ธนาคารกลางกัมพูชาควบคุมและตรวจสอบภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด

          ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวว่ากำลังติดตามการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับธนาคารในด้านการเติบโตของสินเชื่อภายในประเทศ โดยสำนักงานเครดิตบูโรประเทศกัมพูชา (CBC) รายงานว่าสินเชื่อผู้บริโภค ณ เดือนกันยายน 2562 มีมูลค่ารวมถึง 7.65 พันล้านเหรียญสหรัฐและคิดเป็นสินเชื่อจำนอง 48.36% บัตรเครดิต 0.61% และสินเชื่อส่วนบุคคลอีก 51% ซึ่ง CBC กล่าวว่าหนี้จำนองที่ค้างชำระ 30 วันขึ้นไป ณ เดือนกันยายน 2562 มีเพียง 0.57% ของทั้งหมดขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่อผู้บริโภคอยู่ที่ 1.75% และบัตรเครดิตอยู่ที่ 2.65% โดยเหล่านี้เรียกว่าสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) โดยธนาคารกลางเตือนว่าหากผู้บริโภคไม่ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ทำให้การเพิ่มขึ้นของสินเชื่ออาจกลายเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงผู้ว่าการธนาคารกลางกล่าวว่าเศรษฐกิจของกัมพูชาอาจเผชิญความเสี่ยงในปีนี้เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบเนื่องจากสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อภาคการตัดเย็บเสื้อผ้า นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากอุปทานส่วนเกินในภาคการก่อสร้างที่อาจนำไปสู่วิกฤตสินเชื่อ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50681542/central-bank-closely-monitoring-real-estate-and-construction

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของกัมพูชายังคงมีแนวโน้มคงที่ในปี 2563

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลักของประเทศในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะยังคงมีความมั่นคงและเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาคส่วนที่นักธุรกิจภายในมองว่าเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับนักลงทุน โดยผู้อำนวยการฝ่าย CBRE กัมพูชากล่าวว่าตลาดแสดงสัญญาณการฟื้นตัวในปีนี้แม้จะมีความเสี่ยงและความวุ่นวายต่างๆเกิดขึ้น ซึ่งการพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาปะหยัดและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นน่าจะเป็นจุดสนใจสำหรับปี 2563 ตามรายงานของ CBRE ในไตรมาสที่สามของปี 2562 กรุงพนมเปญรายงานว่ามีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่ 9 โครงการ คิดเป็น 5,140 ยูนิต โดยการเปิดตัวโครงการใหม่จะมุ่งเน้นไปที่อำเภอ Chamkarmon และ Chroy Changvar ซึ่งคิดเป็น 44% และ 40% ของหน่วยที่เปิดตัวใหม่ตามลำดับ ส่วนใหญ่ของการเปิดตัวใหม่อยู่ในตำแหน่งช่วงกลางซึ่งประกอบด้วยประมาณร้อยละ 52 (ประมาณ 2,700 หน่วย) ของการเปิดตัวทั้งหมด

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50679140/real-estate-market-stable-for-2020

ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชา

บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่งเปิดใหม่หรือมีชื่อว่า IWF Investment Cambodia ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Tin Yuet (TY) ของสิงคโปร์ โดยบริษัทในสิงคโปร์และ Asia Union Reits จะให้คำปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์และให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์แก่นักลงทุนต่างชาติในกัมพูชา ซึ่งมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างพิธีเปิดการลงทุนอย่างเป็นทางการของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ IWF Investment โดยกล่าวเสริมว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชากำลังเติบโตควบคู่ไปกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งให้โอกาสมากมายแก่นักลงทุน ซึ่งจะร่วมเป็นพันธมิตรกับ TY Capital นำนักลงทุนต่างชาติที่สนใจในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มายังกัมพูชา โดย TY Capital จะให้คำปรึกษาแก่นักลงทุนต่างชาติและจะแนะนำนักลงทุนให้กับ IWF Investment สำหรับการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศกัมพูชา ซึ่งหวังว่าการเป็นพันธมิตรกับ TY Capital จะนำนักลงทุนมาที่กัมพูชามากขึ้นและยังนำความรู้ด้านเทคนิคมาสู่กัมพูชาอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677277/real-estate-firms-cement-a-powerful-partnership

การกระตุ้นเศรษฐกิจของเมียนมา

การใช้นโยบายลดความร้อนแรงในตลาดอสังหารัมทรัพย์ ในช่วงปี 58 เพราะในช่วงดังกล่าวการเก็งกำไรทำให้ราคาของอสังหาริมทรัพย์ ราคากระโดดไปสูงมาก ทำให้การลงทุนในภาคการผลิตก็หยุดชงักลง ดังนั้นจึงออกมาตรการกฎหมายเงินขาว-เงินดำ คือให้จ่ายภาษีซื้อ-ขายอสังหาริทรัพย์ด้วยอัตรา 30% ทำให้เกิดการชะงักทันที เกิดปัญหาในตลาดอสังหาฯ ในย่างกุ้งเพราะเมื่อไม่มีการซื้อขาย ทำให้กระแสเงิน M1 M2 M3 ขาดไปจากตลาดจนเกิดปัญหาเงินฝืด การลงทุนภาคการผลิตลดลง จับจ่ายใช้สอยของประชาชนฝืดเคืองลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีกฎหมายใหม่ออกมา โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ต.ค. 62 นี้ คือลดภาษีซื้อ-ขายสินค้าทุกชนิดรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ ในอัตราก้าวหน้าทั้งหมด กล่าวคือ การซื้อขาย ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 100 ล้าน ให้เสียภาษี 3% 101 ล้านถึง 300 ล้าน ให้เสียภาษี 5% 301 ล้านถึง 1,000 ล้าน ให้เสียภาษี 10% 1001 ล้านถึง 3,000 ล้าน ให้เสียภาษี 15% 3001 ล้านขึ้นไป ให้เสียภาษี 30% สิ่งที่ตามมา คือ ภาษีน้อยลงไปทันที ราคาสินค้าถูกลง สิ่งที่จะตามมาคือกลับเข้าสู่ภาคเงินออม Saving Money เงินเหล่านี้มีบางส่วนจะเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปของการบริโภค เมียนมาเพียงลดอัตราดอกเบี้ยลง คนก็จะไม่นิยมฝากเงิน เพราะได้ไม่มากเท่าการนำเงินไปลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะส่งผลไปยังภาคการผลิตทันที ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้ว รัฐบาลมีอิสระในการจัดการแก้ปัญหา เพียงแต่ปัญหาของเมียนมาเริ่มมีมานานเกือบ 70 ปีมาแล้ว

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/603433

จังหวะของการลงทุน

ในระยะเวลาปีสองปีต่อจากนี้ไป คือช่วงเวลาเหมาะต่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากผ่านพ้นไปอีก 4 – 5 ปี คงมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เพราะวันนี้สภาวะของอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงขาลงสุดๆ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่นำออกมาใช้ลดความร้อนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อต้องการกระตุ้นการลงทุน ด้วยการออกนโยบายเงินขาว-เงินดำ แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลมากนัก คือการออกนโยบายเก็บภาษีซื้อ-ขายที่ดินแบบบ้าระห่ำ ทำให้ไม่มีคนซื้อ ราคาตกไปเกือบ 20% ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ผ่านมา รัฐออกกฎหมายซื้อ-ขายที่ดินแบบอัตราก้าวหน้ามาใช้ ทำให้การซื้อการอสังหาริมทรัพย์ได้รับอานิสงค์ และการที่ค่าเงินจัตอ่อนลงถึง 80% ทำให้น่าลงทุน เพราะถูกลงเกือบ 80% เช่น ราคาที่ดิน และอาคารโกดังปีที่แล้ว อยู่ที่อยู่เอเคอร์ละ 600 ล้านจัต เป็นเงินบาทประมาณ 13.95 ล้านบาท ในขณะที่วันนี้ราคาตกอยู่ที่ 550 ล้านจัต ราคาประมาณ 11 ล้านบาท หรือลดลง 21.14% เรียกว่าตลาดเป็นของผู้ซื้อจริงๆ เนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศที่อ่อนไหวต่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายง่าย เมื่อมีความต้องการที่จะแก้กฎหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แค่นำเรื่องเสนอเข้าสภามีผลบังคับใช้ทันที ดังนั้นถ้ากฎหมายมีประโยชน์หรือมีความจำเป็น รับรองมีการประกาศใช้แน่นอน ถ้าหากเมียนมาเสนอให้เราแล้ว ต้องรีบยื่นเรื่องขอใบอนุญาต MIC (Myanmar Investment Committee) ทันที ซึ่งการที่จะถอนใบอนุญาตหรือยกเลิกการส่งเสริม มีทางเดียวคือทำผิดกฎหมายร้ายแรง นี่คือ “จังหวะของการลงทุน” อย่างแท้จริง

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/606619

การเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงแข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีแรก

ภาคอสังหาริมทรัพย์ของกัมพูชามีการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรก โดยมีการดูดซับตลาดที่แข็งแกร่งสำหรับบ้านและคอนโดมิเนียมตามรายงานล่าสุดจากการประเมินของ VTrust ซึ่งการปรับปรุงตลาดอสังหาริมทรัพย์ของกรุงพนมเปญในช่วงครึ่งปีแรกมีการเปิดตัวโครงการบ้านจัดสรรกว่า 13,900 ยูนิตจาก 82 โครงการและกำลังดำเนินการก่อสร้างถึง 4,600 แห่ง โดยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยการประเมิน VTrust กล่าวว่าอัตราการดูดซับตลาดที่แข็งแกร่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสุขภาพของภาคธุรกิจ ซึ่งอุปทานใหม่ในกรุงพนมเปญมีมากกว่า 147,000 ตารางเมตร ณ เดือนมิถุนายน โดยประธานสมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ของกัมพูชากล่าวว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชาจะยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอีกห้าปีข้างหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงพนมเปญ สีหนุวิลล์ เค็ป กัมปอต เสียมราฐ พระตะบองและเกาะกง ซึ่งการเติบโตนี้เกิดขึ้นได้จากรายได้ที่สูงขึ้นในหมู่คนท้องถิ่นการสนับสนุนของธนาคารพาณิชย์ความพยายามของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระเบียบข้อบังคับ รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50654869/real-estate-growth-robust-in-h1-vtrust/

อสังหาฯชะลอฉุดตลาดลิฟท์ ‘ฮิตาชิ’หันรุกซีแอลเอ็มวี

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (กัมพูชา) จำกัด ผู้ผลิตและให้บริการลิฟต์และบันไดเลื่อนฮิตาชิ กล่าวว่า ปีนี้ตลาดลิฟต์ในประเทศไทยทรงตัว เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่ไม่ลงทุนโครงการตึกสูง ทำให้ภาพรวมตลาดลิฟท์ทุกยี่ห้อ มีความต้องการลดลง จากปัจจุบันมีดีมานด์ปีละ7,000-8,000 ยูนิต ขณะที่ตลาดลิฟต์ในกลุ่ม CLMV เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องเพราะเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะช่วง 5 ปีที่ผ่านมา GDP ของประเทศกัมพูชาโต 6-7% เนื่องจากนักลงทุนรายใหญ่จากจีนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอสังหาฯ ส่งผลให้ความต้องการใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนเติบโตต่อเนื่องปีละ 10% จากดีมานด์ที่มีอยู่ 1,500 ยูนิต  กลยุทธ์การทำตลาดจะเน้นการหาลูกค้า ที่เป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ของกัมพูชา และจะใช้วิธีการมัดจำก่อนล่วงหน้า 60% ที่เหลือ 40% ลูกค้าต้องชำระหลังจากติดตั้งเสร็จเพื่อลดความเสี่ยง สำหรับตลาดลิฟต์ในกัมพูชา แบ่งออก 2 ตลาด ตลาดอินเตอร์แบรนด์จาก ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ถือว่าเป็นสินค้าคุณภาพ ราคาสูง ส่วนตลาดโลคัล ส่วนใหญ่สินค้าผลิตมาจากจีน มีราคาต่ำกว่า 20-50%  เนื่องจากตลาดลิฟต์ในกัมพูชาเป็นตลาดเปิดยังไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการซื้อ ขายติดตั้ง ลิฟต์ และบันไดเลื่อน ดังนั้นการนำเข้าจากประเทศต่างๆ สามารถนำเข้ามาขายได้อย่างเสรี รวมถึงสามารถสั่งซื้อตรงได้จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีน และเวียดนาม ซึ่งมีราคาถูกมาก

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/850176

ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้มีการลงทุนในคลังสินค้าและโรงงานในกัมพูชา

ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์กำลังเรียกร้องให้มีการลงทุนในภาคบริการของกัมพูชาทั้งการให้บริการคลังสินค้าและการเช่าโรงงานเนื่องจากความต้องการสูง แต่ขาดตลาด โดย Sear Rithy ประธานกลุ่ม WorldBridge และผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อเสียงกล่าวในงานแสดงภาคอสังหาริมทรัพย์ครั้งที่ 5 ที่จัดขึ้นโดย realestate.com.kh เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่านักลงทุนจำนวนมากต่างพากันหลั่งไหลเข้าสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยแนะให้นักลงทุนเห็นถึงความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจโรงแรม คาสิโน โรงงานและคลังสินค้า ที่มีความน่าสนใจให้สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ภาคการขนส่ง และตอบรับต่อความต้องการที่จะเกิดขึ้นภายในประเทศ ทั้งภาคการผลิตของจีนที่มีการย้ายฐานการผลิตมายังกัมพูชาที่มีความต้องการโรงงานและคลังสินค้าในการผลิตและจัดเก็บสินค้า โดยมองว่าคลังสินค้าหรือโรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งรัฐบาลมีส่วนร่วมในการขอให้นักลงทุนสร้างโรงงานในแถบชานเมืองที่มีราคาที่ดินยังไม่สูงมาก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50648875/experts-urge-investment-in-warehouses-and-factories/