ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าคงที่และยอดขายรถยนต์ใช้น้ำมันในตลาดรถยนต์ชะลอตัว

U Min Min Maung ประธานสมาคมผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายรถยนต์เขตย่างกุ้ง ระบุว่า ในตลาดรถยนต์ของเมียนมา รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ขายได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยอดขายรถใช้น้ำมันยังซบเซา ทั้งนี้เนื่องจากมีการออกใบอนุญาตเพิ่มเติมให้กับบริษัทต่างๆ ที่ขายรถยนต์ไฟฟ้า โดยตลาดรถยนต์ที่ซบเซาในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 กลับมามีความเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วงปลายปี 2566 และกลับมาชะลอตัวอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2567 อย่างไรก็ตาม ราคารถยนต์ที่นำเข้ามาประกอบในประเทศ ที่เป็นรถยนต์แบบพวงมาลัยซ้ายมูลค่าอยู่ที่ 100 ล้านจ๊าด มีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในขณะที่รถยนต์แบบพวงมาลับซ้ายมูลค่า 100-200 ล้านจ๊าด ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในขณะที่ราคารถยนต์ 400–500 ล้านจ๊าด ราคายังคงไม่เปลี่ยนแปลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/steady-sales-of-electric-cars-and-slowing-sales-of-petrol-cars-in-automobile-market/

การจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ จำนวน 5,308 คัน

ข้อมูลจากกรมบริหารการขนส่งทางถนนระบุว่า มีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ รวม 5,308 คันตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 ถึงมกราคม 2567 ประกอบด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคล EV 2,217 คัน รถบรรทุกขนาดเล็ก EV 11 คัน จักรยาน EV 2,836 คัน รถสามล้อ EV 244 คัน ได้รับการจดทะเบียนกับกรมแล้ว มีรถยนต์ EV หลายประเภท ซึ่งราคาอยู่ระหว่าง 80 ล้านจ๊าดถึง 200 ล้านจ๊าด โดยข่าวประชาสัมพันธ์ดังกล่าวระบุอีกว่าบริษัท 81 แห่ง ได้รับอนุญาตให้นำเข้าและขายรถยนต์ EV รวมทั้งมีการเปิดโชว์รูมแบรนด์รถยนต์ EV ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยที่ใบอนุญาตนำเข้าจะออกให้กับบริษัทที่ตรงตามข้อกำหนดเท่านั้น อย่างไรก็ดี เพื่อที่จะพัฒนาภาคยานยนต์ EV คณะกรรมการกำกับดูแลแห่งชาติเพื่อการพัฒนายานพาหนะไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้กำหนดอัตราภาษีสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ และยังได้เชิญนักลงทุนในท้องถิ่นให้ลงทุนด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/different-types-of-5308-electric-vehicles-registered/#article-title

ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่จะออกให้สำหรับโชว์รูมรถยนต์

คณะกรรมการกำกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องระดับชาติประกาศว่า โชว์รูมรถยนต์จะได้รับการอนุมัติให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า เมื่อพบว่าเป็นไปตามกฎและข้อบังคับที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ได้อนุญาตให้บริษัท 83 แห่งดำเนินธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบริษัท 2 แห่งที่ดำเนินการสถานีชาร์จและรถโดยสารไฟฟ้าเท่านั้น ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาการนำเข้า ติดตั้ง และลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้จัดการประชุมร่วมกับบริษัทนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าในเดือนเมษายนและมิถุนายน และได้แจ้งแล้วไม่ให้กำไรเกินร้อยละ 20 จากราคา CIF หากบริษัทต่างๆ ละเมิดนโยบายเหล่านั้น พวกเขาจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตการส่งออกและนำเข้า และถูกดำเนินการทางกฎหมายภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมายังออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ว่ายานพาหนะไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะ ได้รับการส่งเสริมเป็นสาขาสำคัญ นอกจากนี้ ในระหว่างขั้นตอนการก่อตั้งและหารือสำหรับการจัดตั้งบริษัทและการดำเนินงาน ธุรกิจเหล่านั้นสามารถขอใบอนุญาตจาก MIC เพื่อรับการผ่อนผันภาษีหรือสถานะภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ และการยกเว้นภาษีอื่น ๆ ที่เรียกเก็บในประเทศภายใต้มาตรา 77 (A) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมา และ การยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้มาตรา 75 (C) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมา สำหรับการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น อะไหล่ และวัตถุดิบในการก่อสร้างที่ไม่สามารถหาได้ในตลาดภายในประเทศ รวมทั้งตามที่กระทรวงการวางแผนและการเงินระบุว่า การยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับยานพาหนะไฟฟ้า (EV) และส่วนประกอบต่างๆ ได้รับการขยายออกไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ev-import-licence-to-be-granted-for-car-showrooms/#article-title

‘พาณิชย์’ ดึงญี่ปุ่นลงทุนไทยชูใช้สิทธิ ‘FTA-RCEP’ ปักหมุดอุตสาหกรรม BCG

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ ประธานเปิดงานสัมมนาเชิงนโยบาย “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้ามิติใหม่ ไทย – ญี่ปุ่น” โอกาสฉลองครบรอบ 135 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – ญี่ปุ่น ว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องนโยบายและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกัน ในมิติใหม่ที่สอดรับกับสถานการณ์โลกหลังวิกฤตโควิด-19 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมของกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ พลังงานสะอาด สุขภาพและการแพทย์

ทั้งนี้ ไทยมีความตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่น ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น (AJCEP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/138495/

พัฒนาการของไทย สู่ ‘ฮับ’ ยานยนต์ไฟฟ้าอาเซียน

ยานยนต์ไฟฟ้า ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างจริงจังในประเทศไทยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะ “อุตสาหกรรมใหม่” และในฐานะ “หนทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม” ของประเทศ หลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยไม่เฉพาะแต่เพียงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย แตกแขนงออกไปในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นรถบัสโดยสาร รถตุ๊กตุ๊ก รถขนาดเล็ก 4 ที่นั่งสำหรับใช้งานในเมือง บริการเช่ารถไฟฟ้า แอพพลิเคชั่นสำหรับเช่ารถไฟฟ้า เรื่อยไปจนถึงเรือใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว โดยทั้งหมดนั่นเริ่มต้นจากพื้นฐานของการเป็น “ฐานการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย เป็นรองเพียงแค่จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เท่านั้น” ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 ในเวลานี้ “โรดแม็ป” ของไทยในการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ตั้งเป้าหมายเอาไว้ที่ราวร้อยละ 30 ของรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศในปีหนึ่งๆ หรือราว 750,000 คัน ต้องเป็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในสิ้นทศวรรษนี้ จัดสรร “แรงจูงใจ” เชิงภาษีให้เพื่อดึงดูดบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ให้เข้ามาร่วมอยู่ในโครงการนี้

ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_390875