สรท.หวังส่งออกปีนี้โต 10% อานิงสงส์จากเงินบาทอ่อน

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า  สรท.คาดการณ์การส่งออกรวมปี 2565 ทั้งปีที่ 6-8%  โดยมีปัจจัยบวกมาจากค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิตโลก (PMI) เดือนมิ.ย.ของประเทศคู่ค้าสำคัญเช่น สหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น ยังทรงตัวเหนือเส้น Baseline ระหว่าง 50-60 ขณะที่จีนเริ่มฟื้นกลับมาเหนือระดับ Baseline หลังจากก่อนหน้า PMI หดตัวต่ำกว่าที่คาดสะท้อนการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกิจกรรมการผลิตและเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ สรท. มีข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบด้วย 1. ขอให้ธปท. คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เพื่อประคองให้การฟื้นตัวภาคธุรกิจยังคงดำเนินการได้ และขอให้ธนาคารพาณิชย์ เร่งออกแคมเปญเพื่อช่วยเติมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการส่งออกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต  เร่งสร้างโอกาสทางการในตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ เช่น CLMV รวมถึงตลาดที่มีกำลังซื้อสูง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1018581

BAY ชี้แนวโน้มส่งออกชะลอตัวจากแรงกดดันศก.-การค้าโลก คาดทั้งปีโต 6%

วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 65 ยังคงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอลง โดยองค์การการค้าโลก (WTO) ล่าสุดได้ปรับลดคาดการณ์ปริมาณการค้าโลกในปี 2565 ขยายตัวเหลือ 3.0% จากเดิมคาดไว้ 4.7% เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ประกอบกับมีสัญญาณการชะลอตัวของการส่งออกในหลายประเทศเอเชียซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ อาทิ ไต้หวัน เกาหลี รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของประเทศแกนหลักเติบโตชะลอลงต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2022/204231

‘ภาคการผลิตเวียดนาม’ กลับมาเติบโต เหตุสถานการณ์โควิดดีขึ้น

ตามรายงานของ IHS Markit ได้เปิดเผยว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขดีขึ้นและการผ่อนคลายข้อจำกัดจากเชื้อไวรัส ทำให้ภาคการผลิตของเวียดนามกลับมาเติบโตอีกครั้งในเดือน ต.ค. สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ยอดคำสั่งซื้อใหม่และกิจกรรมการจัดซื้อ ในขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจพุ่งอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากพื้นที่อาศัยของคนงานอยู่ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโรค ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม ในเดือน ต.ค. กลับมาอยู่เหนือกว่าระดับไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม (50.0) มาอยู่ที่ระดับ 52.1 จุด จาก 40.2 จุดในเดือน ก.ย. ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงสัญญาการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในทุกภาคส่วนและสิ้นสุดการลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ตลอดจนการผ่อนคลายข้อจำกัดของโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งในเดือน ต.ค.

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-manufacturing-sector-returns-to-growth-as-pandemic-situation-improves/

เวียดนามส่งสัญญาสภาพธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ช่วงต้นปี 64

ตามผลการสำรวจของ Nikkei และ IHS Markit เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต (PMI) ของเวียดนามเดือน ม.ค. อยู่ที่ 51.3 ลดลงจาก 51.7 ในเดือน ธ.ค. ชี้ให้เห็นถึงสภาพการดำเนินธุรกิจปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นปี 2564 “ภาคการผลิตของเวียดนามพยายามดิ้นรนเพื่อรักษาโมเมนตัมในช่วงต้นปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และภาวะหยุดชะงักด้านซัพพลายเชน” ทั้งนี้ ในเดือน ม.ค. ภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ ยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นในบางธุรกิจ แต่ว่าธุรกิจอื่นยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้การผลิตลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตอุตฯ ยังคงรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร โดยบางบริษัทก็จ้างแรงงานเพิ่มขึ้น จากการที่ยอดคำสั่งซื้อใหม่สูงขึ้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-signals-soft-improvement-in-business-condition-at-start-of-2021-316119.html

เผยผลสำรวจดัชนีภาคการผลิตเวียดนามดิ่งลง เหตุภัยธรรมชาติ

ผลสำรวจล่าสุดซึ่งจัดทำโดยนิกเกอิ ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนาม ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 49.9 ในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนถึงสภาพธุรกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลงในวงกว้าง อีกทั้ง ผลผลิตลดลงเล็กน้อยในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งการลดลงดังกล่าวอาจเป็นแค่ชั่วคราว เนื่องจากธุรกิจหลายแห่งประสบปัญหาน้ำท่วมและพายุที่รุนแรง ทำให้การผลิตหยุดชะงัก รวมถึงการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อผลผลิต ในขณะที่ยอดคำสั่งซื้อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ว่านับเป็นส่วนน้อยของการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าผลการดำเนินธุรกิจในเดือนพฤศจิกายนไม่ค่อยดีนัก แต่ว่าธุรกิจหลายแห่ง มองว่าการผลิตจะกลับมาขยายตัวได้ในปีหน้า ด้วยความมั่นใจที่ว่าเวียดนามจะยังคงควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ต่อไป

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-manufacturing-activity-dips-in-nov-amid-storms-and-flooding-315078.html

เวียดนามเผยเดือนต.ค. ภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว

จากการสำรวจของ HIS Markit เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนต.ค. อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด ถึงแม้ว่าดัชนีปรับตัวลดลงจาก 52.2 จุดในเดือนก.ย. แต่ยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการควบคุมโควิด-19 ในเวียดนาม ช่วยให้ความต้องการซื้อของลูกค้ากลับมาฟื้นตัว และเป็นเหตุให้การสั่งซื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศใหม่ ยังอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากความต้องการลดลงในตลาดต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสอย่างรุนแรง โดยเฉพาะยุโรป ในขณะเดียวกัน การระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานในเดือนต.ค. จากปัญหาระยะเวลาในการจัดส่งของซัพพลายเออร์ที่นานขึ้น การขาดแคลนของวัตถุดิบและสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการขนส่ง ทั้งนี้ นาย Andrew Harker ผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจศาสตร์ของ IHS Markit กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ด้วยรากฐานที่มั่งคง และจากข้อมูลของดัชนีข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าภาคอุตฯ ยังคงขยายตัวได้ดีตราบเท่าที่สามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสได้ และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด การจ้างงานเริ่มส่งสัญญาฟื้นตัว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/804155/vietnamese-manufacturing-continues-recovery-in-october.html

ดัชนีภาคการผลิตเวียดนาม PMI สูงสุดในรอบ 10 เดือน

ตามผลการสำรวจของ Nikkei และ IHS Markit เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต (PMI) ในเดือนมิถุนายน แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน ทั้งนี้ ดัชนี PMI เดือนมิ.ย. ปรับตัวสูงระดับ 51.1 จากระดับ 42.7 ในเดือนพ.ค.

ประเด็นสำคัญ

  • ยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • การผลิตกลับมาดำเนินงานอีกครั้ง
  • คนมีงานทำลดลงอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-manufacturing-pmi-highest-in-10-months/177956.vnp

ภาคการผลิตของเวียดนาม ส่งสัญญาฟื้นตัวในเดือนพฤษภาคม

Nikkei และ HIS Markit รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เพิ่มขึ้นจาก 32.7 ในเดือนเมษายน (ต่ำที่สุด) มาอยู่ที่ 42.7 ในเดือนพ.ค. (+10) ซึ่งส่งสัญญาว่าสภาวะของภาคธุรกิจเริ่มจะฟื้นตัวกว่าเดือนก่อนหน้า ผู้ผลิตยังคงปรับลดการผลิตลง จากการจัดซื้อ และคลังสินค้าทั้งที่มาจากการจัดซื้อและสินค้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดห่วงโซ่ปุทานเกิดภาวะชะงักงัน ถือเป็นลักษณะสำคัญจากการสำรวจในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ การขาดแคลนของวัตถุดิบบางอย่าง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ต้นทุนปัจจัยการผลิตลดลงในเดือนที่สอง สะท้อนได้จากราคาน้ำมันลดลง ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตจึงปรับลดราคาสินค้าในแต่ละเดือน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนก.พ. ถึงแม้ว่าจะเริ่มผ่อนคลายลงในเดือนเม.ย. นอกจากนี้ การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในเวียดนาม ส่งผลให้ผู้ผลิตส่วนใหญ่มองว่ากิจกรรมการผลิตจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า ตามแนวโน้มเชิงลบในเดือนก่อน

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnams-manufacturing-activity-signals-improvement-in-may-a202045256.html