นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกจากมณฑลกุ้ยโจว เดินทางถึง สปป.ลาว ด้วยรถไฟลาว-จีน

คณะผู้แทนจากกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว สปป.ลาว ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่เดินทางมาจากมณฑลกุ้ยโจว ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงระหว่างมณฑลกุ้ยโจวและ สปป.ลาว โดยมีรถไฟลาว-จีน เป็นเส้นทางเชื่อมโยงที่สำคัญ การเดินทางด้วยรถไฟของนักท่องเที่ยวจากมณฑลกุ้ยโจวครั้งแรกนี้ ผ่านมาทางสิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน จากนั้นเดินทางมายัง สปป.ลาว ด้วยรถไฟ EMU ล้านช้าง ที่ดำเนินกิจการโดยรถไฟลาว-จีน ซึ่งดำเนินการเพิ่มจำนวนเที่ยวเดินรถของรถไฟ ทำให้กลุ่มนักท่องเที่ยวซื้อตั๋วได้ง่ายขึ้น มีการสร้างแอปพเคชั่นที่ช่วยให้ผู้คนสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ และพัฒนาช่องทางการชำระเงินมากขึ้น และให้บริการอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้น บนรถไฟ นอกจากนี้ จะมีการลดระยะเวลาในการผ่านด่านศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองบริเวณชายแดน สปป.ลาว-จีน ในขณะที่จะมีการเพิ่มจุดจอดเพิ่มเติมและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการรถไฟ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยรถไฟลาว-จีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_88_FirstChinese_y24.php

3 เดือนแรกปีนี้ มีชาวจีนเข้ามายัง สปป.ลาว กว่า 2.4 แสนคน โดยใช้รถไฟลาว-จีน

หากย้อนไปในปี 2565 มีนักท่องเที่ยวจีนประมาณ 45,000 คน เดินทางด้วยรถไฟลาว-จีนมายัง สปป.ลาว และในปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 641,314 คน โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 มีนักท่องเที่ยวชาวจีน 242,193 คน ที่เดินทางมายัง สปป.ลาว โดยใช้เส้นทางรถไฟสายนี้ เนื่องจากทางการรถไฟได้เสนอข้อเสนอการซื้อตั๋วรถไฟในช่วงเทศกาลปีใหม่ลาวแบบพิเศษ ซึ่งประชาชนต้องการเดินทางในช่วงวันหยุดปีใหม่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวันที่ 13-16 เมษายน 2567 สามารถซื้อตั๋วล่วงหน้าได้สูงสุดเจ็ดวันก่อนวันเดินทางที่วางแผนไว้ โดยเปิดเผยว่านักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปพักผ่อนในเมืองทางภาคเหนือของ สปป.ลาว นอกจากนี้ ทางการรถไฟยังให้บริการรถไฟ EMU จำนวน 2 ขบวนติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 12-19 เมษายน 2567 (หมายเลข C92/1 และ C84/3) ระหว่างเวียงจันทน์และหลวงพระบาง และคาดว่าการเดินทางในเส้นทางนี้จะถึงระดับสูงสุด เนื่องจากหลวงพระบางเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมในช่วงวันหยุดปีใหม่ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_75_Laoschina_y24.php

บริษัทรถไฟลาว-จีน เตรียมเพิ่มเส้นทางให้บริการผู้โดยสาร

บริษัทรถไฟลาว-จีน กำลังดำเนินการเดินรถโดยสาร EMU เพิ่มขึ้นทั้งสองเส้นทาง ขณะนี้มี 12 เที่ยวต่อวัน เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น และรองรับการเติบโตด้านการเดินทางและสร้างความมั่นใจให้ผู้โดยสาร รถไฟสามารถรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นในระหว่างการประชุมและงานต่างๆ ของอาเซียน และความต้องการของนักเดินทางในช่วงเยือนลาว ปี 2567 บริษัทรถไฟลาว-จีนได้เพิ่มจำนวนรถไฟโดยสาร C92/1 ในแต่ละวันจำนวนผู้ที่เดินทางระหว่างจุดหมายปลายทางภายในประเทศลาวและระหว่างลาวและจีนบนเส้นทางรถไฟจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 เพิ่มขึ้นเกือบ 91% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2565 มีผู้โดยสารมากกว่า 100,000 คน จาก 72 ประเทศใช้เส้นทางรถไฟข้ามพรมแดนลาว-ชายแดนจีน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_16_rail_y24.php

สปป.ลาว-จีน หารือลดเวลาพิธีการศุลกากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟ

นายจินดาวงศ์ ไซยาสิน ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและวัฒนธรรม สถานทูตลาวประจำประเทศจีน เปิดเผยในการสัมภาษณ์พิเศษกับไชนาเดลี่ว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาวเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อหาวิธีลดเวลาที่ใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรเมื่อเดินทางด้วยรถไฟ โดยมุ่งเน้นไปที่การลดเวลาการผ่านด่านชายแดนจาก 2 ชั่วโมง ให้ลดลงเหลือ 1 ลดระยะเวลาจาก 9 ชั่วโมง 26 นาที เหลือ 8 ชั่วโมง 26 นาที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและฟื้นฟูการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_04_Railway_y24.php

‘รถไฟความเร็วสูงเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์’ คาดว่าจสร้างแล้วเสร็จในปี 2571

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงสายหนองคาย-เวียงจันทน์ (HSR) เชื่อมโยงการค้าไทย-จีน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2571 ภายใต้มูลค่าลงทุนประมาณ 3 พันล้านบาท มีระยะทาง 7.3 กิโลเมตร ซึ่งจะเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และออกแบบโครงการขั้นสุดท้ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2567 ตามด้วยการประมูลก่อสร้างที่มีกำหนดการเริ่มเปิดประมูลในปี 2568 ทั้งนี้ เป้าหมายสูงสุดของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะมีระยะทางครอบคลุม 606 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ ถึงหนองคาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการระยะแรก ซึ่งตั้งเป้าที่จะวางเส้นทาง 253 กิโลเมตรระหว่างกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา มูลค่าลงทุนกว่า 1.79 แสนล้านบาท ปัจจุบันเสร็จสมบูรณ์ 28.6% ซึ่งความล่าช้าที่เกิดจากปัญหาการเวนคืนที่ดินได้ขัดขวางความคืบหน้าในการก่อสร้าง กระทบต่อลำดับเวลาของโครงการ ซึ่งตามหลักการแล้วควรจะอยู่ที่ 50% อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับส่วนเชื่อมต่อนครราชสีมาถึงหนองคายได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว กระทรวงฯ รอการเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก รฟท. เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว ส่วนต่างๆ เหล่านี้ คาดว่าจะช่วยเพิ่มการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างประเทศไทยและจีน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/12/15/high-speed-rail-linking-nong-khai-vientiane-expected-to-complete-in-2028/

รถไฟลาว-จีน ให้บริการผู้โดยสารข้ามแดนแล้วกว่าแสนคน ในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา

นับตั้งแต่ให้บริการในวันที่ 13 เมษายน 2566 จนถึงเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา รถไฟลาว-จีน มียอดขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนแล้วกว่า 100,000 คน ผู้โดยสารประมาณ 14,900 คนเป็นชาวต่างชาติ อ้างอิงจากสถานีตรวจสอบชายแดนเข้า-ออกโมฮันในประเทศจีน-ชายแดน สปป.ลาว มีเที่ยวรถไฟโดยสาร 474 ขบวนในช่วงเวลาดังกล่าว นับตั้งแต่เปิดตัวให้บริการผู้โดยสารข้ามพรมแดน เส้นทางรถไฟสายนี้ได้กลายเป็นรูปแบบการขนส่งที่ต้องการของนักเดินทางระหว่างประเทศจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่สามารถจ่ายได้ และมีความสะดวกสบาย ประกอบกบขั้นตอนพิธีการศุลกากรที่มีความคล่องตัวมากขึ้นและการเดินทางโดยรถไฟจากคุนหมิงไปยังเวียงจันทน์ใช้เวลาเพียงเก้าชั่วโมงครึ่ง ซึ่งใช้เวลาเดินทางลดลงจากตอนเริ่มเปิดให้บริการในระยะแรก

ที่มา : https://english.news.cn/20231206/40001f12600549e0abe431812819cd18/c.html

สถานีรถไฟเวียงจันทน์ ในสปป.ลาว พร้อมให้บริการจอดรถค้างคืนภายในสถานี

บริษัท การรถไฟสปป.ลาว-จีน จำกัด โดย Boten Frontier Services Limited จะเป็นบริษัทที่รับผิดชอบในการดูแลความปลอดภัยของยานพาหนะที่จอดอยู่ในสถานี โดยตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2565 เป็นต้นไป จะมีจะมีการจัดเก็บค่าจอดรถ โดยมอเตอร์ไซค์ คันละ 5,000 กีบ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน คันละ10,000 กีบ และรถโดยสารขนาดกลางและขนาดใหญ่ คันละ 30,000 กีบ ขณะที่การจอดค้างคืนจะคิดเหมาจ่ายคันละ 80,000 กีบ ส่วนการให้บริการห้องน้ำภายในสถานีจะพร้อมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ โดย Boten Frontier Services Limited จะจัดเก็บค่าบริการต่อคนอยู่ 3,000 กีบต่อคน ซึ่งที่ผ่านมาทางสถานีได้รับวิจารณ์อย่างมากในความไม่สะดวกสะบายในเรื่องการให้บริการของห้องน้ำและที่นั่งไม่เพียงพอสำหรับผู้มาซื้อตั๋วโดยสาร ทั้งนี้ภายในสิ้นปีนี้บริษัทกำลังวางแผนที่จะเริ่มขายตั๋วออนไลน์เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้โดยสาร

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten177_Rail_y22.php

ชานซีเปิดตัวรถไฟบรรทุกสินค้าขบวนแรกจากจีน ไป สปป.ลาว

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (31 ก.ค.2565) มณฑลซานซี ทางเหนือของจีน เปิดตัวรถไฟบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศขบวนแรกที่วิ่งผ่านทางรถไฟจีน-สปป.ลาว  ซึ่งบรรทุกสินค้า เช่น เซรามิก สี และปุ๋ย ออกเดินทางจากมณฑลซานซีไปยังกรุงเวียงจันทน์ คาดว่าจะมาถึงสปป.ลาวในอีก 7 วัน โดยจะเชื่อมโยงคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนกับเวียงจันทน์ ทั้งคาดว่ารถไฟบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศจะยกระดับและขยายการเชื่อมโยงด้านลอจิสติกส์ระหว่างพื้นที่ทางตอนเหนือของจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมทั้งมีบทบาทในการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten146_Laos_Japan_y22.php

สปป.ลาวเล็งปลดล็อกศักยภาพความเชื่อมโยงระดับภูมิภาค

สปป.ลาวไม่เพียงหวังที่จะปลดล็อกศักยภาพของการเชื่อมต่อระดับภูมิภาค แต่ยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ยังส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกด้วย รัฐบาลกำลังพัฒนาเครือข่ายถนนและทางรถไฟสายสำคัญเพื่อเชื่อมต่อลาวกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีน เวียดนาม และไทย ธนาคารโลกได้เน้นย้ำถึงความท้าทายหลักและการปฏิรูปที่สำคัญบางประการที่จำเป็นสำหรับลาวเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่โดยเฉพาะจากการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นผ่านทางชายแดนและบริการขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าความเร็วปานกลางสปป.ลาว-จีน อีกทั้งธนาคารโลกยังแนะแนวทางปฎิบัติที่สำคัญอีกหลายประเด็นเพื่อทำให้สปป.ลาวเป็นประเทศเศรษฐกิจเชื่อมโยง อาทิ จัดการกับช่องว่างการเชื่อมต่อการขนส่งเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟและลอจิสติกส์ได้เปิดกว้าง การส่งเสริมการขนส่งข้ามพรมแดนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เร่งการปฏิรูปการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยการกำหนดระบอบการจัดการการผ่านแดนที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laoslook100.php

เร็วๆ นี้ รถไฟลาว-จีนจะเชื่อมท่าเรือแห้งธนาเล้ง

ทางการกำลังเตรียมเชื่อมต่อทางรถไฟลาว-จีน จากสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังท่าเรือแห้งธนาเล้ง เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าโดยใช้รถไฟได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2564 ถึงเมษายน 2565 ท่าเรือแห้งธนาเล้งได้ให้บริการขนส่งสินค้าลาว-จีนจำนวน 11,000 เที่ยว นับตั้งแต่เปิดทำการอย่างเป็นทางการ นายสาคน พิลังกาม กรรมการผู้จัดการท่าเรือแห้งธนาเล็ง กล่าวว่า จากตู้สินค้า 11,000 ตู้ ร้อยละ 80 ขนส่งสินค้าระหว่างทางจากจีนผ่านลาวไปยังประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย สินค้าที่จัดส่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ ปุ๋ย เสื้อผ้าและสิ่งทอ ทั้งนี้เพื่อให้การขนส่งสินค้าสะดวกยิ่งขึ้น บริษัท ท่าโบกธนาเลง จำกัด ได้ลงทุนก่อสร้างรางรถไฟระยะทาง 1.2 กิโลเมตร จากทางรถไฟลาว-ไทย ไป ท่าบกธนาเลง ขณะที่ บริษัท ลาว-จีน เรลเวย์ จำกัด กำลังลงทุนในการก่อสร้าง ของทางรถไฟจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ถึงธนาเลนระยะทาง 2.8 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างลาว-จีนกับสถานีเวียงจันทน์ใต้ไปยังท่าเรือแห้งทนาเล้งนั้นใช้สำหรับการขนส่งสินค้าเท่านั้น  เมื่อทางรถไฟสายใหม่เสร็จสิ้น จะช่วยให้การขนส่งสินค้าผ่านธนาเล้งจากจีนมาไทย จากไทยไปจีน ผ่านธนาเล้งได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten98_Laoschina.php