สมาคมยานยนต์เวียดนามเผยตลาดยานยนต์ในประเทศกลับมาฟื้นตัว

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) ระบุว่าในเดือนมิ.ย. สมาชิกของสมาคมฯ มียอดขายยานพาหนะ 24,002 คัน ลดลง 13% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยรถยนต์ส่วนบุคคลมียอดขายมากที่สุดจำนวน 17,584 คัน เพิ่มขึ้น 35% รองลงมารถที่มีวัตถุประสงค์พิเศษจำนวน 309 คัน เพิ่มขึ้น 18% และรถเชิงพาณิชย์จำนวน 6,109 คัน เพิ่มขึ้น 5% ซึ่งทางสมาคมฯ มองว่าสถานการณ์ปัจจุบัน ตลาดรถยนต์กำลังส่งสัญญาการฟื้นตัว หลังหมดโควิด ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สมาชิกของสมาคมฯ ระบุว่ายอดขายยานพาหนะ 107,183 คัน ลดลง 31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยยอดขายรถยนต์ทุกประเภทลดลง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษลดลงหนัก 40% อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าตัวเลขยอดขายดังกล่าวไม่ได้แสดงถึงภาพรวมของตลาดรถยนต์ในประเทศทั้งหมด เนื่องจากยังไม่ได้รวมยอดขายของแบรนด์ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้แก่ Audi, Jaguar Land Rover, Mercedes-Benz, Subaru, Volkswagen, Volvo และ TC Motor เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/automobile-market-on-recovering-track-vama/178435.vnp

เวียดนามลงทุนไปต่างประเทศพุ่ง ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563

จากรายงานทางสถิติของกรมการลงทุนต่างชาติ ภายใต้กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ระบุว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามมีการลงทุนไปต่างประเทศ มูลค่า 222.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งในเดือนมิ.ย. โครงการลงทุนในต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติ 10 โครงการ ยอดการลงทุนในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 2.5 เท่า ทั้งนี้ เยอรมนีเป็นแหล่งการลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 92.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 41.6% ของเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาเมียนมา สปป.ลาว สหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ ตามลำดับ โดยสาขาอุตสาหกรรมที่เวียดนามลงทุนไปต่างประเทศมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 137.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (61.9% ของเงินลงทุนทั้งหมด) รองลงมาภาคการค้าปลีกค้าส่ง บริการจัดเลี้ยงที่พักและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตามลำดับ นอกจากนี้ ธุรกิจเวียดนามควรพัฒนากลยุทธ์ด้านการลงทุนระยะกลางและระยะยาว ในขณะเดียวกัน ส่งเสริมความเชื่อมโยงกับองค์กรต่างชาติและพึงระวัง รวมถึงประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันงประเทยบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน63 อย่างมาก

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-investments-abroad-surged-in-first-half-of-2020-22265.html

เมียนมาลงทุนสร้างห้องเย็น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเงินกู้ของธนาคารโลก

กองปศุสัตว์และสัตวแพทย์ของเมียนมาเผยมีการกู้ยืมเงิน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อสร้างห้องเย็นสำหรับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในย่างกุ้ง เขตพะโค และเขตอิระวดี ซึ่ง Covid-19 ส่งผลต่อต่อภาคปศุสัตว์ของเมียนมา เพราะการหมุนเวียนของสินค้าล่าช้าเนื่องจากมีห้องเย็นไม่เพียงพอ จากข้อมูลพบว่าประเทศเพื่อนบ้านมีสินค้าส่วนเกินจากปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ผลิตเมื่อเกิดโรคทำให้สินค้าใกล้หมดอายุและไม่เหมาะกับการบริโภค ซึ่งสินค้าเหล่านี้กำลังถูกนำเข้าทางชายแดนอย่างผิดกฏหมาย สหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาได้กำหนดรายชื่อผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายแล้ว เช่น ไก่สด (เนื้อและไข่) ไก่เนื้อ ไก่แช่แข็ง ไส้กรอก ไข่ ลูกหมู หมู และหมูแช่แข็ง มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อยู่ระหว่าง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 13 ล้านดอลลาร์จากปีงบประมาณ 2548-2549 จนถึงปี 2560-2561 หลังจากการผ่อนปรนข้อจำกัดรัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกสัตว์มีชีวิตได้ซึ่งได้รับความร่วมมือของผู้ประกอบการ ส่วนมูลค่าการส่งออกในรอบปีเพิ่มขึ้นเป็น 562.859 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cold-storage-factories-to-be-built-with-4m-world-bank-loan

ไฟเขียวต่างชาติลงทุนไทย มิ.ย.63 จำนวน 22 ราย

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่า เดือนมิ.ย.2563 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 22 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน มีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจ 1,587 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 3,575 คน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศและการถ่ายเทสารเคมีในหอกลั่นสูงที่มีความกดอากาศตามมาตรฐานยุโรป องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้หลักการแลกเปลี่ยนความร้อน (HRSG system) องค์ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อออกแบบและพัฒนาคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ และโปรแกรมเพื่อการตรวจและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสินทรัพย์ เป็นต้น สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการโดยเป็นคู่สัญญากับเอกชน จำนวน 4 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และจีน มีเงินลงทุนจำนวน 542 ล้านบาท 2.ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 6 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ มีเงินลงทุนจำนวน 632 ล้านบาท 3.ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 7 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์  มีเงินลงทุนจำนวน 181 ล้านบาท  4.ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศสวิส ซามัว อังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีเงินลงทุนจำนวน 232 ล้านบาท ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/888887?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

Vietnam Economic Factsheet : May.2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ประจำเดือนพฤษภาคม 2563

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • พื้นที่การเกษตรกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคล
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • ปริมาณเงินความหมายกว้าง (M2)
  • อัตราแลกเปลี่ยน
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • สินเชื่อในประเทศ

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data

สปป. ลาวเตรียมให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2563 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการค้าของ สปป. ลาวได้เผยแพร่ข้อตกลงว่าด้วยการดำเนินกิจการลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 29 พ.ค. 2563 โดยจะมีการให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการดำเนินกิจการให้มีความเป็นระเบียบ ถูกต้อง ได้มาตรฐาน ทันสมัย และปลอดภัย โดยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวอักษร เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวเลข เสียง หรือสิ่งอื่นที่สร้างขึ้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อบ่งบอกและยืนยันตัวตนของผู้ลงลายมือชื่อและความถูกต้องของข้อมูล โดยหน่วยงานออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มี 2 ระดับ คือ

  1. หน่วยงานออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National Root Certificate Authority) เป็นหน่วยงานให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รายย่อย ซึ่งศูนย์อินเทอร์เน็ตแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ
  2. หน่วยงานออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รายย่อย (Sub – Certificate Authority) ให้บริการ 4 ประเภท ได้แก่
    1. บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป (Public Certificate Authority)
    2. บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government Certificate Authority)
    3. บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างชาติ (Foreigner Public Certificate)
    4. บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ภาคเอกชน (Private Certificate Authority)

บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะประกอบด้วยการบริการยืนยันลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) บริการยืนยันระบบแม่ข่าย (Secure Sockets Layer) บริการประทับเวลา (Time Stamp) และบริการอื่น ๆ ตามที่กระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการสื่อสาร สปป. ลาวกำหนด โดยนิติบุคคลหรือองค์กรที่ประสงค์จะดำเนินธุรกิจให้บริการออกรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปต้องขอใบอนุญาตจากกระทรวงไปรษณีย์ฯ และขอใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จากผู้ออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ โดยต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้ (1) ใบรับรอง (2) ประวัติผู้บริหาร (3) ประวัติเจ้าหน้าที่เทคนิคและใบรับรองการศึกษา (4) สำเนาใบทะเบียนวิสาหกิจหรือใบรับรองการก่อตั้ง (5) ใบรับรองที่ตั้งสำนักงาน (6) บทวิพากษ์เศรษฐกิจและแผนด้านเทคนิค (7) กฎระเบียบการให้บริการ  (8) ใบรับรองสถานะทางการเงินจากธนาคารแห่งสปป. ลาว และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

เงื่อนไขการพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป คือ ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 10 พันล้านกีบ (1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ไม่อยู่ในระหว่างการถูกอายัติทรัพย์สิน อยู่ในกระบวนการฟ้องล้มละลายหรือถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตามกฎหมายของ สปป. ลาว และไม่เคยถูกยกเลิกหรือถอนใบอนุญาตจากกระทรวงไปรษณีย์ฯ มาก่อน โดยกระทรวงไปรษณีย์ฯ จะพิจารณาออกใบอนุญาตให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำร้องและเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง ในกรณีคำร้องถูกปฏิเสธ กระทรวงไปรษณีย์ฯ จะแจ้งเหตุผลให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายใน 10 วันทำการ

สำหรับอายุของใบอนุญาตการให้บริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปมีอายุ 3 – 5 ปี โดยสามารถต่ออายุได้ สำหรับใบอนุญาตบริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐมีอายุ 1 – 3 ปี ใบอนุญาตบริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศมีอายุไม่เกิน 3 ปี และใบอนุญาตบริการออกใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เฉพาะมีอายุไม่เกิน 5 ปี

ที่มา : https://globthailand.com/laos-03072020/