พาณิชย์ ลุยปี 64 เจรจา FTA เพิ่ม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างการจัดทำแผนงบประมาณปี 2564 โดยยังคงเดินหน้าภารกิจการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในกรอบการเจรจาที่ดำเนินการอยู่ คือ ไทย-ปากีสถาน ซึ่งเจรจาไปแล้ว 9 รอบ แต่มีปัญหาการเมืองภายในปากีสถานทำให้การเจราต้องหยุดชะงัก คาดว่าหลังโควิดคลี่คลายจะกลับเจรจากันต่อ ,ไทย-ตุรกี มีเป้าหมายว่าจะสรุปผลการเจรจาใน ปี2564 ซึ่งช่วงเดือนธ.ค.จะมีการประชุมครั้งที่ 7 ที่ตุรกีและในปี 2564 จะมีประชุมอีก 3-4 ครั้งเพื่อหาข้อสรุป , ไทย-ศรีลังกา มีการเจรจาไปแล้ว 2รอบแต่ศรีลังกามีการเลือกตั้งทำให้ต้องชะลอการเจรจาเอฟทีเอไปก่อน ,ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่อยู่ในอนุทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (บิมสเทค) ที่ประกอบด้วยบังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน แต่มีความคืบหน้าช้ามาก ส่วนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป คาดว่าน่าจบได้ภายในเดือนก.ค.นี้ และเมื่อความตกลงสรุปได้ทั้งหมด กรมฯ จะรีบแปลเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือนต.ค.2563 เพื่อขอความเห็นชอบการลงนามความตกลงอาร์เซ็ปในเดือนพ.ย.2563 ที่เวียดนามอย่างไรก็ตาม ฮ่องกง และไต้หวัน ได้แจ้งมายังอาเซียนว่า ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ของอาร์เซ็ป แต่การรับสมาชิกใหม่ จะเกิดขึ้นภายหลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้ไปแล้ว 18 เดือน

ที่มา ; https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/887531?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามเผยเนื้อหมูที่นำเข้าจากญี่ปุ่นขายได้ดี แม้ว่าราคาจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม

ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่นำเข้าจากญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมในตลาดเวียดนาม ถึงแม้ว่าราคาสูง 4-5 เท่าเมื่อเทียบกับสินค้าในท้องถิ่น โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดหมูแอฟริกัน (ASF) ส่งผลต่ออุปทานเนื้อหมูในท้องถิ่น ซึ่งตลาดและซูปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในเวียดนาม มีราคาเนื้อหมูอยู่ที่ 150,000-320,000 ด่งต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า ทั้งนี้ เวีดยนามนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศ มากกว่า 70,000 ตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งผลิตภัณฑ์หมูที่นำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับทางเลือกในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์หมูของญี่ปุ่นมีราคาสูง 4-5 เท่ากว่าตลาดในประเทศ นอกจากนี้ พ่อค้าเนื้อหมูชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ของเขาขายดีมากกว่าหมูไอเบริโกของสเปน จำนวนยอดคำสั่งซื้อออนไลน์เกือบ 100 กิโลกรัมต่อวัน ลูกค้าส่วนใหญ่มาจากเมืองโฮจิมินห์

ที่มา : https://vnexplorer.net/japanese-imported-pork-sells-well-despite-high-prices-a202059181.html

เวียดนาม-ญี่ปุ่น ขยายความร่วมมือทางการค้าทวิภาคี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น หารือแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างสองประเทศ รวมถึงการค้าชายแดนและข้อตกลงการค้าเสรี “CPTPP” หลังจากสิ้นสุดของโรคระบาด เศรษฐกิจหันมาฟื้นตัวในภูมิภาคและทั่วโลก ซึ่งรัฐมนตรีทั้งสองท่านต่างแสดงความกังวลต่อลัทธิกระทำฝ่ายเดียวและเน้นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวและหลังจากสิ้นสุดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกและกลุ่มสมาชิกมีการพัฒนามากขึ้น ขยายห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและระดับโลก ขณะที่ ส่งเสริมการใช้อีคอมเมิรซ์และเศรษฐกิจดิจิทัลในการผลิต อย่างไรก็ตาม การอภิปรายดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายแสดงให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อขยายการค้าทวีภาคีมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแค่ข้อตกลง CPTPP แต่ยังมีข้อตกลงอื่นๆอีก เช่น หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลง ASEAN-Japan เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-japan-seek-to-expand-bilateral-trade-ties/177873.vnp

ยุโรปเรียกร้องให้จีนชะลอการชำระหนี้ของเมียนมา

ประเทศในยุโรปตกลงที่จะเลื่อนการชำระคืนเงินกู้ของเมียนมาเป็นจำนวนเงินรวม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังเรียกร้องให้จีนทำเช่นเดียวกัน ออสเตรีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมันนี, เนเธอร์แลนด์และโปแลนด์มีการผ่อนผันการชำระคืนเป็นจำนวนเงินรวม 98 ล้านเหรียญสหรัฐรวมทั้งดอกเบี้ยสำหรับงวดเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม 2563 จำนวนหนี้ประกอบด้วยร้อยละ 20 ของการชำระหนี้ตามกำหนดเวลาของเมียนมาซึ่งมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลานี้ สหภาพยุโรปเรียกร้องให้เจ้าหนี้รายใหญ่ของเมียนมาปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เช่นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของคือ จีนและญี่ปุ่น หนี้ของเมียนมาในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์ซึ่ง 4 พันล้านดอลลาร์เป็นหนี้ที่กู้จากจีน การบรรเทาหนี้ครั้งนี้จะช่วยให้เมียนมาในการสนับสนุนระบบสาธารณสุขชุมชนและธุรกิจในท้องถิ่น สหภาพยุโรปได้ระดมทุนและตั้งโครงการสำหรับภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤต COVID-19 ซึ่งได้แก่กองทุนฉุกเฉิน The Myan Ku Fund เป็นจำนวนเงิน 5 ล้าน สำหรับแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าใ นเดือนพฤษภาคมและได้จ่ายเงินไปแล้วกว่า 2 พันล้านจัต จากจำนวนแรงงาน 21,690 นอกจากนี้ยังระดมเงินทุนสูงถึง 30 ล้านยูโรสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม พนักงานสาธารณสุข แรงงานข้ามชาติ และผู้ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/europe-defer-myanmars-debt-payments-urges-china-follow-suit.html

ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ในมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยต่ำและค่าเงินแข็งค่า

แม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ของมัณฑะเลย์ยังคงเพิ่มขึ้น ราคาขายอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 100 – 300 ล้านจัตส่วนใหญ่ถูกขายให้กับชาวจีน เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและเงินหยวนจีนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เศรษฐกิจเมียนมาชะลอตัวลงแต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาฟื้นตัวหลังจากธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ย ผู้คนจำนวนมากเริ่มลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ซึ่งมันดาเลย์มีอสังหาริมทรัพย์ราคาปานกลางที่มีศักยภาพที่จะเติบโต เช่น ที่ Ye Mon Taung Ward และ Htan Koe Pin พื้นที่เหล่านี้เชื่อมต่อกับพื้นที่สำคัญระหว่างถนน 35th, Thate Pan Street และถนนวงแหวน Pyin Oo Lwin-Mandalay ตอนนี้มีโครงการที่อยู่อาศัย คลังสินค้า และโชว์รูมรถยนต์เพิ่มขึ้น อีกทั้งสนามกอล์ฟในบริเวณใกล้เคียงยังช่วยเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ในขณะเดียวกันจำนวนประชากรก็เริ่มขยายตัว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-property-sales-spike-due-low-rates-strong-currency.html

รัฐบาลประหยัดงบประมาณ 1,213 พันล้านกีบจากมูลค่าโครงการที่สูงเกินความจำเป็น

นายกรัฐมนตรีกล่าวกับรัฐสภาว่ารัฐบาลได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการที่มีราคาสูงทั่วประเทศ โดยรวมแล้วจะมีการตรวจสอบโครงการลงทุนของรัฐ 4,601 แห่งมูลค่า 103,187 พันล้านกีบ จนถึงขณะนี้คณะกรรมการได้ตรวจสอบ 672 โครงการด้วยเงินทุนการลงทุน 43,538 พันล้านกีบ ในเรื่องนี้รัฐบาลได้ประหยัดงบ 1,213 พันล้านกีบ ด้วยภาษีที่ค้างชำระ 89.36 พันล้านกีบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนกล่าวว่าการประหยัดงบประมาณหลังจากการตรวจสอบพบว่ามีการลดโครงการบางโครงการ จะลดต้นทุนการลงทุนลง นอกจากนี้พบว่าราคาต่อหน่วยของหลายโครงการมากกว่าร้อยละ 20 สูงกว่าราคาต่อหน่วยที่กำหนดโดยกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น หนึ่งในเหตุผลคือรัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาได้หลังจากที่พวกเขาทำงานเสร็จ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากธนาคารเพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้นทุนสูงกว่าราคาต่อหน่วย โครงการที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าราคาต่อหน่วยมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องใช้ในการเจรจาเพื่อลดต้นทุน ทั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในบางโครงการรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานนั้นสูงเกินสมควรดังนั้นรัฐบาลจึงได้เจรจาใหม่และเซ็นสัญญาใหม่กับต้นทุนที่ต่ำลง

ที่มา :http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_saves_127.php

การท่องเที่ยวกัมพูชาระหว่างการระบาดของ Covid-19

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาข้อมูลจากทางภาครัฐแสดงให้เห็นว่า COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวปิดตัวเกือบ 3,000 แห่ง และส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 45,045 คน โดยการว่างงานและหนี้สินที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสังคม ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวคาดการณ์ว่าภาคการท่องเที่ยวจะมีรายรับ 3 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมีโรงแรม 18 แห่ง และเกสต์เฮาส์ 96 แห่งปิดทำการอย่างถาวร โดยยังคงมีโรงแรม 172 และเกสต์เฮาส์ 99 แห่งได้หยุดดำเนินกิจการชั่วคราวในขณะนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีโรงแรม 40 แห่งและเกสต์เฮาส์ 66 แห่ง เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยรัฐบาลจะปรับมาตรการกักกันและเตรียมการพิเศษ ซึ่งหน่วนงานกำลังตั้งคำถามหากสถานการณ์ยังคงดำเนินต่อไป ภาครัฐจะสามารถจัดการได้อย่างไรและภาคธุรกิจจะเป็นอย่างไร รวมถึงการว่างงานจะสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50740504/tourism-savaged-by-covid-19/

สมาคมธุรกิจเรียกร้องให้สหภาพยุโรปยืดการถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้าของกัมพูชา

สมาคมภาคธุรกิจสามแห่งในหมวด เสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยว และเชิงพาณิชย์ ได้ทำการส่งจดหมายไปยังรัฐสภายุโรปอีกครั้งเพื่อขอเลื่อนการถอดถอน สิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) บางส่วนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อภาคการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าในกัมพูชา ถูกส่งโดยสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในกัมพูชา (GMAC) สมาคมรองเท้าในกัมพูชา (CFA) และหอการค้ายุโรปแห่งกัมพูชา (EuroCham) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้สำหรับการถอดถอนบางส่วนของ EBA ในกัมพูชาในวันที่ 12 สิงหาคม โดยเนื้อความบนจดหมายจากสมาคมกล่าวว่าตั้งแต่มีการระบาดใหญ่มีโรงงานได้รับผลกระทบถึง 400 แห่ง ในภาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชาต้องหยุดการดำเนินงานชั่วคราว ซึ่งธุรกิจภาคการผลิตเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยว ถือเป็นกลุ่มผู้จ้างงานที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชาและให้การสนับสนุนแรงงานถึงประมาณ 1 ล้านคน ในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50740483/industry-makes-another-appeal-against-eu-tariffs/