นายกฯ สปป.ลาว แนะโรงงานอาหารสัตว์ ‘เร่งผลิต’

นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีของ สปป.ลาว ให้กำลังใจผู้ประกอบการที่กำลังก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดหาวัตถุดิบแก่ฟาร์มชุมชนและการลดต้นทุน โรงงานแห่งนี้มีกำลังการผลิตอาหารสัตว์ประมาณ 10 ตันต่อชั่วโมงและเดินเครื่องจักรวันละ 8 ชั่วโมง และผลิตภัณฑ์ของโรงงานสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ปีกและสุกรได้ อีกทั้ง โรงงานแห่งนี้ถูกมองว่าเป็นก้าวสำคัญในการลดความต้องการนำเข้าอาหารสัตว์ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตอาหารและลดราคาอาหารในสปป.ลาวอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าและลดราคาสินค้าในประเทศ ท่ามกลางค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_PM22.php

‘เวียดนาม’ เผยอุตสาหกรรมป่าไม้ เตรียมรับมือวัตถุดิบในประเทศให้เพียงพอ

การประชุมสัมมนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “วิกฤติความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลกระทบแฝงต่ออุตสาหกรรมไม้ของเวียดนาม” จัดขึ้นโดยสมาคมไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้เวียดนาม เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ผู้เข้าร่วมการประชุมกล่าวว่าวัสดุไม้จากรัสเซียเข้ามายังเวียดนามมีปริมาณน้อยมากและในอนาคตคงจะหมดไป ดังนั้น ผลกระทบดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไม้ของเวียดนาม นอกจากนี้ รัสเซียไม่ได้เป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้รายใหญ่ของเวียดนาม คาดว่าจะไม่สร้างผลกระทบในเชิงลบมากเท่าไร อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมการประชุม ชี้ว่าความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน จะทำให้อุปทานวัสดุไม้จากรัสเซียลดลง ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัสดุไม้ไปยังทั่วโลกในอนาคต

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11260602-vietnam-s-wood-industry-seeks-to-ensure-self-sufficiency-in-domestic-materials.html

โรงงานแปรรูปบุกในรัฐมอญปิดตัว เหตุขาดวัตถุดิบ

โรงงานแปรรูปมันบุก (Elephant foot yam) ในรัฐมอญเผยอาจมีการปิดโรงงานลงจากการขาดวัตถุดิบ ซึ่งการเก็บกี่ยวผลผลิตจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ทั้งยังไม่สามารถซื้อวัตถุดิบจากพื้นที่อื่นได้เนื่องจากไม่สามารถทำธุรกรรมเพราะการปิดให้บริการของธนาคาร ก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ราคาพุ่งไปถึง 2,300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) แต่เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเหลือเพียง 1,700 จัตต่อ viss มันเทศชนิดนี้ถูกซื้อโดยจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นหลัก โดยญี่ปุ่นและจีนสร้างมูลค่าด้วยการขนมขบเคี้ยว ก๋วยเตี๋ยว และยา เป็นต้น เพราะมีไขมันต่ำและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายแต่ไม่ได้รับความนิยมในประเทศเนื่องจากไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ของมันบุก จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา ระบุว่าการส่งออกมันเทศและการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ผลิตจากมันจะช่วยให้ตลาดเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งปัจุบันเมียนมาผลิตเพียงมันกึ่งแปรรูปเท่านั้น มันบุกส่วนใหญ่เพาะปลูกในพื้นที่กว่า 8,800 เอเคอร์ของรัฐชิน ผู้ค้าให้ข้อมูลว่าผลผลิตในรัฐชินมีราคาสูงกว่าจากภูมิภาคอื่นเนื่องจากมีคุณภาพและรสชาติที่ดีกว่า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกมันเทศจำนวน 4,200 ตันในปี 57-58 จำนวน 1,300 ตันในปี 58-59 และ 20,000 ตันในปี 59-60

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/elephant-foot-yam-factory-in-mon-state-suspended-due-to-lack-of-raw-material/