การค้า กัมพูชา-ญี่ปุ่น แตะเกือบ 700 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่น ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่ารวมกว่า 699 ล้านดอลลาร์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยญี่ปุ่นถือเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 5 รองจากจีน สหรัฐฯ เวียดนาม และไทย รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา ซึ่งคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชาไปยังญี่ปุ่นที่มูลค่า 442 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็นการนำเข้าของกัมพูชาจากญี่ปุ่นที่มูลค่า 257 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกในช่วงเดือนพฤษภาคมเพียงเดือนเดียวมีมูลค่าอยู่ที่ 55 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 20.4 จากมูลค่า 69 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน

ด้านเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำกัมพูชา Ueno Atsushi ได้กล่าวในเวทีสาธารณะของกัมพูชาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ว่านักลงทุนชาวญี่ปุ่นมองเห็นถึงศักยภาพของกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาตั้งอยู่กลางแม่น้ำโขงติดต่อกับไทยและเวียดนามเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังมีกำลังแรงงานที่อายุน้อยและมีต้นทุนการจ้างงานที่ถูกกว่าแรงงานในประเทศไทยและเวียดนาม รวมถึงกัมพูชายังเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนภายใต้นโยบายส่งเสริมมากมาย ด้วยเหตุผลข้างต้นทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นคาดว่าจะเข้ามาลงทุนยังกัมพูชาเพิ่มขึ้นในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501308691/cambodia-japan-bilateral-trade-nears-700-million-in-the-first-five-months/

“เวียดนาม” เผยไตรมาส 1/66 รายได้เฉลี่ยของแรงงานพุ่งสูงขึ้น

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 รายได้เฉลี่ยของแรงงานอยู่ที่ 7 ล้านดองต่อคน เพิ่มขึ้น 640,000 ดองเมื่อกับปีที่แล้ว โดยตัวแทนของสำนักงานสถิติประชากรศาสตร์และแรงงาน กล่าวว่าแรงงานมีรายได้เฉลี่ย 7 ล้านดองต่อเดือนในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ และในจำนวนแรงงานดังกล่าว รายได้เฉลี่ยต่อของแรงงานเพศชายอยู่ที่ 8 ล้านล้านดองต่อเดือน สูงกว่า 1.36 เท่า หากเทียบกับรายได้เฉลี่ยของแรงงานเพศหญิงที่ 5.9 ล้านดองต่อเดือน ตามมาด้วยรายได้เฉลี่ยของแรงงานที่อยู่ในเมืองอยู่ที่ 8.6 ล้านดองต่อเดือน ในขณะที่รายได้เฉลี่ยของแรงงานที่อยู่ในชนบทมีเพียง 6.1 ล้านดองต่อเดือน

ทั้งนี้ แรงงานที่อยู่ในภาคบริการพบว่ามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุด อยู่ที่ 8.3 ล้านดองต่อคน เพิ่มขึ้น 10.1% หรือราย 766,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่แรงงานที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม มีรายได้เพียง 4.1 ล้านดองต่อคน และ 7.9 ล้านดองต่อคน ตามลำดับ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/employees-average-income-rises-in-q1/

“ตลาดแรงงานเวียดนาม” ไตรมาสแรกปี 66 ฟื้นตัวต่อเนื่อง

คุณ Nguyen Trung Tien รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยว่าตลาดแรงงานในเวียดนามยังคงรักษาระดับของโมเมนตัมการฟื้นตัวได้ในไตรมาสแรกของปี 2566 ในขณะที่ คุณ Pham Hoai Nam ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติประชากรและแรงงาน กล่าวเสริมว่าอัตราการว่างงานในวัยทำงานลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 52.2 ล้านคน สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ 88,700 คน และเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 ล้านคนเมื่อเทียบกับปืที่แล้ว ตามมาด้วยผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปและมีงานทำ มีจำนวน 51.1 ล้านคน สูงกว่าปีที่แล้วที่มีจำนวน 1.1 ล้านคน ทั้งนี้ จำนวนผู้ตกงานในวัยทำงาน มีจำนวนราว 885,500 คน ลดลง 12,400 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่จำนวนผู้ว่างงาน อยู่ที่ 1.05 ล้านคน ลดลง 34,600 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/labour-market-continues-recovering-in-q1/251136.vnp

กัมพูชาหนุนแรงงานในอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้า

รัฐบาลกัมพูชากำลังจะเปิดตัวโครงการสนับสนุนแรงงาน ร่วมกับบริษัทเอกชนที่ประกอบกิจการโรงงานสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่แรงงานที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ โดยมีรายงานว่า นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพของประเทศ รวมถึงกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ในการทำงานร่วมกันกับบริษัทเอกชนเพื่อช่วยเหลือแรงงานกว่า 32,000 คน ที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากการปิดโรงงานกว่า 70 แห่ง ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาแรงงานที่ถูกเลิกจ้างได้รับการสนับสนุนทางการเงินรวม 70 ดอลลาร์ต่อเดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2022 หลังโรงงานปิดตัวลง โดยแบ่งเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลกัมพูชา 40 ดอลลาร์ และโรงงานสนับสนุน 30 ดอลลาร์ รวมเป็น 70 ดอลลาร์ต่อเดือน เพื่อเป็นการเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501251325/cambodia-moves-to-support-garment-workers/

เดือนมค.-ก.พ.66 เมียนมาส่งแรงงานไปเกาหลีใต้ ผ่านโครงการ EPS ทะลุกว่า 1,000 คน

สถานทูตเมียนมาในกรุงโซล เผย ในเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีแรงงานเมียนมาถูกส่งไปยังเกาหลีใต้ผ่านโครงการระบบอนุญาตการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) จำนวน 1,040 คน ประกอบไปด้วยแรงงานฝ่ายผลิต 345 คน แรงงานฝ่ายผลิตเฉพาะทางแบบ CBT 28 คน แรงงานที่กลับเข้าไปทำงานในสถานประกอบการ/โรงงานเดิมที่เคยทำ 236 คน เกษตรและปศุสัตว์ 374 คน และการก่อสร้าง 57 คน โดยรัฐบาลเกาหลีใต้เปิดรับแรงงานเมียนมาอีกครั้งอย่างหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ซึ่งปี 2565 ที่ผ่านมามีการส่งแรงงานไปเกาหลีใต้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม จำนวน 1,293 คน เดือนกันยายน จำนวน 1,169 คน เดือนตุลาคม จำนวน 728 คน และเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม อีก 599 คน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-1000-myanmar-workers-sent-to-s-korea-under-eps-within-2-months/#article-title

ญี่ปุ่นรับเปิดรับแรงงานเมียนมา กว่า 1,000 คน

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำกรุงโตเกียว เผย บริษัทญี่ปุ่น 312 แห่งจะเริ่มเปิดรับสมัครแรงงานเมียนมาจำนวน 1,043 คน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 17 ถึง 31 มกราคม 2566 สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาได้ทำการตรวจสอบและรับรองความถูกต้องในการจัดตั้งบริษัทและโรงงานของญี่ปุ่น หลังจากนั้นจึงส่งเอกสารที่รับรองแล้วไปยังกระทรวงแรงงานของเมียนมาเพื่อดำเนินการออกจดหมายอนุญาตให้กับบริษัทจำนวน 312 แห่งในการวางแผนรับสมัครแรงงานต่อไป

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/japanese-companies-to-recruit-over-1000-myanmar-workers/#article-title

“สปป.ลาว” เผยพัฒนาระบบการผลิตข้าว ด้วยเครื่องจักรทันสมัย

การก่อสร้างสะพาน ถนนและการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เร่งจัดหาเครื่องจักรที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการเพาะปลูกข้าวในฤดูฝนและฤดูแห้งแล้ง เครื่องจักรดังกล่าว ใช้เพื่อปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวบนพื้นที่ 350 เฮกตาร์ในแขวงมูลปาโมกข์ แขวงจำปาสัก เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นางปานี ยาท่อต (Mrs Pany Yathotou) รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และผู้ว่าการจังหวัดจำปาสัก ได้เข้ามาเยี่ยมชมกิจการ ระบบการเพาะเมล็ดแบบใช้เครื่องจักรช่วยประหยัดแรงงาน ประหยัดต้นทุน และเมล็ดกระจายลงดินอย่างเหมาะสม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Modern13.php

“เวียดนาม” เผย 10 เดือนแรกของปีนี้ ยอดจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่พุ่ง

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าการจดทะเบียนธุรกิจในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งกิจการใหม่จำนวน 125,800 ราย เพิ่มขึ้น 34% มีทุนจดทะเบียนมูลค่ารวมกันมากกว่า 1.37 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 6% และแรงงานจำนวน 835,000 คน เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทีบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ในเดือน ต.ค. มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งกิจการใหม่จำนวน 13,000 ราย เพิ่มขึ้น 13.6% มีทุนจดทะเบียนรวม 106.9 ล้านล้านดอง หดตัว 21.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ทั้งนี้ นางเหงียน ถิ เฮือง  ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่าเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจ ทางกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดหาวัตถุดิบและเชื้อเพลิง เพื่อรองรับกับความต้องการของภาคธุรกิจและการฟื้นตัวของธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมโครงการอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1351251/newly-established-firms-up-in-10-months.html

โควิด-19 กระทบแรงงานกัมพูชาในต่างประเทศ ส่งเงินกลับลดลง 16.6%

โควิด-19 กระทบแรงงานกัมพูชาในต่างประเทศ ลงเงินกลับประเทศลดลงกว่าร้อยละ 16.6 หรือคิดเป็นมูลค่า 1,272 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตรงกันข้ามกับในช่วงปี 2014-2019 ที่มีการเติบโตกว่าร้อยละ 6.7 ต่อปี โดยข้อมูลดังกล่าวถูกเปิดเผยผ่านรายงาน “Asean Migration Outlook” ฉบับแรก ซึ่งปัจจุบันแรงงานกัมพูชาในต่างประเทศประมาณ 260,000 คน ตกงานหลังจากเกิดการแพร่ระบาดและได้เดินทางกลับมายังกัมพูชา โดยส่วนใหญ่กลับมาจากประเทศไทย ซึ่งในรายงานยังระบุเสริมอีกว่าการตกงานของแรงงานกัมพูชาในต่างชาติส่งผลทำให้ความยากจนในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปี 2019 ช่วงก่อนโควิด-19 แรงงานกัมพูชาในต่างประเทศมีมากกว่า 1 ล้านคน โดยกว่า 719,000 คน ทำงานในประเทศไทย หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของแรงงานกัมพูชาในต่างชาติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501140226/covid-19-hit-cambodian-migrants-hard-remittances-fell-by-16-6/

“ธนาคารโลก” ชี้เวียดนามต้องการแรงงานมีทักษะ ขับเคลื่อนศก.รายได้ปานกลาง-สูง ปี 2578

ตามรายงานของธนาคารโลก (World Bank) เปิดเผยว่าเวียดนามต้องการแรงงานที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ในขณะที่ปัจจุบันเศรษฐกิจขับเคลื่อนจากแรงงานที่มีทักษะต่ำและค่าแรงงานที่ต่ำทั้งด้านการผลิตและบริการ ไปสู่นวัตกรรมมากขึ้น ซึ่งสร้างขึ้นมาจากอุตสาหกรรมและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม แรงงานของเวียดนามจะต้องได้รับทักษะในระดับที่สูงขึ้นและมีทักษะที่หลากหลาย โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของรัฐบาลเวียดนาม ปี 2564-2573 มีเป้าหมายที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล รวมถึงส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางด้านผลผลิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต อย่างไรก็ดีเวียดนามจำเป็นต้องปฏิรูประบบการศึกษาและเพิ่มทักษะที่จำเป็นแก่ประชาชน

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-business-news-august-9-2047767.html