลขาธิการสมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (Vinafruit) ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ ไทยนำเข้าทุเรียนจากเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ทุเรียนของไทยได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้หันมาสั่งซื้อทุเรียนจากประเทศอื่นๆ เพื่อตอบสนองกับความต้องการในประเทศและนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นผู้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ไทยก็เป็นผู้นำเข้าทุเรียนแช่แข็งรายใหญ่ของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656753/thailand-becomes-viet-nam-s-second-largest-durian-importer.html

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาประเทศลาว

นางสาวแสงผาสุข ไซยะวงศ์ ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว กล่าวในที่ประชุมเกี่ยวกับการจัดการการขาดแคลนน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดูเหมือนจะก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศลาว โดยภัยแล้งที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานในขณะนี้ได้ทำลายการผลิตพลังงานและพืชผลทางการเกษตร ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขาดแคลนน้ำอาจสร้างความเสียหายให้กับกิจกรรมทางการเกษตรซึ่งมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สำคัญของประชากรลาว เกษตรกรที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบชลประทานอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขาดแคลนน้ำ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_98_Climate_y24.php

ภัยแล้งนำความเสียหายมาสู่ภาคการผลิตข้าวในกัมพูชา

รายงานของกระทรวงสิ่งแวดล้อมกัมพูชา ระบุว่า การสูญเสียผลผลิตข้าวที่เกิดจากภัยแล้งมีมูลค่าความเสียหายมากถึง 100 ล้านดอลลาร์ โดยกล่าวเสริมว่าภัยแล้งในช่วงระหว่างปี 2015 ถึง 2019 ภายในประเทศกัมพูชาได้รับผลกระทบบนพื้นที่การเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งพื้นที่จำนวน 201,490 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายทั้งหมด โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภัยแล้งได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตข้าวคิดเป็นจำนวนรวม 624,262 ตัน หรือมูลค่าประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ทางด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกัมพูชา ทราบถึงปัญหา จึงได้ทำการศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาและสรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการน้ำและดินได้ว่า ควรใช้เทคนิคการทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพอากาศ ซึ่งสามารถช่วยให้เกษตรกรปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และถือเป็นการเพิ่มผลผลิตข้าวในเวลาเดียวกัน โดยกระทรวงได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ ทักษะ การแบ่งปันประสบการณ์ และการเพิ่มการเผยแพร่เทคนิคใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชน ให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในการทำการเกษตร ควบคู่ไปกับภาครัฐให้การสนับสนุน

ที่มา : http://khmertimeskh.com/50943617/droughts-caused-about-100-million-in-rice-production-losses/

ผู้ใช้น้ำจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมสำหรับภัยแล้ง สปป.ลาว

ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการติดตามตรวจสอบการไหลของแม่น้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาบางส่วนอยู่ในระดับต่ำ คาดว่าจะลดลงเนื่องจากเดือนตุลาคมเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของฤดูแล้ง สถานการณ์ที่ผิดปกตินี้กำลังส่งผลกระทบต่อการจัดหาน้ำใช้ในครัวเรือนรวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจและการเกษตร เป็นข้อบ่งชี้ว่าผู้บริโภคควรเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาการขาดแคลนน้ำรายงานที่ออกโดยกรมอุตุนิยมวิทยาและอุทกวิทยาในเดือนกรกฎาคมระบุว่าปริมาณน้ำฝนในเดือนนั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 70% รายงานที่อัปเดตไม่สามารถใช้ได้กับสื่อทันที แต่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าสปป.ลาวส่วนใหญ่ยกเว้นพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนต่ำเป็นประวัติการณ์ตลอดฤดูฝนที่ผ่านมา รัฐบาลจึงได้จัดตั้งกองทุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยหวังที่จะระดมเงินเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของสปป.ลาวเพื่อรองรับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Water_235.php

พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเวียดนาม คาดว่าการผลิตเพิ่มมากกว่า 150,000 ตัน ในช่วงฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง

จากรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาขนบท (MARD) เปิดเผยในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง คาดว่าปริมาณข้าวเปลือกจะอยู่ที่มากกว่า 150,000 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้ดำเนินเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้ว 2 ใน 3 ของพื้นที่ กว่า 1.57 ล้านเฮกตาร์ของปริมาณข้าว คิดเป็นผลผลิตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.7 ตันต่อเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นประมาณ 100 กก. เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในฤดูนี้จะช่วยผลผลิตที่ลดลงจากฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงในปีที่แล้ว ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับภัยแล้งและการขยายตัวของน้ำเค็ม ในขณะที่ ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ อุปสงค์ของประเทศคู่ค้านำเข้าลดลง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ข้าว เป็นสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของเวียดนาม ที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศกว่า 150 ประเทศ รวมไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน เป็นต้น  

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mekong-delta-expects-150000-more-tonnes-from-summerautumn-rice-crop/158397.vnp