มูลค่าการค้าทวิภาคี กัมพูชา-ออสเตรเลีย เติบแตะเกือบ 260 ล้านดอลลาร์

ปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและออสเตรเลียในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพิ่มสูงขึ้นกว่า 258 ล้านดอลลาร์ ตามการรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา ซึ่งคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชาไปยังออสเตรเลียที่มูลค่า 180 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาจากออสเตรเลียมีมูลค่าอยู่ที่ 77 ล้านดอลลาร์ โดยออสเตรเลียเน้นการนำเข้าสินค้ากลุ่มสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าด้านการเกษตรเป็นสำคัญ ซึ่งทางการกัมพูชาคาดหวังเป็นอย่างมากว่าการส่งออกและนำเข้าระหว่างสองประเทศจะขยายตัวต่อเนื่อง ภายใต้การมีอยู่ของ RCEP ซึ่งใน 2022 ปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและออสเตรเลียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 205 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 เพิ่มขึ้นเป็น 523 ล้านดอลลาร์ในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501330676/cambodia-australia-bilateral-trade-volume-nearly-260-million/

สปป.ลาว-ออสเตรเลีย ให้คำมั่นสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Saleumxay Kommasith และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย Penny Wong ได้ตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและขยายความร่วมมือระหว่าง สปป.ลาว และออสเตรเลีย ในทุกมิติ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและออสเตรเลียเตรียมฉลองครบรอบ 50 ปี ของการเป็นหุ้นส่วนการเจรจา ออสเตรเลีย ซึ่งออสเตรเลียถือเป็นประเทศผู้สนับสนุนรายสำคัญของ สปป.ลาว โดยได้ให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และกิจการภายในกรอบอาเซียน เพื่อหวังพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ สปป.ลาว ไปจนถึงการบรรเทาความยากจนภายในประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten92_Laos_Australia_y23.php

กัมพูชาส่งออกไปยังออสเตรเลียโตกว่า 85% ในช่วงปีก่อน

ออสเตรเลียกลายเป็นหนึ่งในคู่ค้ารายสำคัญของกัมพูชา โดยในปี 2022 มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังออสเตรเลียเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 84.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 523 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัวร้อยละ 60.9 เทียบกับปี 2021 ส่งผลทำให้กัมพูชาเกินดุลการค้ากับออสเตรเลียที่ 234 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 โดยกัมพูชาเน้นการส่งออก เสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าเพื่อการเดินทางไปยังออสเตรเลีย ขณะที่การนำเข้าของกัมพูชา ได้แก่ ถ่านหิน เครื่องจักร และธัญพืช เป็นหลัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501227589/kingdoms-exports-to-australia-surge-by-85/

ออสเตรเลีย งดรับแรงงานเกษตร เข้าประเทศ !

เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2565 นาย พอล เคลลี เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำสปป.ลาว กล่าวว่า รัฐบาลออสเตรเลียประกาศงดรับแรงงานต่างชาติในภาคเกษตรผ่านโครงการวีซ่าแรงงานเกษตร ในระหว่างเข้าพบนาง เบย์คัม คัตติยา รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่ง นาง เบย์คัม คัตติยา แสดงความหวังว่าทั้ง 2 ประเทศ จะทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานสปป.ลาวที่ถูกส่งไปทำงานยังออสเตรเลียผ่านโครงการอื่น ๆ จะได้รับประสบการณ์ พัฒนาทักษะแรงงาน และส่งเงินกลับมายังครอบครัวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น แม้ว่าสปป.ลาวและออสเตรเลียจะยังไม่ได้ลงนาม MoU เกี่ยวกับการส่งออกแรงงาน แต่มีบางบริษัทได้แอบอ้างโฆษณาว่าสามารถพาไปทำงานที่ออสเตรเลีย ทั้งนี้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เตือนประชาชนไม่ให้หลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการจ้างงานที่ผิดกฎหมาย

ที่มา: http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=67833

 

ออสเตรเลียหนุน สปป.ลาว ปรับปรุงการเชื่อมต่อการขนส่งและการค้า

เมื่อวันที่ 7 ก.ค.2565 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ นายพอล เคลลี เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำสปป.ลาว และนายวิไลคำ โพธิ์สาละห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ได้ลงนามร่วมกันภายใต้ความร่วมมือในการพัฒนาประเทศระหว่างออสเตรเลีย-สปป.ลาว ด้วยเงินทุนสนับสนุนจากออสเตเลียมูลค่ากว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจะดำเนินการผ่านโครงการ Partnerships for Infrastructure (P4I) ที่เป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Regional Economic Corridor and Connectivity : SEARECC) ซึ่งสปป.ลาว เชื่อมั่นว่า SEARECC จะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับสปป.ลาว ได้ โดยออสเตลียเชื่อมั่นว่าการปรับปรุงการเชื่อมต่อการขนส่ง การวางแผน และการค้าชายแดนจะช่วยเปลี่ยนให้สปป.ลาว จากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นประเทศที่การเชื่อมโยงทางบก และเพิ่มโอกาสในการลงทุนและการจ้างงานในประเทศ

ที่มา: https://laotiantimes.com/2022/07/08/laos-to-bolster-sustainable-trade-diversify-value-chains-under-arise-plus-project/

ออสเตรเลียขยายเทคโนโลยีการจัดการน้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐบาลออสเตรเลียกำลังลงทุนด้านเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อปกป้องปลาและส่งเสริมสุขภาพแม่น้ำและความมั่นคงด้านอาหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของสภาพอากาศทั่วทั้งภูมิภาคแม่น้ำโขง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รองเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำลาว นายแดน เฮลดอน ได้ประกาศขยายความร่วมมือระหว่างออสเตรเลียกับรัฐบาลลาวในเรื่องทางเดินปลาในโครงสร้างการจัดการน้ำ หรือเรียกว่า “บันไดปลา” ซึ่งสร้างขึ้นรอบๆ สิ่งกีดขวาง เช่น เขื่อนชลประทานและฝาย เพื่อให้ปลาสามารถอพยพขึ้นและลงทางน้ำได้ไม่จำกัดเพื่อเข้าถึงแหล่งอาหาร จุดเพาะพันธุ์ และอื่นๆ การลงทุนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของออสเตรเลียในการสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาที่เข้มแข็งกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคผ่านโครงการหุ้นส่วนแม่น้ำโขง-ออสเตรเลีย – น้ำ พลังงาน และสภาพภูมิอากาศ โปรแกรมนี้สนับสนุนประเทศในลุ่มน้ำโขง รวมทั้งลาว เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางน้ำ ส่งเสริมพลังงานสะอาด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การผลิตปลามีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ของครัวเรือนจำนวนมาก ดังนั้น การปกป้องพันธุ์ปลาจึงมีความสำคัญต่อผู้คน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Over110.php

ออสเตรเลียให้คำมั่นที่จะสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสปป.ลาว

ออสเตรเลียได้ประกาศว่าจะสนับสนุนโครงการ BEQUAL ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการ Basic Education ด้วยงบประมาณประมาณ 28 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียฯในช่วง 4 ปีข้างหน้า ระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้มแข็งจะช่วยให้มีแรงงานที่มีทักษะและประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สปป.ลาวทนเพิ่มรายได้ และช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง นั่นไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่ประเทศของคุณเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์ทั้งภูมิภาคด้วย ออสเตรเลียขยายเงินทุนสำหรับสถาบันลาว-ออสเตรเลียซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2014 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สองขั้นตอนแรกของสถาบันได้มอบทุนการศึกษา Australia Awards มากมาย ทุนการศึกษาระดับชาติของ Laos Australia และการฝึกอบรมและความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ผู้คนจำนวนมากในประเทศลาว

ที่มา:https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Australia_40.php

ภาคเอกชนกัมพูชามองหาโอกาสการส่งออกไปยังออสเตรเลีย

นักธุรกิจรวมถึงผู้ส่งออกในกัมพูชา มองหาโอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยเฉพาะข้าวสาร ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลียมาเยือนกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันการส่งออกของกัมพูชาไปยังออสเตรเลียและตลาดต่างประเทศอื่นๆ ยังคงเป็นเรื่องยาก จากการคมนาคมขนส่งที่ยังคงเผชิญกับอุปสรรคอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งผู้ส่งออกข้าวของกัมพูชายังได้กล่าวเสริมว่า ขั้นตอนที่แตกต่างกันและการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศผู้นำเข้าต่างๆ ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวของกัมพูชาในปัจจุบัน โดยนอกจากความคาดหวังทางด้านการส่งออกแล้วกัมพูชายังคาดหวังด้านการลงทุนจากนักลงทุนออสเตรเลีย ในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสำคัญ ซึ่งในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังออสเตรเลียรวม 8,200 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50967508/private-sector-optimistic-about-business-with-australia/

กัมพูชาลงนาม MoU ร่วมกับออสเตรเลีย ลงทุนด้านอาหาร

กัมพูชาและออสเตรเลียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนสำหรับ Agri-Food Investment Desk (AFID) ที่สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) มีเป้าหมายเพื่อสร้างงานและปรับปรุงมาตรฐานในภาคการเกษตรของกัมพูชา โดยพิธีการดังกล่าวจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ ได้รับเกียรติจากเลขาธิการ CDC และรัฐมนตรี Sok Chenda Sophea พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นโดย CDC ร่วมกับกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (MAFF) และกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลีย (DFAT) โดย CDC กล่าวว่า พิธีดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ CDC, MAFF และ DFAT ในการส่งเสริมการลงทุนด้านการเกษตรภายใต้กรอบของโครงการห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรของกัมพูชา-ออสเตรเลีย (CAVAC) ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นตัวช่วยในการปรับปรุงความปลอดภัยทางอาหารและลดความยากจน ผ่านการสร้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อเดือนที่แล้ว CDC อนุมัติโครงการ 376 โครงการมูลค่าเกือบ 9.7 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งลงทุนในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50944283/deal-on-food-investment-signed-with-australia/

‘เวียดนาม-ออสเตรเลีย’ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อน AI

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MoST) ส่งเสริมให้บุคคลและองค์กรต่างๆ จับมือร่วมกันทำงานด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระหว่างเวียดนามกับออสเตรเลีย โดยจากข้อมูลของกระทรวงฯ ได้มีการเปิดตัวเครือข่ายความร่วมมือด้านปัญญาประดิษฐ์ระหว่างเวียดนามกับออสเตรเลีย เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์ระดับชาติในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ AI ทั้งนี้ เครือข่ายระบบ AI ถูกนำมาใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรมในประเทศ ได้แก่ อีคอมเมิร์ซ, การขนส่งและโลจิสติกส์, การศึกษา, อสังหาริมทรัพย์, การเงินและการเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ ตลาด AI ในเวียดนามยังคงมีขนาดเล็ก มีจำนวนบริษัทใหญ่ 10 แห่ง อาทิ FPT, Viettel, CMC, VNG, VNPT, VinGroup, Google, Amazon, NVIDIA และ IBM รวมถึงกองทุนบางแห่งและสตาร์ทอัพอีก 65 แห่ง แต่ธุรกิจดังกล่าวยังไม่มีแพลตฟอร์มสำหรับการใช้ AI ที่มีลักษณะเฉพาะในเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1024941/viet-nam-ai-talent-to-partner-with-australia.html