เมียนมาเข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ครั้งที่ 27 (SPIEF-2024)

คณะผู้แทนเมียนมานำโดยสมาชิกสภาบริหารแห่งรัฐ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีสหภาพแรงงาน พลเอกเมีย ตุน อู เข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ครั้งที่ 27 (SPIEF-2024) ที่สหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ 5 ถึง 8 มิถุนายน โดยมีเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน คณะผู้แทนเมียนมาเข้าพบกับรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบด้านบูรณาการและเศรษฐศาสตร์มหภาค คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเอเชีย (Eurasian Economic Commission : EEC) และหารือเกี่ยวกับการยกระดับการค้าและการลงทุนระหว่างเมียนมาและสมาชิก EAEU ศึกษาเรื่องการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของ EAEU และความร่วมมือทำงานผ่านบันทึกความร่วมมือระหว่างเมียนมาและ EEC อย่างไรก็ดี ในการประชุมวันที่ 6 และ 7 ประธานาธิบดีรัสเซีย นายวลาดิมีร์ ปูติน ได้เข้าร่วมกล่าวสุนทรพจน์และเป็นผู้นำการประชุม โดยในวันที่ 6 มิถุนายน ได้มีการเข้าพบนายมักซิม เรเช็ตนิคอฟ รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจรัสเซีย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนงานที่จะต้องดำเนินการตามรายงานการประชุมการประชุมครั้งที่ 4 ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลรัสเซีย-เมียนมาว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจ ซึ่งจัดในเดือน มกราคม 2567 ที่รัสเซีย ความคืบหน้าในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเมียนมา-รัสเซีย และการดำเนินการตามแผนงานความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ วันที่ 7 มิถุนายน คณะผู้แทนเมียนมาได้พบกับนาย Roman Vladimirovich Starovoyt รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของรัสเซีย และการอภิปรายมุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือในภาคการขนส่งระหว่างเมียนมาและรัสเซีย การให้บริการเที่ยวบินระหว่างทั้งสองประเทศ และความร่วมมือในการขนส่งทางรถไฟ นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแห่งสหภาพเมียนมายังได้เข้าพบกับ ดร. มิคาอิล มูราชโก รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของรัสเซีย และหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีในภาคด้านสุขภาพ การร่างกรอบความร่วมมือ การบริการดูแลสุขภาพร่วมกันสำหรับโรคมะเร็ง ณ โรงพยาบาลตองยี เซา ซาน ตุน การจำหน่ายและการผลิตยารักษาโรคมะเร็งที่ผลิตโดยรัสเซีย ในประเทศเมียนมา และ คณะผู้แทนเมียนมายังได้พบปะกับเจ้าหน้าที่ของบริษัท Russian PJSC Gazprom, FESCO Transport & Logistics Company, Business Russia และ Aquarius Technology Company เพื่อหารือเกี่ยวกับการลงทุนในภาคพลังงานของเมียนมา การทำงานความร่วมมือในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เศรษฐกิจดิจิทัล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และข้อมูล

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-participates-in-27th-st-petersburg-international-economic-forum-spief-2024/

เมียนมาตั้งเป้าส่งออกพัลส์ 1.89 ล้านตันในปีงบประมาณนี้

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า เมียนมาพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการส่งออก 1.89 ล้านตันในปีงบประมาณ 2567-2568 ผลิตผลทางการเกษตรของเมียนมาถือเป็นกระดูกสันหลังของการส่งออก รวมถึงข้าว ข้าวโพด และเมล็ดงา ซึ่งมีส่วนช่วยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในระดับดี โดยที่มูลค่าการส่งออกถั่วพัลส์ของเมียนมาในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 1.76 ล้านตัน (เมษายน 2566 – มีนาคม 2567) ประกอบด้วยการค้าทางทะเล 1.6 ล้านตัน มูลค่า 1.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการค้าผ่านด่านชายแดน 157,400 ตัน มูลค่า 141.38 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ปีงบประมาณปัจจุบัน 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเมียนมามีรายได้ 412 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 470,000 ตัน โดยการส่งออกพัลส์ของเมียนมาทางทะเลมีมูลค่ารวมกว่า 460,800 ตัน มูลค่า 397.8 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่พัลส์มากกว่า 17,000 ตัน มูลค่า 14.6 ล้านดอลลาร์ ถูกส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านผ่านทางชายแดน อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้มีความร่วมมือกับสมาคมผู้ค้าถั่ว ถั่ว ข้าวโพด และเมล็ดงา เพื่อมุ่งเป้าไปที่การส่งออก ทั้งนี้การบริโภคภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 20 ของผลผลิตพัถั่วลส์ของเมียนมา ในขณะที่ร้อยละ 80 ของการผลิตถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aims-to-export-1-89m-tonnes-of-pulses-this-fy/

‘เมย์แบงก์’ ชี้เวียดนามติดอันดับ 6 ประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในอาเซียน

จากข้อมูลของบริษัทวิจัยการตลาดเมย์แบงก์ (Maybank Research Pte Ltd) คาดการณ์ว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของ 6 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม จะฟื้นตัว 4.5% และ 4.7% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ จาก 4% ในปี 2566 ในขณะที่ตามรายงาน ‘ASEAN Frontiers: The New Trailblazers’ ระบุว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ได้แรงหนุนมาจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เมย์แบงก์ยังเปิดเผยว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) ศูนย์ข้อมูลและความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก ผลักดันให้กิจกรรมการค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงมีความแข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของสินเชื่อ นอกจากนี้ เมย์แบงก์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าอาเซียนจะกลายมาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางสำคัญของโลก เนื่องจากบริษัทข้ามชาติ (MNC) ต้องการกระจายห่วงโซ่อุปทานการผลิตออกจากประเทศจีน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-among-six-asean-countries-with-good-economic-growth-maybank-post1100769.vov

‘โรงงานเวียดนาม’ 4 แห่ง ดันรายได้ซัมซุง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

จากรายงานผลประกอบการล่าสุดของบริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ (Samsung Electronics) พบว่ารายได้ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อยู่ที่ 54 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหากพิจารณากำไรของบริษัทจะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้น 4 เท่า คิดเป็นมูลค่าราว 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยในบรรดาโรงงานของบริษัทที่ดำเนินกิจการทั่วโลก เห็นได้ว่ามีโรงงานที่ดำเนินการอยู่ในประเทศเวียดนาม จำนวน 4 แห่ง ทำรายได้รวมมากว่า 16 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อหักเหลือกำไรสุทธิจะอยู่ที่ประมาณ 1.18 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 23% ของกำไรรวมของบริษัทแม่ ทั้งนี้ โรงงานซัมซุง ‘Samsung Electronics Vietnam Thai Nguyen’ ตั้งอยู่ในตังหวัดไทเหงียน ทำรายได้สูงสุดที่ 690 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาโรงงาน Samsung Electronics Vietnam และ Samsung Display Vietnam อยู่ที่ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี ซัมซุงยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะคู่แข่งอย่างหัวเว่ย และมีรายงานของบริษัทวิจัยการตลาด เปิดเผยว่าซัมซุงได้สูญเสียตำแหน่งผู้นำในตลาดสมาร์ทโฟนแบบพับให้กับหัวเว่ยในไตรมาสแรกของปีนี้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/four-vietnam-factories-generate-us12-bln-in-net-profit-for-samsung-post1100774.vov

รองประธานสภา สปป.ลาว กังวลการจัดสรรงบดำเนินโครงการของรัฐและการบริหารหนี้ของประเทศ

นายสมมาศ พลเสนา รองประธานสภาแห่งชาติลาว เปิดเผยถึงการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการของรัฐและการบริการหนี้ค่อยข้างช้าและนโยบายสนับสนุนการเกษตรยังอ่อนแอ นอกจากนี้ ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นไม่ได้ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ จึงขอเน้นย้ำถึงความจำเป็นของกระบวนการที่มีความคล่องตัวเพื่อช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยสังเกตว่าแม้ว่าเงินฝากธนาคารจะอยู่ที่ 63% ของ GDP แต่มีการออกเงินกู้เพียงเล็กน้อย โดยการประชุมสภาฯ จะเริ่มอีกครั้งในวันที่ 2 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะนำความก้าวหน้าในการจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของประเทศ เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตราการออกจากโรงเรียนกลางคัน การขาดแคลนครูและแรงงาน และการค้ายาเสพติด มาเป็นวาระในการประชุม

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/06/11/prime-minister-highlights-economic-growth-despite-challenges/

กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่ม GFT โต 20% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาเปิดเผยรายงานเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (9 มิ.ย.) ว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2024 กัมพูชาสามารถส่งออกสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าเพื่อการเดินทาง (GFTs) มูลค่ารวมกว่า 4.969 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับมูลค่า 4,129 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับการส่งออกสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและสิ่งทอมีมูลค่าการส่งออกรวม 3.628 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จาก 2.960 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกสินค้ากลุ่ม รองเท้า มีมูลค่าการส่งออกรวม 615 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และ สินค้าเพื่อการเดินทางมูลค่าการส่งออกรวม 726 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ด้านธนาคารโลก (WTO) ได้ระบุเสริมว่าภาคอุตสาหกรรม GFT ของกัมพูชาถือเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา โดยคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตร้อยละ 5.8 ในปีนี้ ซึ่งตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของภาคส่วนดังกล่าวต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501503300/cambodia-sees-20-pct-rise-in-export-of-garments-footwear-and-travel-goods-in-first-five-months/