เกาหลีใต้ บริจาคข้าว 1,314 ตัน ให้ชุมชนยากจน ในสปป.ลาว

เมื่อวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้ นำโดย นายยุง ซูจอง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีเป็นตัวแทนในการส่งมอบข้าวให้แก่นางเบย์คัม ขัตติยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของสปป.ลาว จำนวน 1,314 ตัน  ณ คลังสินค้าของโครงการอาหารโลก (WFP) ในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในย่านชุมชนยากจนกว่า 100,000 คนทั่วประเทศ โดยการบริจาคในครั้งนี้ จะช่วยเหลือผู้คนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เนื่องจากวิกฤตทางการเงินที่ตึงเครียดและภาวะการขาดแคลนอาหารที่รุนแรงขึ้น ซึ่งนางเบย์คัม ขัตติยา กล่าวในพิธีส่งมอบว่า การบริจาคในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมักเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ด้านนายยุง ซูจอง กล่าวเสริมด้วยว่า สปป.ลาวได้ประโยชน์จากการสนับสนุนนี้มาตั้งแต่ปี 2564 และเกาหลีใต้ตั้งใจอย่างยิ่งที่จะเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และการมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างเกาหลีใต้และประเทศในอาเซียน

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_Skorea10.php

ทางการกัมพูชาและองค์กรของ UN เรียกร้องเสริมการลงทุนสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

รัฐบาลกัมพูชา รวมถึงองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) เรียกร้องให้มีการลงทุนเกี่ยวกับระบบแปรรูปอาหาร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการในระดับโลก โดยปัจจุบันกัมพูชาได้กำหนดแผนดังกล่าวเป็นวาระสำคัญระดับชาติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาห่วงโซ่ระบบการแปรรูปอาหารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในประเทศ ภายในปี 2030 เพื่อให้แน่ใจว่าปริมาณอาหารจะมีเพียงพอสำหรับประชากร ภายใต้คุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีสำหรับทุกคน กล่าวโดน Om Kimsir รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง โดยจากข้อมูลล่าสุดของ WFP ราคาข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของกัมพูชายังคงค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ราคาอาหารนำเข้ากลับปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันพืชเพิ่มขึ้นกว่า 39.7% ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้เทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501169436/cambodia-un-agencies-call-for-more-investment-to-ensure-food-security/

สปป.ลาวกับการแก้ไขผลกระทบของ COVID-19 นอกเหนือจากภาคสุขภาพ

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) และโครงการอาหารโลก (WFP) บ่งชี้ถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศการว่างงานและความยากจนที่เพิ่มขึ้นและความต้องการสินค้าเกษตรลดลงอย่างมาก นำไปสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหารมากขึ้นและการขาดสารอาหารโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท อีกทั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม การระบาดของโรคและภัยธรรมชาติอื่น ๆ ที่ทำลายล้างพื้นที่ต่างๆของสปป. ลาว ในเดือนพ.ค.มีการประเมิน FAO เพื่อพิจารณาผลกระทบเหล่านี้ในแขวงหลวงพระบาง สะหวันนะเขต เวียงจันทน์ พบว่าการระบาดของ COVID-19 และมาตรการกักกันทำให้คนสปป.ลาวอย่างน้อย 550,000 คนต้องตกงาน เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารในชุมชน นอกจากนี้การสูญเสียกำลังซื้อทำให้ยอดขายเนื้อสัตว์ลดลง 30% และผักลดลง 40% แม้ว่าความต้องการสินค้าเกษตรจะลดลง แต่ราคาเนื้อสัตว์และข้าวสูงขึ้น ในขณะที่ราคาผักลดลง และในช่วงระยะเวลาและการแพร่กระจายของ COVID-19 ได้ขจัดโอกาสในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับอุตสาหกรรมการ นอกจากนี้การปิดพรมแดนระหว่างประเทศส่งผลให้การส่งออกในระดับภูมิภาคและการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและผลผลิตทางการเกษตร

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=53365