ชาวสวนยางเมืองโฮนมะลี่นปลื้ม ยางพาราราคาพุ่ง สร้างกำไรเป็นกอบเป็นกำ

ชาวสวนยางจากเมืองโฮนมะลี่น เขตซะไกง์ สร้างกำไรงามจากราคายางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขยับราคาจาก 700 จัตต่อปอนด์ เป็น 900 จัตต่อปอนด์ในปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วผลผลิตยางต่อเอเคอร์อยู่ที่ประมาณ 800-1,000 ปอนด์ซึ่งเกษตรกรจะได้กำไร 400,000-500,000 จัต โดยแผ่นยางจากจะถูกส่งไปยังเมืองโมนยวา และ มัณฑะเลย์ การปลูกยางพาราของเมืองโฮมาลินเริ่มในปี 2548 พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นขึ้นทุกปี โดยในปี 2564 มีพื้นที่เพาะปลูกเถึง 8,187 อเคอร์ ซึ่งปีนี้สามารถกรีดยางได้ 531 เอเคอร์และสามารถผลิตยางธรรมชาติประมาณ 300,000 ปอนด์ต่อปี นอกจากนี้ยังมีการปลูกผสมผสานกับต้นกาแฟภายในสวนยางพาราเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/high-rubber-price-boosts-profit-in-homalin-township/#article-title

กัมพูชาส่งออกยางพารามูลค่าเกือบ 100 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 4 เดือนแรก

กัมพูชาส่งออกยางธรรมชาติราว 99.87 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนของปีนี้ ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง โดยรวมแล้วมีการส่งออกยางธรรมชาติ 61,056 ตันในช่วงสี่เดือน ซึ่งส่งผลทำให้รายรับจากการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 ที่ทำได้ที่ 97.43 ล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของกระทรวง โดยรายงานล่าสุดของ MAFF ระบุว่าราคายางพาราภายในประเทศกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 1,584 ดอลลาร์ต่อตันในปี 2021 ต่ำกว่ารายงานแนวโน้มราคาตลาดของ WTO ณ เดือนเมษายน อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งรายงานได้รายงานว่าราคายางในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจาก 1.73 ดอลลาร์ / กก. ในปี 2020 เป็น 2.25 ดอลลาร์ / กก. ในปี 2021 โดยในปี 2019 กัมพูชาส่งออกยางพารารวมทั้งสิ้นจำนวน 242 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งออกไปยังเวียดนามกว่าร้อยละ 67.5 ตามข้อมูลของ Observatory of Economic Complexity (OEC)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50850637/rubber-exports-approach-100-million-january-april/

ความร่วมมือจากหลายหน่วยงานในการพัฒนาภาคการผลิตยางกัมพูชา

WWF กัมพูชาและกรมการยางกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง (MAFF) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานยางพาราให้เกิดความโปร่งใสและยั่งยืน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (BMZ) ของรัฐบาลเยอรมนี ผ่าน Welthungerhilfe ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีเพื่อการพัฒนาระดับโลกและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยในระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาองค์กร BMZ ได้มีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับผู้มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรรายย่อยในกัมพูชา ในเมืองมณฑลคีรี เพื่อส่งเสริมการผลิตยางพาราอย่างยั่งยืน ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของคนในท้องถิ่น โดยผู้อำนวยการ WWF กัมพูชา กล่าวว่าการส่งเสริมการปลูกยางพาราของเกษตรกรรายย่อยอย่างยั่งยืนจะไม่เพียงสร้างงานและรายได้ให้กับชุมชนในท้องถิ่น แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งในปี 2020 กัมพูชาส่งออกยางพาราและต้นยางพารามูลค่ารวมกว่า 482.76 ล้านดอลลาร์ ซึ่งแบ่งเป็นยาง 340,000 ตันและต้นยางพารา 158,400 ลูกบาศก์เมตร ตามรายงานของกระทรวงเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803833/rubber-production-to-receive-multi-agency-effort-to-improve/

กัมพูชาส่งออกยางพาราเป็นมูลค่ากว่า 459 ล้านดอลลาร์ในปี 2020

กัมพูชาส่งออกยางพาราถึง 340,000 ตัน ในปี 2020 สร้างรายได้จากการส่งออกกว่า 459 ล้านดอลลาร์ให้กับประเทศ รายงานโดยกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง ซึ่งกัมพูชามีพื้นที่สำหรับทำสวนยางพารารวม 401,914 เฮกตาร์ โดย 240,811 เฮกตาร์หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ถือเป็นการทำสวนยางพาราในรูปแบบอุตสาหกรรม และ 161,103 เฮกตาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 40 เป็นการทำสวนยางพาราในครัวเรือน โดยกัมพูชามีการส่งออกยางพาราอยู่ที่ 282,071 ตัน ในปี 2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จาก 217,501 ตันในปี 2018 ซึ่งตลาดส่งออกยางพาราที่สำคัญของกัมพูชาคือมาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และจีนเป็นหลัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50800901/cambodias-rubber-export-reach-459-million-in-2020/

กัมพูชาส่งออกยางพาราเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้

อธิบดีกระทรวงเกษตรกล่าวว่าการส่งออกยางของกัมพูชาคาดว่าจะสูงถึง 340,000 ตัน ภายในสิ้นปีนี้ โดยผู้อำนวยการฝ่ายการยางกล่าวว่าเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 280,000 ตัน ที่ส่งออกในปี 2019 และคาดว่าอัตราการส่งออกยางจะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2024 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปีอยู่ในช่วง 30,000 และ 40,000 ตัน เนื่องจากต้นยางบางส่วนจะไม่สามารถสร้างน้ำยางได้อีกในช่วงเวลาดังกล่าว โดยปัจจุบันกัมพูชามีการเพาะปลูกต้นยางพารากว่า 410,000 เฮกตาร์ ภายในประเทศ และอยู่ระหว่างการเพาะปลูกอีกประมาณ 290,000 เฮกตาร์ ซึ่งกัมพูชาส่งออกยางแปรรูปไปยังเวียดนามราวร้อยละ 60 โดยที่เหลือส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และยุโรป ซึ่งสมาคมพัฒนายางแห่งกัมพูชา (ARDC) กล่าวว่าขณะนี้ราคายางในกัมพูชามีแนวโน้มที่ดี โดยบริษัทในท้องถิ่นสามารถขายผลิตผลได้ถึง 1,700 ดอลลาร์ต่อตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50795539/kingdoms-rubber-exports-up-in-2020/

จุรินทร์ ปลื้มราคาปาล์ม-ยางดีขึ้นมาก ช่วยหนุนรายได้เกษตรกร

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า วันนี้เดินทางไปติดตามสถานการณ์ราคายางพารากับปาล์มน้ำมัน รวมทั้งมาตรการประกันรายได้เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นข่าวดีที่ราคายางพาราและปาล์มน้ำมันดีขึ้นมากในช่วงระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา โดยราคาปาล์มเฉลี่ยอยู่ที่ กิโลกรัมละ 6-7 บาท และราคายางพาราเหนือกว่าเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เกษตรกรชาวภาคใต้และเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศสามารถมีรายได้ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 มีเป้าหมายกิโลกรัมละ 60 บาท แต่วันนี้ขึ้นไปกิโลกรัมละ 60-65 บาท ยางแผ่นรมควันแตะ 70 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางข้น มีเป้าหมายกิโลกรัมละ 57 บาท วันนี้อยู่ที่ 55-56 บาทต่อกิโลกรัม ยางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 22 บาท ทั้งภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ซึ่งถือว่าราคายางอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าปีที่แล้ว ที่ราคายางพาราอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนปีนี้อยู่ที่กว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตามหากราคาปรับลดลง รัฐบาลก็ยังมีนโยบายประกันรายได้ที่จะเข้าไปชดเชยส่วนต่างที่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาทสำหรับยางแผ่น และต่ำกว่ากิโลกรัมละ 57 บาทสำหรับน้ำยางข้น และกิโลกรัมละ 23 บาท สำหรับยางก้อนถ้วยชดเชยให้กับเกษตรกร

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/iq03/3181861

หลักชัยเมืองยาง’พร้อมรับทุนตั้งโรงงานถุงมือ 2 หมื่นล้าน

“หลักชัยเมืองยาง”พร้อมรับนักลงทุนตั้งโรงงานถุงมือ 2 หมื่นล้านบาท “ไทยฮั้ว” คาดแล้วเสร็จอีก 5เดือน ทำราคายางปรับตัวสูงขึ้นยาวถึงสิ้นปี แต่ไม่ถึงกก.ละ 70บาท บริษัท ไทยเบคก้า เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จ.ระยอง เปิดเผยว่า นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จึงมีนักลงทุนหลายประเทศรวมทั้งไทยสนใจเข้ามาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมถุงมือยาง ในเร็วๆนี้ บริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) จะร่วมทุนด้วย คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3-5 เดือน และติดตั้งเครื่องจักรได้แล้วเสร็จ ส่วนนักลงทุนต่างประเทศที่อยู่ระหว่างเจรจา เช่น สหภาพยุโรป(อียู) สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย จีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น วงเงินลงทุนรวมประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่ต้องการตั้งโรงงานขนาดกลางวงเงินลงทุนเฉลี่ยโรงงาน 5,000 ล้านบาท ส่วนปัจจัยที่ต่างประเทศสนใจตั้งโรงงานในไทย เพราะมีวัตถุดิบพร้อม ระบบการขนส่งดี แม้จะมีปัญหาค่าแรงสูง แต่การผลิตถุงมือยางส่วนใหญ่ใช้เครื่องจักร อย่างไรก็ตาม อยากให้ภาครัฐบาลสนับสนุนด้านการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อยากมาก ทั้งนี้ ราคายางในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ต่อเนื่องตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา เฉลี่ยประมาณ 40-45 บาท ต่อกิโลกรัม(กก.) แนวโน้มคาดว่าจะปรับสูงขึ้นแตะ 50 บาทต่อกก. จนถึงสิ้นปีนี้ แต่จะไม่สูงถึง70-80 บาทต่อกก. เหมือนในอดีต เพราะอุตสาหกรรมหลักที่เป็นตัวขับเคลื่อน คือยางล้อ ยังซบเซา สำหรับการจัดตั้งโรงงานถุงมือยางของการยางแห่งประเทศไทย (กยท. )ในจ.นครศรีธรรมราช โดยการร่วมทุนกับเอกชน สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน นั้น มีความเป็นไปได้ยาก องค์กรเหล่านี้ไม่มีเงินทุน อีกทั้งการตั้งโรงงานต้องอาศัยความคล่องตัว คิดแล้วดำเนินการทันที เนื่องจากมีการแข่งขันสูง ซึ่งหลังจากปี 2564 มีความเสี่ยงสูงมากที่ถุงมือยางจะล้นตลาด

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892844?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

กัมพูชาส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น 10% ในไตรมาสแรง

การส่งออกยางของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 10% ในไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงลดลงเล็กน้อยตามรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง โดยตัวเลขแสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมกัมพูชาส่งออกยาง 53,057 ตันเพิ่มขึ้น 10% โดยมีราคาเฉลี่ย 1,397 เหรียญสหรัฐต่อตันลดลง 1.2% ซึ่งรวมแล้วภาคดังกล่าวมีรายได้ประมาณ 74 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว ถึงแม้จะมีปริมาณการส่งออกลดลง 15% ในเดือนมีนาคมเมื่อเทียบกับกุมภาพันธ์จาก 12,913 ถึง 11,751 ตัน เป็นผลมาจากการหยุดชะงักในด้านการค้าข้ามพรมแดนในการตอบสนองต่อการระบาดของ COVID-19 รวมถึงรองประธานของ An Mady บริษัท ที่เป็นเจ้าของสวนยางและส่งออกผลิตภัณฑ์กล่าวว่าการชะลอตัวของการส่งออกส่วนใหญ่จะลดลงตามคำสั่งซื้อที่ลดลงจากผู้นำเข้ารายใหญ่

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50714831/rubber-exports-up-by-10-percent-in-q1/

กลุ่มยางวางแผนที่จะสร้างโรงงานแปรรูปในภาคเหนือ

จากข้อมูลของกลุ่มยางเวียดนาม (Vietnam Rubber Group – VRG) ได้ลงทุนก่อสร้างโรงงานแปรรูปจำนวน 3 โรงงานในภาคเหนือ เนื่องมาจากผลผลิตยางจะเพิ่มขึ้นเร็วๆนี้ ดังนั้น ในปี 2565 บริษัทยาง Lai Chau จะดำเนินลงทุนในสายการผลิตน้ำยางข้น (SVR10,SVR20) ด้วยกำลังการผลิตอยู่ที่ 3,000 ตันต่อปี เพื่อที่จะรองรับกับบริษัทในภาคเหนือ ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กลุ่มยางเวียดนาม (VRG) มีโรงงานแปรรูปยางในจังหวัด Son La ด้วยกำลังการผลิต 6,000 ตัน และในจังหวัด Lai Chau ด้วยกำลังการผลิต 5,000 ตันต่อปี ซึ่งในปี 2566 ทางกลุ่มยางเวียดนามจะเริ่มก่อสร้างโรงงานแปรรูปยาง (เฟส 2) ในจังหวัด Lai Chau ด้วยกำลังการผลิต 4,000 ตันต่อปี ส่งผลให้กำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 9,000 ตันต่อปี ขณะเดียวกัน โรงงานทั้งสองแห่งนี้คาดว่าจะตอบสนองต่อความต้องการทั้งภูมิภาค

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rubber-group-plans-to-build-three-processing-plants-in-northern-region/170134.vnp

‘กยท.’ หวั่นออร์เดอร์ส่งออกยางไปจีนวูบ 2 ล้านตัน

โควิด-19 พ่นพิษหนัก กยท.หวั่นใจออร์เดอร์จีนวูบ 50% ทุบน้ำยางส่งไปจีนชะงัก 2 ล้านตัน ฉุดราคาน้ำยางลง เร่งสปีดหน่วยงานรัฐใช้ยาง ล่าสุดดึง รพ.รามาธิบดี เอ็มโอยูปั๊มอุปกรณ์การแพทย์แปรรูปจากยาง การระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลให้ตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดหลักเลื่อนชิปเมนต์ส่งมอบยางออกไปก่อนในขณะนี้ และแรงงานที่อยู่ในภาคโลจิสติกส์และอุตสาหกรรมยางพารายังไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานที่โรงงานได้เต็มที่ ปีนี้จึงอาจจะล่าช้า อย่างไรก็ตาม คาดว่าช่วงเดือนมีนาคมนี้น่าจะคลี่คลายดีขึ้น เพราะจีนเริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ กยท.ตั้งเป้าหมายว่าจะมีการใช้ยางพาราในประเทศ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ตั้งเป้าหมายไว้ 160,000 ตัน และมีการใช้ยางพาราจริงประมาณ 140,000 ตัน คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นจากการสร้างถนน และหน่วยงานนำยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยจะมีงบฯการวิจัยและพัฒนา 400 ล้านบาท” เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว และเข้าสู่ช่วงปิดการกรีดยาง รวมทั้งผลจากโรคใบด่างส่งผลให้ผลผลิตลดลงและยังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ออร์เดอร์จากจีนหยุดชะงัก โดยปกติจีนมีการสั่งออร์เดอร์น้ำยางสดจากไทยกว่า 50% ของปริมาณน้ำยางทั้งหมดในประเทศ หรือออร์เดอร์หายไปประมาณ 2 ล้านตัน ดังนั้น กยท.จึงต้องเร่งผลักดันการใช้ยางในประเทศจากการสร้างถนน สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์และหน่วยงานนำยางแปรรูปผลิตภัณฑ์ ล่าสุดได้บันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ด้านการวิจัยและพัฒนา ระหว่าง กยท.กับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาแบบจำลองสื่อการเรียนการสอนทางการแพทย์จากยางพาราแปรรูปที่เป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยในการพัฒนาวิจัย ทดแทนการนำเข้า และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา ในระยะเวลา 3 ปี รายงานจาก กยท.ระบุว่า ขณะนี้ระดับราคาน้ำยางสด ณ วันที่ 4 มี.ค. 2563 อยู่ที่ กก.ละ 42.80 บาท จากเดือนก่อนหน้า (3 ก.พ.) อยู่ที่ กก.ละ 39.80 บาท ส่วนราคาเอฟโอบีอยู่ที่ กก.ละ 50.55 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เคยอยู่ที่ กก.ละ 47 บาท ไทยมีการส่งออกยางพาราในเดือนมกราคม 2563 ปริมาณ 296,348 ตัน เพิ่มขึ้น 0.94% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีมูลค่า 388 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.02%

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-429452