จับตา “สภาพัฒน์” ถกข้อเสนอเอกชนสู้โควิด ก่อนดันชงเข้าครม.

จับตา “สภาพัฒน์” เชิญ “คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน” จาก 13 หน่วยงาน พิจารณา 12 ข้อเสนอสู้โควิดต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนดันชงเข้าครม.ต่อไป วันพรุ่งนี้ (20เม.ย.63) ที่สํานักงานเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) จะมีการประชุม “คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่  2/2563  การประชุมนัดที่ 2 ของที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน จะนำข้อเสนอของ ทีมฝ่าวิกฤติโควิด  5 ด้าน ที่เคยมี 12 ข้อเสนอไปแล้วมาพิจาณาอีกครั้ง ได้แก่ 1.ปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศและลดค่า ft ตามราคาน้ำมัน 2. เอกชนสามารถนำค่าใช้จ่ายสำหรับป้องกันโควิด-19 มาหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า 3.ขอให้รัฐออกคำสั่งปิดกิจการโรงแรมเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม 4.ขอให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปีภาษี 2562-2563 กรณี SMEs เหลือไม่เกิน 10% และกรณีผู้ประกอบการอื่น เหลือไม่เกิน 20% 5.รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงานและซื้อสินค้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ 6.ผ่อนปรนการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ 7.อนุญาตให้จ้างงานเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 40-41 บาท 4-8 ชม/วัน 8.ลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างจาก 4% เหลือ 1% 9. ช่วยเหลือแรงงานที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท รัฐจ่าย 50% บริษัทจ่าย 25% ของค่าจ้าง 10. บริษัทนำค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างแรงงาน ในช่วง COVID-19 มาหักภาษี 3 เท่า 11.การผ่อนปรนมาตรการเคอร์ฟิวสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าในเวลากลางคืน 12.การช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองให้มีมาตรฐานเดียวกัน ส่วนคณะที่ปรึกษาฯที่แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่  1. กลุ่มมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ประกอบด้วย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย 2.กลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ประกอบด้วยหอการค้าไทย 3.กลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ 4.กลุ่มมาตรการเพื่อภาคเกษตร ประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ 5.กลุ่มมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล (Digital Solution) ประกอบด้วยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/business/430570?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=corona

อุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว มีแนวโน้มขยายตัวลดลง

ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว ต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก อุตสาหกรรมแปรรูปใน สปป. ลาว ส่วนใหญ่พึ่งพาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก โดยในช่วงปี 58 – 60 อุตสาหกรรมแปรรูปมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ในปี 61 เป็นต้นมาอุตสาหกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัวลดลง แต่ในภาพรวมยังช่วยให้เศรษฐกิจ สปป. ลาว ขยายตัว ดังนั้น เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปและเศรษฐกิจของ สปป. ลาว ขยายตัวเพิ่มขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจําเป็นต้องส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีความยั่งยืน โดยกําหนดรูปแบบอุตสาหกรรมแปรรูปในแต่ละท้องถิ่น ให้ชัดเจน ส่งเสริมการผลิตสินค้าแบบโรงงานและชุมชน สร้างกลไกควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปและหัตถกรรม ให้มีความสะดวก พร้อมทั้งผลักดันให้กลายเป็นห่วงโซ่การผลิต และสร้างความเชื่อมโยงตลาดเสรีในและนอกภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนาแรงงานให้มีฝีมือและสามารถแข่งขันกับนานาชาติ

ที่มา : https://globthailand.com/laos-25032020/

กระทรวงพาณิชย์จัดเคมเปญลดราคาสินค้า6กลุ่มสินค้า 72 รายการ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกนะทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุมหารือร่วมกับผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ว่า เป็นการหารือเพื่อหาแนวทางจัดลดราคาจำหน่ายสินค้า เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤตที่กำลังเผชิญการระบาดของโควิด-19 ทำให้รายได้ลดลง  ซึ่งผู้ผลิตสินค้า รวมทั้งห้างค้าปลีกพร้อมให้ความร่วมมือลดราคาสินค้า 5-58  % ในสินค้าจำเป็น 6 หมวด จำนวน 72 รายการ ได้แก่  อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งข้าวสาร น้ำมันปาล์ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  และนม  หมวดอาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง ลดราคาผ่านเซเว่น-อีเลฟเว่น และซีพีเฟรชมาร์ท  หมวดซอสปรุงรส ทั้งซีอิ้วขาว-ซีอิ๋วดำตราเด็กสมบูรณ์ ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว  หมวดของใช้ประจำวัน เช่น กระดาษชำระ แป้งเด็ก ยาสีฟัน แปรงสีฟัน และผ้าอนามัย หมวดผลิตภัณฑ์ชำระร่างกาย ทั้งสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า  และหมวดผลิตภัณฑ์ซัก-ล้าง ทั้งน้ำยาทำความสะอาดผ้า น้ำยาล้างขวดนม และน้ำยาทำความสะอาดพื้น รวมแล้ว 72 รายการ ในห้างที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ลดราคา 5 – 58 % ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2563

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876379?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามเล็งผลักดันช่องทางค้าสินค้าเกษตรไปยังจีน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม หารือกับเอกอัครราชทูตจีนประจำเวียดนาม ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 16 เมษายน เพื่อหาช่องทางการค้าสินค้าเกษตรระหว่าง 2 ประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งการค้าของภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ระหว่างเวียดนามและจีน ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในช่วงเดือนแรกของปีนี้ จีนได้อนุมัตินำเข้าผักผลไม้ 9 รายการจากเวียดนาม และยังมีสินค้าเกษตรอีก 8 รายการที่กำลังดำเนินตามขั้นตอนอยู่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ ระบุเสริมว่าหวังว่าขั้นตอนการดำเนินงานนั้นจะเป็นไปโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนมากขึ้น รวมถึงเรียกร้องให้จีนขยายเวลาทำงานของสำนักงานศุลกากร เพียงแค่ 5-6 ชั่วโมง นอกจากนี้ เวียดนามและจีนควรจะหาแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโวรัส ด้วยระดับความร่วมมือของรัฐบาลและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-china-seek-ways-to-push-agriculture-trade/171849.vnp

เวียดนามเผยสินค้า 12 รายการ อาจเปิดไต่สวนการฉ้อโกงแหล่งกำเนิดสินค้า

หน่วยงานกำกับดูแลด้านมาตรการการค้าของเวียดนาม (TRAV) ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยสินค้า 12 รายการที่เข้าข่ายทุจริตแหล่งกำเนิดสินค้าหรือลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย อาทิ ไม้อัดที่ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง, เบาะฟอง, ตู้ไม้, หินอัด, ท่อทองแดง, ข้อต่อเหล็กสำเร็จ, ล้อเหล็ก และเหล็กแปรรูปเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น สินค้าดังกล่าวมีมูลค่าส่งออกสูงอย่างมากในปี 2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายได้ของตู้ไม้ปรับตัวขึ้น 1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว จากปี 2561 อยู่ที่ 913 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนสหรัฐฯยังคงเป็นผู้นำเข้าหินอัดรายใหญ่จากเวียดนาม ด้วยมูลค่าในปี 2562 อยู่ที่ 118.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่า 2.5 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ ยังมีการสอบสวนเพิ่มและไต่สวนการการทุ่มตลาดแก่สินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศอื่นๆ ได้แก่ จีน อินเดียและตุรกี ข้อมูลข้างนั้นอยู่ภายใต้คำสั่งนายกรัฐมนตรี (824/QD-TTg) เกี่ยวกับการป้องกันในการหาทางจัดการหลีกเลี่ยงทางการค้าและทุจริตแหล่งกำเนิดสินค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/twelve-products-may-face-trade-origin-fraud-investigation-authority/171837.vnp

ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวเมียนมาได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและใบอนุญาตเป็นเวลาหนึ่งปี

ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวในเมียนมาจะได้รับการยกเว้นการจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นระยะเวลาหนึ่งปีเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดย ค่าธรรมเนียมสำหรับการขอใบอนุญาตใหม่หรือการต่ออายุซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมธุรกิจโรงแรม ค่าธรรมเนียมตัวแทนทัวร์ ค่าธรรมเนียมมัคคุเทศก์ และค่าธรรมเนียม Hostel จะได้รับการยกเว้นตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวธุรกิจ, SMEs และ กลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มแบบ Cut-Make-Pack ทั้งนี้รัฐบาลยังได้จัดตั้งกองทุน 100 พันล้านจัต โดยให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละหนึ่งอีกด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/hotel-and-tour-businesses-myanmar-get-one-year-exemption-licence-fees.html