จัดสรร 8 พันล้านบาทสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ชนบทในปีงบประมาณ 2024–2025

ในปีงบประมาณ 2024–2025 กรมพัฒนาชนบทกำลังดำเนินโครงการไฟฟ้าชนบท โดยนำระบบโซลาร์โฮมมาใช้ในหมู่บ้านต่างๆ ในรัฐฉาน (ตะวันออก) และภูมิภาคอิระวดี ที่ประสบปัญหาในการจ่ายไฟฟ้าผ่านโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติ โดยใช้งบประมาณจากกองทุนงบประมาณสหภาพกว่า 8 พันล้านจ๊าด ตามข้อมูลของกรมพัฒนาชนบท เนื่องจากมีหลายครัวเรือนที่กระจัดกระจาย ระยะทางระหว่างหมู่บ้านไกล และการเชื่อมต่อการขนส่งที่ไม่ดี อย่างไรก็ดี อูเมียวเมียว ผู้อำนวยการกองการไฟฟ้าชนบทของกรมพัฒนาชนบทกล่าวอีกว่า ระหว่างปีงบประมาณ 2016–2017 และ 2024–2025 หมู่บ้านเกือบ 10,000 แห่งทั่วประเทศได้รับประโยชน์จากโครงการไฟฟ้าชนบทโดยใช้ระบบโซลาร์โฮม ซึ่งเข้าถึงครัวเรือนประมาณ 450,000 หลังคาเรือนแล้ว

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/8-billion-allocated-for-rural-solar-systems-in-2024-2025fy/

แผนติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 14MW สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา

กระทรวงพลังงานไฟฟ้า (MoEP) ได้ประกาศแผนการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีกำลังการผลิตสูงสุด 14 เมกะวัตต์ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (SEZ) ในเมืองตันลยิน เขตย่างกุ้ง โดยปัจจุบัน โรงงานสามแห่งในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาได้ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 2 เมกะวัตต์ การศึกษาเพิ่มเติมที่ดำเนินการโดยบริษัทต่างๆ ในเขตดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบพลังงานแสงอาทิตย์มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 14 เมกะวัตต์ อย่างไรก็ดี บริษัทเมียนมา-ญี่ปุ่น ติละวา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (MJTD) ยืนยันว่าเมื่อติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว พลังงานส่วนเกินจะถูกส่งและแจกจ่ายไปยังโรงงานอื่นๆ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษผ่านสายไฟฟ้าของกระทรวงไฟฟ้ากำลัง ทั้งนี้ Thilawa SEZ ครอบคลุมพื้นที่ 667.275 เฮกตาร์ (ประมาณ 1,650 เอเคอร์) ดึงดูดการลงทุนจากบริษัท 114 แห่งใน 21 ประเทศ ในบรรดาเขตเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ในเมียนมา เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวามีความโดดเด่นและประสบความสำเร็จมากที่สุด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/installation-of-14mw-solar-power-system-planned-for-thilawa-sez/

แผนดำเนินการจ่ายไฟฟ้าให้กับหมู่บ้าน 900 แห่งทั่วประเทศในปี 2567

U Maung Win รองอธิบดีกรมพัฒนาชนบท ประกาศว่าขณะนี้ได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านทั้งหมด 900 แห่งทั่วประเทศผ่านระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับบ้านขนาดเล็กด้วยงบประมาณ 20 พันล้านจ๊าดในปี 2567 โครงการได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว ในปีงบประมาณ 2559-2560 เพื่อนำไฟฟ้ามาสู่หมู่บ้านที่อยู่ห่างจากระบบโครงข่ายแห่งชาติมากกว่า 10 ไมล์ อย่างไรก็ดี ในการดำเนินโครงการ จะให้ความสำคัญกับหมู่บ้านที่สามารถบริจาคเงินจำนวนหนึ่งให้กับต้นทุนได้ ปัจจุบัน หมู่บ้านประมาณ 10,000 แห่ง (500,000 หลังคาเรือน) ได้รับไฟฟ้าใช้แล้วภายใต้โครงการของธนาคารโลกระหว่างปีงบประมาณ 2559-2560 และปีงบประมาณ 2564-2565

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/plan-underway-to-provide-electricity-to-900-villages-across-nation-in-2024/

โครงการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ และโรงกลั่นน้ำมันปาล์มในตะนินทยี

อู ซอ มิน อู เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการระบุว่า บริษัทเอกชนกำลังดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำและโรงกลั่นน้ำมันปาล์มในเมือง Kyunsu เขตตะนาวศรี ทั้งนี้ โครงการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 3.77 เมกะวัตต์ที่เขื่อน Pahtaw ในหมู่บ้าน Pahtaw ในเมือง Kyunsu กำลังดำเนินการร่วมกันโดยบริษัท Pyae Phyo Tun International และบริษัท Myanmar Solar Power Trading Company โดยจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวน 6,384 แผงบนพื้นที่เจ็ดเอเคอร์ของผิวน้ำภายในเขื่อน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งไปยังห้องเย็น สถานที่ทำงาน โรงงาน และที่พักอาศัยบนเกาะพะแทวพะเท็ด เมืองมะริด อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำอีกแห่งในหมู่บ้านพะเท็ด คาดว่าจะป้อนให้กับโรงกลั่นน้ำมันปาล์มที่สามารถผลิตน้ำมันได้ 60 ตันต่อวัน ซึ่งขณะนี้โรงกลั่นดังกล่าวยังไม่ได้เปิดใช้บริการ นอกจากนี้ น้ำมันปาล์มดิบ 800 ตันที่ผลิตได้ในพื้นที่ 8,000 จาก 15,000 เอเคอร์ในมอตอง จะถูกส่งออกไปยังย่างกุ้งผ่านทางท่าเทียบเรือมะริด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/taninthayi-welcomes-private-investment-in-floating-solar-power-plant-palm-oil-refinery/

โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1.9 MWp ณ โรงบำบัดน้ำบาเค็งเสร็จสมบูรณ์แล้ว

Green Yellow Cambodia (GYC) บริษัทผู้รับรับผิดชอบในการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ณ โรงบำบัดน้ำบาเค็งในประเทศกัมพูชา โดยโครงการดังกล่าวมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1.9 MWp ในระยะที่ 1 ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ 3,500 แผง ที่จะให้พลังงานสะอาดแก่โรงงานช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้เป็นอย่างมาก โดยโครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก VINCI Construction Grand Projects (VCGP) ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำในระดับชาติอย่างโครงการ PPWSA ด้านโรงบำบัดน้ำบาเค็งถือเป็นศูนย์บำบัดน้ำที่สำคัญของกัมพูชาสามารถผลิตน้ำได้มากถึง 390,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน และส่งไปยังพื้นที่เขตเมืองครอบคลุมเมืองพนมเปญและถนนตักเมาในบริเวณชายแดน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501350868/1-9mwp-solar-power-project-at-bakheng-water-treatment-plant-in-cambodia-completed/