ก.แรงงาน เปิดคอร์สฝึกแรงงานเพื่อนบ้าน เสริมความเข้มแข็งภูมิภาคอาเซียน

ก.แรงงาน โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดคอร์สอบรมแรงงาน เพื่อนบ้าน กว่า 10 หลักสูตร สร้างความเข้มแข็งลุ่มน้ำโขงและในภูมิภาคอาเซียน โดยทางกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าความผันผวนทางเศรษฐกิจภายในประเทศไทย เกิดจากปัจจัยหลายด้าน อาทิ การลดลงของปริมาณกำลังแรงงานไทย การปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวดเร็ว ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น รวมถึงนักลงทุนจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย หันมาลงทุนในประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการแรงงานที่มีความรู้และทักษะฝีมือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้ จีงกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ กพร. ได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาฝีมือและศักยภาพแรงงานในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อยกระดับขีดความสามารถของแรงงานเพิ่มขึ้น ด้วยจำนวน 13 หลักสูตร อาทิ การออกแบบว็บไซต์ด้านโปรแกรม WordPress การโฆษณาและการตลาดด้านการท่องเที่ยว การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร เทคนิคการขับรถยกสินค้าอย่างปลอดภัย และเทคนิคการซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร เป็นต้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3102138

สปป.ลาวตั้งเป้าเพิ่มแรงงานในประเทศที่มีทักษะ 83,900 คน

รัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มอย่างน้อย 83,900 คนในรายชื่อแรงงานของประเทศในปีนี้จาก 75,769 คนในปี 2562 ภายใต้แผนพัฒนาทักษะแรงงานในปี 2563 คาดว่าตัวเลขนี้จะประกอบด้วยภาคเกษตร 30,100 คน โดยภาคอุตสาหกรรม 29,600 คน และภาคบริการ 24,200 คน เมื่อปีที่ผ่านมามีคนงานเพิ่ม 75,769 คน ในภาคเกษตรรวม 19,063 คน ภาคอุตสาหกรมม 19,332 คนและภาคบริการ 37,370 คน  มีแรงงานในประเทศ 7,286 คน ขณะที่ 54,091 ไปทำงานในต่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หน่วยงานเร่งดำเนินการปรับปรุงกฎหมายและแผนกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อเพื่อพัฒนาทักษะของแรงงานเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ ฝ่ายแรงงานและสวัสดิการสังคม วางแผนที่จะเสริมสร้างทักษะของแรรงาน 3,000 คนในปีนี้ ในปีที่ผ่านมากรมฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงทักษะของคนหนุ่มสาวที่ด้อยโอกาสและด้อยโอกาสคัดเลือกคนหางานในสปป.ลาวและประเทศอื่น ๆ และประกาศกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของแรงงาน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-aiming-add-83900-skilled-workers-labour-pool-113540

แรงงานเมียนมา 130 คนเดินกลับเมียวดีภายหลังโรงงานปิดกิจการ

แรงงานเมียนมาจำนวน 130 คนถูกส่งกลับไปยังเมียวดีเมื่อวันที่ 31 มกราคมเนื่องจากการโรงงานที่กาญจนบุรีปิดกิจการลง โรงงานแห่งนี้เป็นของชาวจีนและมีคนงานมากกว่า 300 คน โรงงานถูกปิดอย่างกะทันหันเนื่องจากวัตถุดิบจากจีนไม่สามารถส่งได้เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แรงงานข้ามชาตินี้เป็นไปตามข้อตกลงของไทยและเมียนมา (MoU) และต้องจ่ายเงินประมาณ 1 ล้านจัต เพื่อทำงานอย่างถูกกฏหมาย ด้านกงสุลแรงงานประจำแม่ สอดกำลังช่วยแรงงานอพยพกลับและพบกับตัวแทนจัดหางานเพื่อขอเงินชดเชย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/130-myanmar-workers-return-to-myawady-due-to-the-factory-closure

GMAC กล่าวถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับแรงงานกว่า 7.5 แสนตำแหน่งในกัมพูชา

GMAC ถามรัฐบาลถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและสินค้าทางด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชากับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของแรงงานกว่า 750,000 คน ในประเทศกัมพูชา โดยชี้ให้เห็นว่าหลักการพื้นฐานและสิทธิเสรีภาพในการสมาคมถูกจัดตั้งขึ้นในภาคที่ได้กล่าวในข้างต้นหรือไม่ ซึ่ง GMAC ระบุด้วยว่าการเป็นหุ้นส่วนของ GMAC กับ ILO ในการจัดตั้งโครงการ Better Factories Cambodia ของประเทศกัมพูชาในการตรวจสอบรายงานและสร้างความมั่นใจในความโปร่งใสส่งผลให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ GMAC ยังเน้นว่าหนึ่งในเป้าหมายของการจัดตั้งโปรแกรมระหว่าง ILO กับ Arbitration Council คือการมีบทบาทสำคัญในการยุติข้อพิพาทด้านความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรมในประเทศ โดยสมาคมยังได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและยินดีต่อการหารือเกี่ยวกับการให้คำแนะนำกับผู้นำสหภาพและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐบาลได้ค่อยๆเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสำหรับคนงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าโดยในปี 2563 มีการเพิ่มขึ้น 4.4% จากปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50685264/750000-jobs-put-at-risk-in-apparel-footwear-travel-goods-says-gmac

ภาคการขนส่งเวียดนาม ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานกว่า 2 ล้านคน

จากข้อมูลของสมาคมโลจิสติกส์เวียดนาม (VLA) เปิดเผยว่าภาคโลจิสติกส์เวียดนามมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละมากกว่า 10 ต่อปี และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ซึ่งตัวเลขสถิติ แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบัน เวียดนามมีบริษัทรับจัดส่งสินค้า 30,000 แห่ง รวมถึง 4,000 แห่ง ที่ดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าในประเทศและระหว่างประเทศ หากจำแนกออกเป็นขนาดธุรกิจ พบว่าส่วนใหญ่ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนแรงงานกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องมาจากเวียดนามเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการตกลงความร่วมมือการค้าเสรี (FTA) โดยคาดว่าในอีก 3 ปีข้าวหน้า ธุรกิจโลจิสติกส์เวียดนามต้องการพนักงานใหม่ 18,000 คน ทำให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมคุณภาพการฝึกอบรมแรงงานในภาคโลจิสติกส์ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ตลาดโลจิสติกส์และคลังสินค้าเวียดนาม คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 13.3 ในช่วงปี 2561-2565

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-logistics-sector-faces-labor-shortage-of-2-million-people-406638.vov

ธนาคารโลกเตือนถึงความจำเป็นในการพัฒนาและเพิ่มทักษะแรงงานของกัมพูชา

ธนาคารโลกได้เปิดตัวรายงานใหม่ที่เน้นความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชา โดยให้คำแนะนำในการปฏิรูปนโยบายที่ครอบคลุมเพื่อรักษาอัตราการเติบโตของประเทศ ซึ่งมีตัวแทนจากกระทรวงพาณิชยกรรม กระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพเข้าร่วม เช่นเดียวกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมากโดยรายงานแสดงถึงอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานสูงถึง 80% ของชาวกัมพูชาวัยทำงานทั้งหมด แม้ว่าจะกว่า 94% ของแรงงานทั้งหมดเป็นอาชีพที่มีทักษะค่อนข้างต่ำ ซึ่งผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศกัมพูชากล่าวในการเปิดงานว่าระหว่างปี 2010 และ 2015 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 12% ต่อปีและหนึ่งในสามของภาคการจ้างงานมาจาก บริษัท ข้ามชาติโดยเน้นถึงความจำเป็นในการปฏิรูปภายในระบบการศึกษาเพื่อให้ตรงกับทักษะกับความต้องการของภาคเอกชน ทั้งระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมและระบบการฝึกอบรมวิชาชีพจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งภาครัฐฯจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนเพื่อจัดการกับปัญหา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50661464/world-bank-report-warns-of-need-for-diversification-and-skills-development/

หอการค้า สปป.ลาว – ยุโรป เปิดตัวบริการให้การรับรองแรงงานเด็ก

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว (LNCCI) และหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งยุโรปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ECCIL) ได้เปิดตัวบริการรับรองการใช้แรงงานเด็กอย่างเป็นทางการ รองประธาน LNCCI และนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ประธาน ECCIL และ กรรมการผู้จัดการบริษัท Hi-Tech Lao Apparel จำกัด ได้ลงนามข้อตกลงเพื่อเปิดบริการการรับรอง ทั้ง LNCCI และ ECCIL มีประวัติศาสตร์อันยาวนานของความร่วมมือที่มีประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในสปป.ลาวโดยให้บริการแก่ภาคเอกชน การเปิดตัวบริการรับรองการใช้แรงงานเด็กร่วมกันเป็นการสร้างสายการบริการใหม่สำหรับทั้งสององค์กรและคาดว่าจะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและเพิ่มโอกาสทางการค้า บริการนี้มีเป้าหมายอยู่ที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและองค์กรขนาดใหญ่และไม่จำกัดเฉพาะภาคธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ การดำเนินการตามบริการการรับรองสำหรับแรงงานเด็กและ LNCCI ECCIL ได้รับการสนับสนุนโดยโปรแกรมผู้เชี่ยวชาญของ German Gesellschaft fuer Internationale Zusammenarbeit (GIZ)

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-european-business-chambers-launch-child-labour-free-certification-service-106884

สถาบันฝึกอบรมสายอาชีพญี่ปุ่น – เมียนมาเฟ้นหาแรงงานกลุ่มแรก

สถาบันฝึกอบรมสายอาชีพญี่ปุ่น – เมียนมาได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการรับเข้าฝึกงานเป็นกลุ่มแรก สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในข้อตกลงกับรัฐบาลเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมอาชีพอองซานญี่ปุ่น – เมียนมา สำหรับประกาศนียบัตร AGTI หลักสูตร 3 ปี จะเริ่มในเดือนธันวาคม ด้านการบำรุงรักษายานยนต์ วิศวกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรม โดยจะรับผู้ฝึกอบรม 20 คนที่จะถูกคัดเลือกผลของการทดสอบวิชาภาษาอังกฤษและวิชาคณิตศาสตร์

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/japan-myanmar-vocational-training-institute-seeks-first-batch-trainees

แรงงานที่มีทักษะของเมียนได้รับอนุญาตให้ทำงานในญี่ปุ่นได้นานถึงห้าปี

ภายใต้บันทึกความร่วมมือ (MoC) ระหว่างเมียนมาและญี่ปุ่นลงนามเมื่อวันที่ 28 มีนาคมปีนี้ แรงงานที่มีทักษะจะได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลาห้าปีเพื่อทำงานให้กับ 14 ภาคส่วน เช่น พนักงานดูแลสุขภาพ อาคาร การทำความสะอาด เครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบ อุตสาหกรรมไฟฟ้า ประปา อิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้าง การต่อเรือและเครื่องจักร บำรุงรักษารถยนต์ การบิน บริการโรงแรม การเกษตร การประมง ปศุสัตว์ อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งสองประเทศได้ตกลงกันในเรื่องมาตรฐานที่กำหนดสำหรับบริษัทจัดหางานในต่างประเทศ บริษั จัดหางานที่ลงทะเบียนที่กรมแรงงานต้องปฏิบัติตามกฎและมาตรฐานที่กำหนดในการส่งแรงงานฝีมือไปญี่ปุ่น

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/skilled-myanmar-workers-to-be-allowed-up-to-five-year-work-in-japan