สภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวร่วมมือกับ AOTS และ TPA สำหรับการพัฒนาพนักงานมืออาชีพ

ผู้แทนจากภาคธุรกิจของแขวงอุดมไชยเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพวิชาชีพที่จำเป็น จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 22 พ.ย. โดยสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวและสภาการค้าและอุตสาหกรรมแขวงอุดมไชย ร่วมมือกับ the Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS) ) ของญี่ปุ่น กำลังดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย – ญี่ปุ่น) (TPA) ได้จัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรมืออาชีพ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมคือเพื่อพัฒนาศักยภาพของภาคธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาพนักงานเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบเพื่อตอบสนองความต้องการของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและความสามารถของบุคลากรในการทำงานอย่างมืออาชีพรวมถึงพนักงาน บริษัท ผู้จัดการและผู้ดูแลระบบ จะช่วยให้พวกเขามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับระบบงาน (5S organisation) และคุณภาพการทำงานและการตรวจสอบการผลิต (Kaizen productivity)

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-national-chamber-commerce-and-industry-collaborates-aots-and-tpa-professional-employee

สายการบินเข้าตลาดพุ่งสูงขึ้น สร้างภาวะ “คอขวดโครงสร้างพื้นฐาน”

จากข้อมูลของกรมการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าสายการบินได้ตั้งเป้าในการขยายฝูงการบิน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่าง สายการบินเวียตเจ็ท (Vietjet Air) ที่ได้รับเครื่องบินใหม่ 100 ลำ ของแอร์บัส (Airbus) และโบอิ้ง (Boeing) ด้วยเหตุนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีต่อผู้โดยสารให้สามารถเลือกสายการบินได้หลากหลาย สำหรับเที่ยวบินราคาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม การขยายตัวอย่างรวดเร็วในด้านการบิน ทำให้สร้างความกังวลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นักวิเคราะห์มองว่าโครงสร้างพื้นฐานในด้านการบินยังคงอยู่ในระดับต่ำ และด้วยจำนวนหลุมจอดเครื่องบินที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้หน่วยงานรัฐฯ ต้องหาวิธีในการจัดสรรอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ จากคำแถลงการณ์ของกระทรวงคมนาคม (MOT) ระบุว่าในไตรมาสที่ 3 ทางกระทรวงฯ จะเป็นผู้นำในการสนับสนุนก่อสร้างสายการบินใหม่ แต่ยอมรับว่าโครงสร้างพื้นฐานยังมีปัญหาอยู่ ประกอบกับอัตราการเติบโตของสายการบินที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/more-airlines-join-market-create-infrastructure-bottlenecks-406361.vov

เวียดนามส่งออกลำไยไปยังตลาดออสเตรเลีย

จากข้อมูลของผู้ก่อตั้งบริษัท Aus Asia Produce ประกอบธุรกิจเป็นผู้จำหน่ายผลไม้ในรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ระบุว่าในงานเทศกาลลำไยเวียดนาม มีการขายลำไยกว่า 500 กิโลกรัม ภายในไม่กี่ชั่วโมง ประกอบกับข้อมูลของรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำออสเตรเลีย เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมเวียดนามมีศักยภาพที่จะสร้างมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯจากการส่งออก และด้วยข้อตกลงการค้าระหว่างเวียดนามกับออสเตรเลีย จะเปิดโอกาสด้านการลงทุนและการค้าทั้ง 3 ประเทศอย่างมาก อย่างไรก็ตาม รายได้ในการส่งออกผลไม้ของเวียดนามไปยังออสเตรเลีย ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจากข้อมูลของสถิติกรมศุลกากรเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศอยู่ที่ 5.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีเพียงน้ำมันดิบเท่านั้นที่มีมูลค่ามากกว่า 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ แนะนำให้หน่วยงานของทั้งสองประเทศร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อจัดการในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/548635/vietnamese-longan-to-go-to-australia.html#jB4xDBbQrr6CzmqB.97

FDI เมียนมาสูงกว่า 81 ล้านเหรียญสหรัฐ

คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ระบุว่า 50 ประเทศมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 81,000 ล้านเหรียญสหรัฐจากปี 2531-2532 ปีงบประมาณถึงปี 2561-2562 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและภาคไฟฟ้า MIC จัดประชุมครั้งที่ 18/2019 เมื่อวันที่ 16 พ.ย.และอนุญาตให้ธุรกิจใหม่ 8 ธุรกิจในการผลิตสัตว์และการประมง บริการอื่น ๆ และที่อยู่อาศัย การลงทุนรวมของธุรกิจใหม่มีมูลค่าประมาณ 165.853 ล้านเหรียญสหรัฐและ 99,443 ล้านเหรียญสหรัฐ สามารถสร้างโอกาสในการจ้างงาน 1,739 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น โดย MIC เปิดโอกาสให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 220 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในระยะเวลา 20 ปี และดำเนินการตามแผนส่งเสริมการลงทุนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ระหว่างปี 2559-2560 ถึงปี 2563-2564 ปีงบประมาณระยะกลางจากปี 2564-2565 ถึงปี 2568-2569 ปีงบประมาณและระยะยาวจาก 2569-2570 ถึงปี 2578 2579 เมียนมาคาดจะมีเงินลงทุนต่างประเทศประมาณ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562-2563

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-reaches-over-us81-b

อินโดนีเซียจับมือเมียนมาพัฒนาการค้าทวิภาคี

นักธุรกิจเมียนมากว่า 30 คนเข้าร่วมการประชุมธุรกิจอินโดนีเซีย – เมียนมาที่โรงแรมในย่างกุ้งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียได้ร่วมมือจากศูนย์ส่งเสริมธุรกิจระหว่างประเทศจัดให้มีการประชุมทางธุรกิจสำหรับผู้แทนอินโดนีเซีย 10 คนจาก 6 บริษัท และบริษัทคู่ค้าในเมียนมา โดยเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียกล่าวว่าอินโดนีเซียและเมียนมาจะเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ทั้งนี้ยังสนับสนุนให้นักธุรกิจชาวอินโดนีเซียสำรวจโอกาสในการลงทุน องค์กรที่เป็นตัวแทนในครั้งนี้มีตั้งแต่บริษัทน้ำมันและก๊าซ การรถไฟ การจัดการน้ำและสุขาภิบาล บริษัทผู้ผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค โลจิสติกส์ การเลี้ยงสัตว์ปีก ยา ธุรกิจการเกษตร การก่อสร้างและการบำบัดน้ำเสีย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/indonesia-myanmar-keen-keep-bilateral-trade-growing.html

Get Together Mentor Mentee (07.10.62)

กิจกรรม “Get Together Mentor and Mentee” ในวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 เวลา 17.00-21.00 น. ณ โถงอเนกประสงค์ อาคาร 24 ชั้น 18 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่มีความสําคัญอย่างมาก จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ Mentee และ Mentor ได้พบปะ และทําความรู้จักกันตามกระบวนการ Matching โดย Mentee จะทําการแนะนําตัวเองในรูปแบบของการ Pitching ให้กับ Mentor ได้รู้จัก

จังหวะของการลงทุน

ในระยะเวลาปีสองปีต่อจากนี้ไป คือช่วงเวลาเหมาะต่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหากผ่านพ้นไปอีก 4 – 5 ปี คงมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เพราะวันนี้สภาวะของอสังหาริมทรัพย์อยู่ในช่วงขาลงสุดๆ เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่นำออกมาใช้ลดความร้อนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อต้องการกระตุ้นการลงทุน ด้วยการออกนโยบายเงินขาว-เงินดำ แต่ก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผลมากนัก คือการออกนโยบายเก็บภาษีซื้อ-ขายที่ดินแบบบ้าระห่ำ ทำให้ไม่มีคนซื้อ ราคาตกไปเกือบ 20% ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ผ่านมา รัฐออกกฎหมายซื้อ-ขายที่ดินแบบอัตราก้าวหน้ามาใช้ ทำให้การซื้อการอสังหาริมทรัพย์ได้รับอานิสงค์ และการที่ค่าเงินจัตอ่อนลงถึง 80% ทำให้น่าลงทุน เพราะถูกลงเกือบ 80% เช่น ราคาที่ดิน และอาคารโกดังปีที่แล้ว อยู่ที่อยู่เอเคอร์ละ 600 ล้านจัต เป็นเงินบาทประมาณ 13.95 ล้านบาท ในขณะที่วันนี้ราคาตกอยู่ที่ 550 ล้านจัต ราคาประมาณ 11 ล้านบาท หรือลดลง 21.14% เรียกว่าตลาดเป็นของผู้ซื้อจริงๆ เนื่องจากเมียนมาเป็นประเทศที่อ่อนไหวต่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายง่าย เมื่อมีความต้องการที่จะแก้กฎหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แค่นำเรื่องเสนอเข้าสภามีผลบังคับใช้ทันที ดังนั้นถ้ากฎหมายมีประโยชน์หรือมีความจำเป็น รับรองมีการประกาศใช้แน่นอน ถ้าหากเมียนมาเสนอให้เราแล้ว ต้องรีบยื่นเรื่องขอใบอนุญาต MIC (Myanmar Investment Committee) ทันที ซึ่งการที่จะถอนใบอนุญาตหรือยกเลิกการส่งเสริม มีทางเดียวคือทำผิดกฎหมายร้ายแรง นี่คือ “จังหวะของการลงทุน” อย่างแท้จริง

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/606619