ยูเครน-น้ำมันดันค่าสร้างบ้านพุ่ง

นายวรวุฒิ กาญจนกูล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดเผยถึงแนวโน้มธุรกิจรับสร้างบ้าน ปี 2565 ว่า ภาพรวมตลาดมีสัญญาณที่เป็นบวกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 จากยอดการจองปลูกสร้างบ้านในงานรับสร้างบ้านและวัสดุ Expo 2021 ที่จัดขึ้นเมื่อปลายเดือนพ.ย. 2564 พบยอดเติบโตขึ้นกว่าปีก่อนถึง 20% จนมาถึงช่วงเดือนม.ค. – ก.พ. 2565 ยังมีผู้บริโภคที่ต้องการปลูกสร้างบ้านติดต่อมายังบริษัทที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและต่างจังหวัด อย่างไรก็ดี ยังต้องจับตามองปัจจัยต่าง ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อต้นทุนบ้าน ทั้งวิกฤตสงครามรัสเซียและยูเครน ต้นทุนราคาน้ำมัน  ในส่วนของสมาคมฯ ประเมินว่า การขึ้นค่าแรงหากไม่เกิน 10-15% จะไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่หากปรับค่าแรงขึ้นถึง 30-40% จะส่งผลค่อนข้างมาก ซึ่งได้มีการเตรียมแผนรับมือไว้ในหลายส่วนด้วยกัน

ที่มา: https://www.naewna.com/business/641396

เปิดประเทศ-ผ่อนคลายมาตรการ ผลักดันอสังหาฯปี 65 ขยายตัว15-20%

นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัทลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom หรือ LWS) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์  (LPN) กล่าวถึงแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2565 ว่า มีแนวโน้มเติบโต 15-20% ตามการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเติบโต 3.5-4% ผลจากมาตรการเปิดประเทศ รวมถึงการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Loan-to-Value: LTV) โดยกำหนดให้เพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน เป็น100% สำหรับที่อยู่อาศัยทุกประเภท ซึ่งมีผลจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 โดยปัจจัยเสี่ยงในปี 2565 คือ ภาระหนี้ครัวเรือนที่สูง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และแนวโน้มการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธ์ “โอมิครอน”
ที่มา: https://www.naewna.com/business/625012

ชมผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาฯ กระตุ้นศก.ไทยคึก

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต เปิดเผยว่า สนับสนุนการผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดกระตุ้นในเกิดธุรกรรมซื้อขาย การจ้างงานและการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า การประกาศมาตรการผ่อนคลายการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ชั่วคราวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้และต่อเนื่องไปถึงปีหน้า คาดว่า ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ภาคก่อสร้างและธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมทั้ง โรงแรมและรีสอร์ทในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีปัญหาสภาพคล่องและไม่สามารถดำเนินการธุรกิจต่อได้ จะถูกเปลี่ยนมือเป็นผู้ลงทุนรายใหม่ได้ง่ายขึ้น

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/666310

แนะรัฐให้ต่างชาติซื้อบ้านได้เฉพาะ กทม. อีอีซี ภูเก็ต ราคาเกิน 10 ล้านขึ้นไป

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า การขยายสิทธิให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองชุดบ้านจัดสรรได้เพิ่มขึ้น ควรกำหนดให้ซื้อได้เฉพาะบ้าน หรือคอนโดฯ ระดับหรูที่มีราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อไม่ให้มาแย่งซื้อที่อยู่อาศัยจากคนชั้นกลาง หรือคนทำงาน ซึ่งนิยมซื้อบ้านราคาปานกลาง 3-8 ล้านบาท เพราะอาจทำให้ที่อยู่อาศัยราคาแพงขึ้น นอกจากนี้ ควรกำหนดโซนถือครองบางพื้นที่ เฉพาะในเขตเศรษฐกิจสำคัญ เช่น  กรุงเทพฯ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือภูเก็ต ไม่ควรเปิดให้เข้ามาถือครองได้อิสระ ส่วนการขยายกรรมสิทธิ์เกิน 30 ปี  ควรแบ่งเป็นช่วง ๆ ต่ออายุได้อีกครั้งละ 30 ปี อีก 2 ครั้ง รวมเป็น 90 ปี รวมถึงการถือครองคอนโดฯ แม้จะขยายสัดส่วนเข้าอยู่ได้เกิน 49% แต่ก็ควรจำกัดสิทธิการโหวตไม่เกินกึ่งหนึ่งเหมือนเดิม เพื่อให้คนไทยยังเป็นเสียงส่วนใหญ่อยู่

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/292995/

อสังหาฯ หวั่นเจ็บแต่ไม่จบแนะ 3 แผนสกัด

นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า มาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ รัฐบาลต้องวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่า ระหว่างล็อกดาวน์ 14 วัน โดยมี 3 วาระที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน คือ 1.จัดให้มีการตรวจคัดกรองให้มากที่สุด 70 -80% ของคนในพื้นที่ ของประชาชนให้้มีโอกาสได้ตรวจคัดกรองในราคาที่ไม่แพง 2.เร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่สีแดง ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และ 3.เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ จะดูแลอย่างไร เพราะสุดท้ายต้องกลับภูมิลำเนาทำให้เกิดการแพร่เชื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948347

พิษโควิดฉุดอสังหาฯ เขตอีอีซี ค้างสต๊อก 2.2 แสนล้าน

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เผย แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ในปี 64 มีทิศทางชะลอตัวลงชัดเจนจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ทำให้ยอดขายหดตัวลงทั้งจำนวนและมูลค่า จนคาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือค้างสต๊อกมากถึง 68,170 หน่วย มูลค่า 2.21 แสนล้านบาท

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/845527

อสังหาฯ มัณฑะเลย์ ปรับตัวเน้นให้เช่ามากขึ้น

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของมัณฑะเลย์เริ่มเปลี่ยนเป็นให้เช่าแทน ตัวแทนภาคอสังหาริมทรัพย์กล่าวว่าการระบาดของ COVID-19 และความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้กระทบตลาดอย่างรุนแรง ซึ่งต้องใช้เวลาสักพักกว่าที่ตลาดจะฟื้นตัวและต้องอาศัยการให้เช่าเพื่อพยุงในช่วงนี้ไปก่อน เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเน้นเก็บเงินสดงดการบริโภค จากความวุ่นวายทางการเมืองในปัจจุบัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-real-estate-market-clinging-rentals.html

ผู้ให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชามีมุมมองเชิงบวกสำหรับปี 2021

แม้ชาวต่างชาติที่เคยพักอาศัยอยู่ในกัมพูชาจะลดลงเป็นอย่างมากในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 ทำให้ภาคธุรกิจการปล่อยเช่าไม่ค่อยจะดีนักในกัมพูชา แต่ก็ได้คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวกลับมาดีขึ้นในปี 2021 โดยผู้จัดการฝ่ายขายของ Asian Condo Brokers กล่าวว่ากัมพูชาโดยรวมยังคงเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับการลงทุนจากต่างชาติแม้ว่าจะมีการระบาดอย่างหนักในปัจจุบันก็ตาม ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดความต้องการในอสังหาริมทรัพย์ที่หลากหลายและกระตุ้นความต้องการของตลาดให้เช่าในกัมพูชาได้ในอนาคต โดยชาวต่างชาติประมาณร้อยละ 80 ได้ทำการย้ายถิ่นฐานกลับไปยังภูมิลำเนาของตนเองในช่วงแรกของการระบาดของ COVID-19 ส่งผลทำให้ราคาค่าเช่าลดลงประมาณร้อยละ 20 และบริมาณการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ลดลงประมาณร้อยละ 40 ภายในสิ้นปี 2020 ซึ่งหากวัคซีนมีประสิทธิภาพมากพอและมีการพิจารณาให้เปิดพรมแดนอีกครั้งคาดว่าตลาดการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะกลับสู่สภาวะปกติในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814018/rental-sector-businesses-share-positive-outlook-for-market-in-2021/

ราคาอสังหาฯ มัณฑะเลย์คาดหดตัวลงในปี 64

สมาคมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งเมียนมาเผยอสังหาริมทรัพย์ในเขตมัณฑะเลย์คาดลดลง 5% ถึง 25% ในปีงบประมาณ 63-64 ราคามาตรฐานจะอัพเดททุกปี สำหรับราคาของปีนี้ประกาศในเดือนตุลาคม 63 ที่ผ่านมา ขณะนี้เขตอุตสาหกรรมและพื้นที่ใหม่ของมัณฑะเลย์เป็นที่ต้องการอย่างมากเนื่องจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องการที่ขายออกเนื่องจากปัญหาทางการเงินที่เกิดจากการระบาดของโควิด -19 ซึ่งผู้ซื้อกำลังมองหาโอกาสนี้ในการลงทุนในยุคหลัง COVID-19 อย่างไรก็ตามตลาดอสังหาริมทรัพย์ในตัวเมืองชั้นในมีความซบเซาลงด้วยธุรกรรมที่ลดลงไปด้วยเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-property-prices-expected-drop-2021.html

โควิด-19 ดันยอดสินเชื่อบ้านพุ่งสูงขึ้น

สมาคมบริการอสังหาริมทรัพย์แห่งเมียนมาเผย ยอดสินเชื่อของธนาคารจาการ ขายอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น สินเชื่อบ้านยังคงได้รับความนิยมอย่างมากในปีนี้แม้ว่ายอดอสังหาริมทรัพย์ที่ขายในตลาดจะลดลงก็ตาม ผลจากราคาลดลงและอัตราดอกเบี้ยลดลง สินเชื่อบ้านจึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดอสังหาฯ ส่วนใหญ่ในเขตเมืองนอกย่างกุ้งโดยพาะอพาร์ตเมนต์ที่มีราคาต่ำกว่า 50 ล้านจัต จากผลกระทบของ COVID-19 ยอดขายในครึ่งปีหลังลดลงอย่างมาก แต่หลังจากการล็อกดาวน์ COVID-19 ระรอก 2 การขายและการตลาดออนไลน์ได้เข้ามามีส่วนสำคัญเนื่องจากตัวแทนผู้ซื้อและผู้ขายแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะพบกัน พบว่าผู้ซื้อมากกว่า 90% ค้นหาที่อยู่อาศัยหรืออสังหาฯ ทางออนไลน์ของบริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือ ทั้งนี้นายหน้าต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสนร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคยุคใหม่อีกด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/home-loans-rise-during-covid-19-period.html