‘รายได้เฉลี่ยของคนงานเวียดนาม’ เพิ่มขึ้น 6.9% ปี 66

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ารายได้เฉลี่ยของคนงานเวียดนามในปี 2566 อยู่ที่  7.1 ล้านดองต่อคนต่อเดือน (หรือมากกว่า 291 ดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 6.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่รายได้เฉลี่ยของคนงานเพศชายและเพศหญิงอยู่ที่ 8.1 ล้านดอง และ 6 ล้านดอง ตามลำดับ โดยสาเหตุที่รายได้ของคนงานปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากภาคธุรกิจมีการผลิตมากขึ้นและกิจกรรมทางธุรกิจฟื้นตัวจากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-labourers-average-income-up-69-in-2023/275932.vnp

ทางการไทยต่ออายุใบอนุญาตให้แรงงานกัมพูชากว่า 4 หมื่นคน

ทางการไทยตกลงต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาเกือบ 40,000 คน หลังกรมแรงงานของทั้งสองประเทศทำงานร่วมกับและบรรลุข้อตกลง เพื่ออำนวยความสะดวกในการต่ออายุใบอนุญาตทำงานให้แก่แรงงานข้ามชาติผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้กระบวนการในการดำเนินการรวดเร็วขึ้นและไม่ยุ่งยาก ซึ่งตาม MoU ปัจจุบันกำหนดระยะเวลาต่อการออกใบอนุญาตทำงานไว้ที่ 4 ปี ต่อการต่ออายุ โดยทางการไทยขอให้ทางการกัมพูชาเร่งดำเนินการรับรองเอกสารข้อมูลส่วนบุคคลของแรงงานเพื่อต่ออายุใบอนุญาตการทำงาน ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากมีรายงานว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว บริการ การก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และการแปรรูปอาหาร

ขณะที่ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพของกัมพูชา (MLVT) รายงานว่ากัมพูชามีแรงงานที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศกว่า 1.3 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าว 1.2 ล้านคน ทำงานในประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 400 ดอลลาร์ต่อเดือน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501314077/thailand-agrees-to-renew-permits-for-40000-cambodian-workers/

“เวียดนาม” เผยไตรมาส 1/66 รายได้เฉลี่ยของแรงงานพุ่งสูงขึ้น

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 รายได้เฉลี่ยของแรงงานอยู่ที่ 7 ล้านดองต่อคน เพิ่มขึ้น 640,000 ดองเมื่อกับปีที่แล้ว โดยตัวแทนของสำนักงานสถิติประชากรศาสตร์และแรงงาน กล่าวว่าแรงงานมีรายได้เฉลี่ย 7 ล้านดองต่อเดือนในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ และในจำนวนแรงงานดังกล่าว รายได้เฉลี่ยต่อของแรงงานเพศชายอยู่ที่ 8 ล้านล้านดองต่อเดือน สูงกว่า 1.36 เท่า หากเทียบกับรายได้เฉลี่ยของแรงงานเพศหญิงที่ 5.9 ล้านดองต่อเดือน ตามมาด้วยรายได้เฉลี่ยของแรงงานที่อยู่ในเมืองอยู่ที่ 8.6 ล้านดองต่อเดือน ในขณะที่รายได้เฉลี่ยของแรงงานที่อยู่ในชนบทมีเพียง 6.1 ล้านดองต่อเดือน

ทั้งนี้ แรงงานที่อยู่ในภาคบริการพบว่ามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุด อยู่ที่ 8.3 ล้านดองต่อคน เพิ่มขึ้น 10.1% หรือราย 766,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่แรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม มีรายได้เพียง 4.1 ล้านดองต่อคน และ 7.9 ล้านดองต่อคน ตามลำดับ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/employees-average-income-rises-in-q1/

เกาหลีมอบเงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาชนบทภายใน สปป.ลาว

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งเกาหลี (KOICA) มอบเงินสนับสนุนให้แก่ สปป.ลาว ในการพัฒนาชนบทมูลค่า 12.5 ล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ เวียงจันทน์ เชียงขวาง และบอลิคำไซ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนผ่านโครงการสนับสนุนดังกล่าว ซึ่งกำหนดกรอบระยะเวลาในการสนับสนุนตั้งแต่ปี 2021-2025 ใน 14 หมู่บ้าน และ 7 แขวง ของแขวงเชียงขวาง บอลิคำไซ และเวียงจันทน์ โดยจุดมุ่งหมายของโครงการคือการสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการเกษตร ป่าไม้ และการพัฒนาชนบท พร้อมเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและระดับท้องถิ่นในการดำเนินการตามแผน สำหรับ KOICA ยังได้ให้การสนับสนุน สปป.ลาว ผ่านโครงการต่างๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นทางด้านสุขภาพ การศึกษา เศรษฐกิจ และการเกษตร ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_SKorea69.php

เกษตรกรปลูกมันบุกเสริม สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

เกษตรกรเมืองไจโดน รัฐกะเหรี่ยง กำลังปลูกมันบุกที่สวนหลังบ้านภายในครัวเรือนกันอย่างแพร่หลายซึ่งโตได้ดีโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ย และสสามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 3 ปี  ผลที่ได้ประมาณ  1-5 หัว  ปีที่แล้วราคาหัวมันเทศสดสูงสุด 1,500 K ต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manageable-scale-elephant-foot-yam-growers-earn-extra-income/#article-title

เกษตรกรแห่ปลูกกระเจี๊ยบมอญ สร้างรายได้งามตลอดปี

เกษตรกรเขตซะไกง์ ปลูกกระเจี๊ยบมอญ (Okra) ได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้งามให้เกษตรกร ซึ่งต้นทุนการเพาะปลูกประมาณ 300,000 จัต ซึ่งรวมปุ๋ย เมล็ดพืช ยาฆ่าแมลง และการไถพรวนเข้าไปด้วย กระเจี๊ยบมอญเหมาะที่จะปลูกในอากาศร้อน และผลผลิตจะลดลงในฤดูหนาว โดยสามารถวางขายได้สองเดือนหลังจากการเพาะปลูกทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อวันกว่า 50,000 จัต ทั้งนี้ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนเกษตรกรมักจะปลูกพริก แตงกวา หัวหอม ข้าวโพด ดอกเบญจมาศ ดอกแกลดิโอลัส กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และมะเขือเทศ ในขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่เลือกปลูกกระเจี๊ยบมอญในฤดูมรสุมเนื่องจากสามารถปลูกได้ผลดีแม้ในฤดูฝน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/lucrative-ladies-fingers-attract-farmers-to-grow-all-year-round/

สปป.ลาวจะมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตในปีหน้า

รัฐบาลคาดว่าจะมีรายได้ก้อนแรกจากการขายคาร์บอนเครดิตในปีหน้าหลังจากลงนามในข้อตกลงกับธนาคารโลก รองอธิบดีกรมป่าไม้กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า “รัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลงกับธนาคารโลกในการขายคาร์บอนเครดิตจากพื้นที่ป่าที่กำหนดใน 6 แขวงทางตอนเหนือของสปป.ลาว และคาดว่าจะได้รับเงินประมาณ 15 ล้านเหรียญสหรัฐจากการขายคาร์บอนเครดิตในปี 2565” ธนาคารโลกระบุว่าสถาบันการเงินระหว่างประเทศได้กำหนดงบประมาณภายใต้ Forest Carbon Partnership Facility ประมาณ 42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อซื้อคาร์บอนเครดิตจากสปป.ลาวในปี 2563 ถึง 2568 ความคิดริเริ่มของธนาคารโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนและรูปแบบสภาพอากาศที่รุนแรงทั่วโลก ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาประเทศที่พัฒนาแล้วและ บริษัท รายใหญ่ได้ตกลงที่จะซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศต่างๆเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบทางธุรกิจเพื่อสังคมของตน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos20.php

การขาดรายได้ในช่วง COVID-19 จะเพิ่มภาระหนี้แก่สปป.ลาว

รายได้ในประเทศคาดว่าจะลดลงอีกจากร้อยละ 13.5 ในปี 2019 เป็นร้อยละ 10.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2020 ตามรายงานของธนาคารโลก ดังนั้นการขาดดุลการคลังคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 7.6 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 5.1 ของ GDP ในปี 2019 ซึ่งจะส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันต่อความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศท่ามกลางวิกฤต COVID -19 นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลธิ์ได้สั่งการกระทรวงการคลังให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับรายได้ประชาชาติให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาทางการเงินของประเทศกระทรวงการคลังมีแนวทางในการเพิ่มรายได้โดยจะมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมจากโครงการสัมปทานต่างๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นๆ อย่างไรก็ตามการขาดดุลงบประมาณคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบที่ยาวนานของการแพร่ระบาดของ COVID -19 ต่อธุรกิจต่างๆ และจะทำให้สปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงในการชำระหนี้ในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Projected197.php

รายได้ของคนเวียดนามดิ่งลง 90% เหตุโควิด-19

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้รายได้ของคนเวียดนามลดลงถึงร้อยละ 90 และต้องลดค่าใช้จ่ายลง ซึ่งจากผลสำรวจของอิปซอสส์ (Ipsos) จำนวนตัวอย่าง 500 ราย พบว่ารายได้ของคนเวียดนามลดลงกว่าร้อยละ 20 ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ขณะที่ ผู้ที่มีรายได้น้อย ร้อยละ 17 (ประมาณ 323 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน) กล่าวว่าครอบครัวของเขาต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว การกินอาหารนอกบ้าน เสื้อผ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่าง 2 ใน 3 คาดว่ารายได้อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตอันเร็วๆนี้ เนื่องจากเวียดนามไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อรายใหม่ในชุมชนนานกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) แสดงให้เห็นว่าผู้คนตกงาน 31 ล้านคนหรือร้อยละ 57.3 ที่รายได้ปรับตัวลดลงจากโควิด-19 อีกทั้ง รายได้เฉลี่ยของคนเวียดนามลดลงร้อยละ 10.2 ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ อยู่ที่ 224 ดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/pandemic-lowers-incomes-of-90-of-vietnamese-416265.vov