นักลงทุนต่างชาติเล็งเห็นโอกาสทำธุรกิจโรงแรมในเวียดนาม : JLL

จากข้อมูลของบริษัทให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ โจนส์ แลง ลาซาลล์ (JLL) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเวียดนามมีการเติบโต และเป็นพลังงานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งผลไปในทิศทางที่เป็นบวกต่อโรงแรมและรีสอร์ท แสดงให้เห็นถึงความสนใจของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งตลาดโรงแรมเวียดนามจะเข้าสู่ Industry Renaissance ผลักดันส่วนครองตลาดของธุรกิจให้ขยายโรงแรมไปยังทั่วประเทศ สำหรับปัจจัยอื่นๆ เช่น การยกเว้นวีซ่า การแนะนำเส้นทางสายการบินใหม่ และการปรับปรุงด้านการตลาด เป็นต้น ล้วนกระตุ้นความสนใจของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ นักลงทุนต่างชาติเล็งเห็นโอกาสในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้นกว่าเดิมในเวียดนาม ผ่านการประเมินของสินทรัพย์จากการดำเนินงาน ด้วยกระแสเงินสด แต่นักลงทุนในประเทศส่วนใหญ่มีความสนใจในการพัฒนาตัวโรงแรมและรีสอร์ทจากที่ดินว่างเปล่า นอกจากนี้ เมื่อมองดูภาพรวมของกรุงโฮจิมินห์ซิตี้ ใน่ชวงตั้งแต่เดือน ก.ย. 62 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวประจำปี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/foreign-investors-eye-hotels-in-vietnam-jll-406054.vov

ราคาที่ดินไซ่ง่อนพุ่งสูงขึ้น 3 เท่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

จากคำแถลงการณ์ของคุณ Tran Khanh Quang, CEO ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ HCMC ระบุว่าช่วงเวลาในแต่ละทศวรรษ ราคาที่ดินมักจะปรับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วง 2-4 ปีแรก และจากนั้นจะกลับมาหดตัวลง ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งราคาที่ดินในย่านศูนย์กลางธุรกิจ ตอนเริ่มมักจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างช้าๆ จากนั้นราคาในพื้นที่ชานเมืองถึงจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไปยังต่างจังหวัด ทั้งนี้ จากข้อมูลของรองผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์โฮจิมินห์ซิตี้ กล่าวว่าราคาที่ดินในช่วงปี 2559-2561 มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่า และจะเพิ่มขึ้นอีก 4-10 เท่า ภายในปี 2552-2562 ซึ่งจากราคาที่ดินสูงขึ้นนั้นจะทำให้โอกาสเป็นเจ้าของลดน้อยลง ประกอบกับราคาอพาร์ทเมนท์ในกรุงไซ่ง่อนพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันไตรมาสที่แล้ว

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/saigon-land-prices-rise-3-times-every-decade-406058.vov

กระทรวงไฟฟ้าฯ เซ็นสัญญาซื้อไฟฟ้าจากโครงการเจ้าผิว

กระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน (MOEE) ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าเจ้าผิว ใช้เป็นเชื้อเพลิง 135 เมกะวัตต์ ซึ่งจะผลิตโดยผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ Kyauk Phyu Electric Power Co. โดยสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ได้ลงนามเมื่อวันอังคารที่แล้ว Kyauk Phyu Electric Power Co เป็นการร่วมทุนระหว่าง Supreme Group ของเมียนมาและ Power China ของจีน โรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซในเจ้าผิว รัฐยะไข่ เป็นหนึ่งในสี่โครงการที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล ซึ่งคาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 3111 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปีของเมียนมา โรงไฟฟ้าถูกสร้างโดยระบบ build-operat (BOT) จะมีกำลังการผลิต 146 เมกะวัตต์แม้ว่าจะใช้งานได้ที่ 135 เมกะวัตต์ โรงงานแห่งนี้ผลิตไฟฟ้า 1.05 พันล้านหน่วยต่อปีซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากในยะไข่และภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการที่คาดไว้ 1,000 เมกะวัตต์ในปี 64 สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPAs) ระยะสั้นจะถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/deal-signed-purchase-power-kyaukphyu-power-plant-project.html

FDI เมียนมาโตช้าสุดในอาเซียน

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเมียนมาล่าช้าสุดในอาเซียนตามรายงานของสำนักเลขาธิการอาเซียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว รายงานการลงทุนของอาเซียนปี 62 มีการลงทุนไหลสูงเป็นประวัติการณ์ไปยังประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนยกเว้นเมียนมาที่ลดลง โดยในปี 61 ลดลง 11% คิดเป็น 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุหลักมาจากการลดลง 48% ของการลงทุนในอุตสาหกรรมที่นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่วนใหญ่การลงทุนมาจากบริษัทสิงคโปร์และบริษัทในเครือของจีนหรือฮ่องกง ในปี61 การลงทุนภายในอาเซียนมากกว่า 48% จะเป็นอินโดนีเซีย สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ทำให้ FDI หลั่งไหลเข้ามาใน CLMV เพิ่ม 4% เป็น 23 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปีที่แล้วคิดเป็น 15% ในอาเซียน เวียดนามเป็นผู้นำในการดึงดูดเงินลงทุนกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐในกลุ่มประเทศ CLMV การไหลเข้าสูงจะเป็นของกัมพูชาและเวียตนามทำให้การลงทุนแข็งแกร่งขึ้น FDI ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์คือ 155 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 61 จากที่ 147 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 60 เพิ่มขึ้นเป็นปีที่สามติดต่อกัน โดยขยายตัวจาก 9.6% ในปี 60 เป็น 11.5% ในปี 61 เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 66% เข้าสู่ภาคบริการ (การเงิน ค้าส่งและค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์) ทำให้เป็นภาคธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน FDI ในเมียนมาส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการเก็บรักษา ข้อมูลและการสื่อสาร

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-lags-asean-sees-record-fdi.html

ฮุนเซน ปล่อย เกิม สกคา ลดแรงกดดันนานาชาติ

ทางการกัมพูชาปล่อยตัว”เกิม สกคา”หัวหน้าพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) หลังจาก ถูกจับกุมตัวด้วยข้อหาทรยศชาติเมื่อกว่า 2 ปีก่อน แต่ยังคงมีคดีติดตัวอยู่เหมือนเดิม โดยศาลแขวงพนมเปญแถลงว่า เกิม สกคา เป็นอิสระจากการถูกกักบริเวณอยู่ภายในบ้านสามารถเดินทางไปที่ใดก็ได้ในกัมพูชา แต่ห้ามยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองหรือเดินทางออกนอกประเทศเพราะยังไม่ได้พ้นผิด ซึ่งชิน มาลิน โฆษกระทรวงยุติธรรมเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่าที่ปล่อยตัวเพราะ เกิม ให้ความร่วมมือกับทางการเป็นอย่างดี ประกอบกับเขามีปัญหาสุขภาพ ส่วนพรรค CNRP ของเขาถูกยุบก่อนการเลือกตั้งเมื่อปี 2561 ซึ่งในช่วงนี้กัมพูชาถูกแรงกดดันอย่างหนักให้ลดการปราบปรามฝ่ายค้านลงในช่วงที่ EU กำลังพิจารณาว่าจะเดินหน้าตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) กับกัมพูชาหรือไม่ โดย EU เป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชากว่า 1 ใน 3 สินค้าสำคัญ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า และจักรยาน หากถูกตัดสิทธิพิเศษจริงย่อม ส่งผลต่อเศรษฐกิจกัมพูชาเป็นอย่างมาก ซึ่ง EU ได้มอบ EBA ให้กับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา : https://www.reuters.com/article/us-cambodia-politics/cambodia-lifts-opposition-leaders-house-arrest-before-eu-trade-decision-idUSKBN1XK022

สปป.ลาวตั้ง Grid เพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกัมพูชา

Electricite du Laos (EDL) ซึ่งดำเนินการโดยรัฐในประเทศสปป.ลาวได้เสร็จสิ้นการขยายโครงข่ายไฟฟ้ามากกว่า 80% ซึ่งจะส่งกระแสไฟฟ้าให้กับสายส่งของกัมพูชาที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ โดยเกิดจากการลงนามในข้อตกลงการซื้อไฟฟ้าระหว่างสปป.ลาวและกัมพูชาในระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาชนลาว ซึ่งกัมพูชาตกลงที่จะซื้อไฟฟ้าจำนวน 2,400 เมกะวัตต์ จากสปป.ลาวแบ่งเป็นสี่เฟสระยะเวลา 30 ปี เฟสแรกจะเริ่มในช่วงท้ายปี 2567 จำนวน 300 เมกะวัตต์ เฟสที่สองเริ่มในปี 2568 จำนวน 600 เมกะวัตต์ ในขณะที่เฟสสามจะเริ่มในปี 2569 จำนวน 600 เมกะวัตต์ และเฟสที่สี่จะเริ่มขึ้นในปี 2570 จำนวน 900 เมกะวัตต์ โดยสปป.ลาวจะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังกัมพูชาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสองแห่งใน Xekong ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวงเวียงจันทน์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 530 กม. โดยรายงานว่าสปป.ลาวได้ตกลงที่จะขายไฟฟ้าผ่านสายส่ง 22 กิโลโวลต์และ 115 กิโลโวลต์ไปยังประเทศกัมพูชา นอกจากนี้รัฐบาลได้ลงนามในข้อตกลงขายไฟฟ้า 195 เมกะวัตต์ให้กัมพูชาในปี 2563

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-11/11/c_138545945.htm