สหรัฐฯมอบเงินสนับสนุน 56 ล้านดอลลาร์แก่กัมพูชา

รัฐบาลสหรัฐฯได้มอบเงินสนับสนุนโครงการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2563 จำนวน 56 ล้านดอลลาร์ รวมถึงเพื่อส่งเสริมภาคเกษตรกรรมในกัมพูชาอีก 18 ล้านดอลลาร์ ตามแถลงการณ์รัฐบาลกัมพูชาผ่านสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และรัฐบาลสหรัฐฯผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้ลงนามในข้อตกลงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อจัดหาโครงการด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชากล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือ ซึ่งความร่วมมือด้านการพัฒนาทวิภาคีอย่างต่อเนื่องนี้เป็นเสาหลักที่สำคัญในการส่งเสริมและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ โดยในความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง USAID จะให้ทุนแก่โครงการต่างๆเพื่อช่วยลดจำนวนคนยากไร้ และเพิ่มการผลิตพืชผลที่สำคัญและปรับปรุงโภชนาการให้กับชุมชนในชนบท ซึ่งในภาคการศึกษากระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและการกีฬาและโปรแกรม USAID จะสนับสนุนความพยายามในการปรับปรุงความเข้าใจในการอ่านในหมู่เด็กๆ เพื่อลดอัตราการออกกลางคันและจัดหาชาวกัมพูชาให้เข้ามาทำงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738964/us-gives-56-mln-to-support-kingdom/

การเติบโตของเขตเศรษฐกิจพิเศษในกัมพูชากำลังเผชิญกับอุปสรรค

ประธานเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) แถลงในการเปิดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สำหรับปี 2562 การเงินของบริษัทยังคงแข็งแกร่งทั้งในแง่ของกำไรและรายได้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมองว่าปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายสำหรับบริษัท จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกบริษัททั่วโลก ซึ่งคาดว่าหลังจากการระบาดของ COVID-19 รวมถึงความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่อาจจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนสายการผลิตย้ายมายังกัมพูชาเร็วขึ้น รายงานแสดงให้เห็นว่าปริมาณการส่งออกจาก PPSEZ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 ในช่วง 4 ปีจากปี 2016 – 2019 รวม 316 ล้านดอลลาร์สู่ 518 ล้านดอลลาร์ บริษัท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 สินทรัพย์รวมของ PPSP มากกว่า 94 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.14 ในขณะที่ส่วนทุนมีมากกว่า 59 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.60 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739183/after-massive-growth-special-economic-zone-will-face-hurdles/

เศรษฐกิจเวียดนามครึ่งปีแรกเติบโตในระดับต่ำ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 1.81 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ครึ่งปีแรกปี 2554 ซึ่งในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ชี้ให้เห็นว่า GDP ของเวียดนามเติบโตร้อยละ 0.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสสองของปี 2554-2563 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในช่วงไตรมาสสอง และรัฐบาลเพิ่มข้อปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรก ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมงมีการขยายตัวร้อยละ 1.19, ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างเติบโตร้อยละ 2.98 และภาคบริการเติบโตร้อยละ 0.57 นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการ GSO กล่าวว่าผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัส ส่งผลกระทบทางลบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงระบบการเมือง เป็นต้น รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีเห็นถึงความสำคัญในการต่อสู้กับ COVID-19 และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องสุขภาพและชีวิตของผู้คน แม้ว่าจะสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็ตาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-records-decadelow-h1-growth/177673.vnp

เวียดนามเกินดุลการค้าครึ่งปีแรก พุ่ง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดเกินดุลการค้าในเดือนมิ.ย. ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. ชี้ให้เห็นว่ายอดเกินดุลการค้าสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน) สำหรับภาคการลงทุนในประเทศนั้นคาดว่าจะขาดดุลการค้าราว 10.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 6 เดือนแรก ในขณะที่ บริษัทต่างชาติ (FDI) มียอดเกินดุลการค้า 14.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เดือนมิ.ย. เวียดนามมีมูลค่าส่งออกประมาณ 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าประมาณ 20.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 นอกจากนี้ ในบรรดาคูค้ารายใหญ่ของเวียดนาม พบว่าในช่วง 6 เดือนแรก สหภาพยุโรปมียอดเกินดุลการค้าลดงร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ด้วยมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่จีนขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 19.3 ด้วยมูลค่า 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-widens-to-us4-billion-in-h1-312907.html

อุตสาหกรรมการก่อสร้างเมียนมาพร้อมต้อนรับแรงงานที่อพยพกลับประเทศ

อุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศพร้อมเตรียมตำแหน่งงานสำหรับแรงงานอพยพที่มีประสบการณ์ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเนื่องจาก COVID-19 สหพันธ์ผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียนมาจะช่วยบริษัทก่อสร้างในท้องถิ่นให้ดำเนินการตามกระบวนการประกวดราคาของรัฐบาลหากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งรัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการจ้างงานมากขึ้นในประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคมสถานที่ก่อสร้างเอกชนในเขตย่างกุ้งเกือบทั้งหมดหยุดชะงักเนื่องจาก COVID-19 แต่ธุรกิจเปิดใหม่และการก่อสร้างจะเริ่มต้นในช่วงเดือนมิถุนายน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ออกโรงเตือนว่าแรงงานข้ามชาติหลายล้านคนทั่วโลกอาจเผชิญกับการว่างงานและความยากจนหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศกลับประเทศบ้านเกิด สองเดือนที่ผ่านมามีแรงงานเดินทางกลับประเทศมากกว่า 71,000 คนจากประเทศไทย หลายพันคนกลับมาจาก จีน มาเลเซีย สิงคโปร์และเกาหลีใต้ โดยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันคือ 4,800 จัต ในขณะที่ประเทศไทยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันจะอยู่ที่ 325 บาทหรือประมาณ 15,000 จัต ILO กล่าวว่าด้วยนโยบายที่ถูกต้องของแรงงานอพยพอาจเป็นทรัพยากรสำคัญในการฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 แรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะนำความสามารถและทักษะใหม่ ๆ มาพัฒนาประเทศเมียนมาต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-construction-industry-ready-provide-jobs-returnees.html

อัตราเงินเฟ้อลดลงท่ามกลางความต้องการที่ลดลง

จากรายงานของธนาคารโลกอัตราเงินเฟ้อในประเทศลดลงเหลือร้อยละ 8.3 ในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลงของผู้ประกอบการในเมียนมา เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลงท่ามกลางวิกฤติ COVID-19  ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนและคาดว่าจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อรายปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากร้อยละ 9.5 ในเดือนธันวาคม 2562 เป็นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นตัวฉุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 13 ในเดือนเมษายนนี้คาดว่าเดือนกรกฎาคมจะลดลอีกเนื่องจากอัตราภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี การใช้จ่ายที่ลดลงและราคาที่ลดลงคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อโดยรวมในปีงบประมาณ 2563-2563 ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อควรอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีงบประมาณนี้ลดลงจากร้อยละ 8.5 ของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อโลกที่คาดไว้ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีนี้อาจสูงกว่าอัตราของธนาคารกลางในปัจจุบันที่ร้อยละ 7 อัตราเงินฝากขั้นต่ำของธนาคารในเมียนมาคือร้อบละ 5 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ร้อยละ 10

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-inflation-declines-amid-falling-demand.html

คณะที่ปรึกษาโควิดด้านศก. ชง”บิ๊กตู่”แก้ปัญหาว่างงาน

คณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจฯ จากโควิด เสนอ 3 ประเด็นให้นายกฯ ขับเคลื่อน ทั้งแก้ว่างงาน สื่อสารให้คนตระหนักหวั่นเกิดระบาดรอบสอง และฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แถลงภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาฯ ว่า ได้สรุป 3 ประเด็นสำคัญเสนอ นายกรัฐมนตรี โดยเรื่องแรก เสนอให้เร่งแก้ปัญหาการว่างงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เนื่องจากการแพร่ระบาดของ โรคไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนจ้านวนมากต้องว่างงานและขาดรายได้ ดังนั้น การใช้จ่ายของภาครัฐโดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องทำโครงการที่สามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีการจ้างงานระยะยาวภายในชุมชน การจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ รวมถึงการจัดอบรมความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพได้ ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องดังกล่าวกลับมายังสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช. ) ในฐานะเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 400,000 ล้านบาท ให้พิจารณาโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานด้วย ประเด็นต่อมาได้ขอให้การสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงความเสี่ยงของการกลับมาระบาดรอบที่ 2 และจะต้องมีความร่วมมือที่จะจำกัดการระบาด รวมทั้งยังต้องรักษามาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่วนประเด็นสุดท้ายรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม เพราะในช่วงที่ผ่านมา การลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทยต้องหยุดชะงักลง…

 ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/782462