เวียดนามอาจส่งออกข้าวแซงไทย

เวียดนามอาจส่งออกข้าวแซงไทยในปีนี้ เนื่องจากราคาที่แข่งขันกันได้และการยกเลิกโควต้าส่งออกข้าว โดยข้อมูลทางสถิติจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่าปริมาณการส่งออกข้าวของไทยอยู่ที่ 2.57 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 54.2 พันล้านบาท (1.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 31.9 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 13.2 ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) ระบุว่าช่วงเวลาเดียวกันนั้น ปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ที่ราว 2.9 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 18.9 ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยมองว่าในปีนี้ ปริมาณการส่งออกข้าวจะอยู่ที่ 6.5 ล้านตัน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาและต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 7.5 ล้านตัน เป็นผลมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ความต้องการทั่วโลกที่หดตัวลงจากการระบาดของไวรัส เงินบาทแข็งค่าและผลผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ จากภัยแล้งที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะช่วยให้เวียดนามสามารถกระจายตลาดการส่งออกข้าวให้หลากหลายมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-may-surpass-thailand-in-rice-export/179355.vnp

เมียนมาปล่อยสินเชื่อ 100 พันล้านจัต เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากพิษ COVID-19

ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะกรรมการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) ได้ประกาศกองทุนสินเชื่อใหม่ 100 พันล้านจัต เป้าหมายเพื่อช่วยเหลือธุรกิจในภาคเกษตรปศุสัตว์ การส่งออก / นำเข้า การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน อาหารและเครื่องดื่ม (F&B) หน่วยงานต่างประเทศ และโรงเรียนอาชีวศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ตามความล้มเหลวในการชำระคืนเงินกู้จะส่งผลให้ถูกเรียกเก็บเงินตามกฎหมายและธุรกิจจะส่งผลลบต่อเครดิตบูโรและเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับเงินกู้จาก MFI ตามประกาศของคณะกรรมการ CERP เงินกู้ยืมจากกองทุนสามารถสมัครได้ที่สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมสหภาพเมียมา สำนักงานใหญ่ ภูมิภาค และสำนักงานของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคมถึง 10 สิงหาคม 2563 เงินกู้นี้จะใช้สำหรับการจ่ายค่าแรงและการดำเนินธุรกิจเท่านั้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/covid-19-relief-plan-committee-myanmar-announces-new-k100b-loan-programme.html

ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จำนวน 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินทุนสนับสนุนโครงการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (JDS)  2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่สปป.ลาววัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้คือการยกระดับความรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐ ผ่านทุนการศึกษามูลค่ากว่า 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยโครงการจะดำเนินการตั้งแต่เดือนนี้จนถึงเมษายน 2567 มีทุนการศึกษากว่า 20 ทุนต่อปีในการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่สถาบันและมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น โครงการจะดำเนินการโดย สถาบันJICA และกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา โดยโครงการ JDS เปิดดำเนินการในสปป.ลาวตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน ได้ส่งเจ้าหน้าที่กว่า 420 คนไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ตามวัตถุประสงค์โครงการที่ต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาว โครงการ JDS ยังได้ตั้งเป้าหมายเยาวชนที่มีความสามารถสูง (ส่วนใหญ่ทำงานส่วนภาครัฐ) ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในฐานะผู้นำในอนาคตจะเป็นส่วนสนับสนุนให้การเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา:http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Investment141.php

การเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมการตลาดสู่ความสำเร็จของงานฝีมือสปป.ลาว

ผู้บริหารใหม่ของสมาคมหัตถกรรมสปป.ลาวและสมาชิกทั่วประเทศจำเป็นต้องทำงานหนักขึ้นในการสร้างเครือข่ายการตลาดที่ยืดหยุ่นเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นให้กับลูกค้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากล่าวคำแนะนำในการประชุมสมาคมหัตถกรรมสปป.ลาวครั้งที่ 9 เพื่อคัดเลือกผู้บริหารใหม่ขององค์กร ซึ่งในปัจจุบันมีความท้าทายที่สำคัญสำหรับช่างฝีมือในท้องถิ่นเพราะขาดเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งเพียงพอสำหรับผลิตภัณฑ์ การมีสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความมั่นคงในการผลิตงานฝีมือและช่วยให้ช่างฝีมือสามารถเพิ่มยอดขายและรายได้ได้อย่างมาก เครือข่ายที่ได้รับการหนุนเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นในการขยายคุณภาพและปริมาณการผลิตเพื่อจำหน่ายไปยังประเทศอาเซียนและตลาดส่งออกต่อไป และนายกสมาคมหัตถกรรมสปป.ลาวยังได้เน้นถึงความสำเร็จของเจ้าหน้าที่ในการช่วยเหลือช่างฝีมือสปป.ลาวในประเทศ นอกจากนี้ในที่ประชุมมีการกล่าวถึงการส่งเสริมทักษะด้านเทคนิคและการตลาดสำหรับผู้ผลิตที่ใช้ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย, ไม้ไผ่, หวาย, เงิน, เครื่องปั้นดินเผาและอาหาร รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Enhanced146.php

ภาคโลจิสติกส์กัมพูชาต้องการความช่วยเหลือจากทางภาครัฐบาล

ภาคการขนส่งของกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19 กำลังมองหาการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาล โดยประธานสมาคมโลจิสติกส์กัมพูชา (CLA) กล่าวว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทำให้บริการขนส่งโดยรวมลดลงมากถึงร้อยละ 70 ในขณะที่การขนส่งทางอากาศของกัมพูชาหยุดชะงักถึงร้อยละ 98 ของการขนส่งทางอากาศทั้งหมด อย่างไรก็ตามการขนส่งสินค้าทางน้ำและทางบกมีการฟื้นตัวมากกว่าร้อยละ 10 เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับบางภาคส่วนไปแล้ว เช่น SMEs และบริการด้านการท่องเที่ยว แต่ไม่ใช่สำหรับการขนส่งซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยสินค้าของกัมพูชาส่วนใหญ่ถูกจัดส่งผ่านทางท่าเรือทั้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เสื้อผ้า รองเท้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการสนับสนุนด้านการผลิต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50749687/logistics-sector-seeks-cash-aid-but-its-not-yet-a-priority/

ข้อสรุปความตกลงด้านการค้าเสรีระหว่างจีนกับกัมพูชา

กัมพูชามีสินค้าส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้นมากกว่า 340 รายการ ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกัมพูชากับจีน ส่งผลให้มีสินค้าภายใต้ FTA ณ ปัจจุบันจำนวนมากกว่า 10,000 รายการ โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมและสินค้าแปรรูปทางการเกษตร ในขณะที่ประเทศจีนได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าไปยังประเทศกัมพูชามากกว่า 9,500 รายการ ซึ่งข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างกัมพูชา – จีนจะลงนามในไม่ช้า ภายในต้นปีหน้า คาดว่าจะส่งผลให้มีการลงทุนภายในกัมพูชาเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามกัมพูชาไม่ควรพึ่งพาจีนเพียงอย่างเดียว โดยในระยะยาวคาดว่าประเทศส่วนใหญ่ที่กำหนดเป้าหมายทำการค้าไปยังตลาดจีนจะเข้ามาลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ซึ่งเขตการค้าเสรีจะสร้างโอกาสสำหรับกัมพูชาในการยกระดับอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อกระจายผลิตภัณฑ์สำหรับการส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50749528/free-trade-deal-with-china-finally-finalised/

เวียดนาม-อินโดนีเซีย สองประเทศน่าลงทุน

โดย SME Go Inter

กองส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ หนึ่งในหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มองเห็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยที่สนใจการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญให้กับนักลงทุนไทยในอนาคต คือ “เวียดนามและอินโดนีเซีย”

เวียดนาม

  • มีการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
  • เศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จาก GDP โดยเฉลี่ยของเวียดนามอยู่ที่ระหว่าง 6-7%
  • จุดแข็ง FTA มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะความตกลงการค้าเสรียุโรป (EVFTA), ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)
  •  ความพร้อมด้านแรงงาน โดยมีแรงงานในวัยหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิตรองเท้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อีกทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์
  • ประชาชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการที่พักอาศัยในเมืองสูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะคอนโดมีเนียม

อย่างไรก็ตาม การดำเนินในเวียดนามมีข้อคำนึงในเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบ ซึ่งนักลงทุนควรทำการศึกษาให้ดีก่อนทำการลงทุน

จึงเป็นโอกาสอันดีที่อุตสาหกรรมสนับสนุนของไทย ทั้งในด้านการผลิตชิ้นส่วนและบริการ จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมที่ประเทศเวียดนามมีความต้องการ

อินดีนีเซีย

  • ตลาดใหญ่ ปัจจุบันประชากรมีมากกว่า 270 ล้านคน รวมถึงทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์
  • อุตสาหกรรมเกษตรมีความโดดเด่น ได้แก่ เมล็ดกาแฟ น้ำมันปาร์ม ยางพารา
  • สินค้าไทยที่ขายดีในอินโดนีเซีย เช่น เครื่องสำอาง สินค้าอุปโภคบริโภค
  • อุตสาหกรรมที่เป็นดาวรุ่งในช่วงนี้ ได้แก่ ธุรกิจอีคอมเมิร์ส อุตสาหกรรมพลาสติกและบรรจุภัณฑ์

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-indonesia-countries-worth-investing

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยช่วง 7 เดือนแรกปึนี้ ดึงดูดเม็ดเงิน FDI กว่า 18.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม เปิดเผยว่ายอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่า 18.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินลงทุนจากโครงการใหม่จำนวน 1,620 โครงการรวมมูลค่า 9.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, โครงการปรับเพิ่มเงินทุนจำนวน 619 โครงการรวมมูลค่า 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการซื้อหุ้นกิจการภายในประเทศจำนวน 4,459 โครงการรวมมูลค่า 4.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปยังคงดึงดูดความสนใจของนักลงทุนต่างชาติ มูลค่า 8.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.62 ของมูลค่าการลงทุนรวม รองลงมาไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ำและระบบการปรับอากาศ มูลค่า 3.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (20.99%), อสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 2.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (14.98%), การค้าปลีกค้าส่งและซ่อมยานยนต์ มูลค่า 1.095 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (5.8%) และอื่นๆ ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/first-7-months-fdi-attraction-reaches-over-188-billion-usd/179310.vnp