World Bank: การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสปป.ลาวในปัจจุบันยังคงสูง

ตามรายงานล่าสุดจากธนาคารโลกการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดปัจจุบันของสปป.ลาว คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 12% ในปีนี้เนื่องจากการนำเข้าคาดว่าจะเติบโตได้เร็วกว่าการส่งออก การขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความต้องการการนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟสปป.ลาว – ​​จีนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตามรายงานของรัฐบาลคาดว่ามูลค่าการนำเข้าจะสูงถึง 5.77 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้และคาดว่ามูลค่าการส่งออกจะสูงถึง 5.51 พันล้านดอลลาร์ โดยดุลการค้าขาดดุล 259 ล้านดอลลาร์ หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญสำหรับสปป.ลาวคือการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการแปรรูป เพื่อการส่งออกและเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้สกุลเงินต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศมากขึ้น

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/world-bank-lao-current-account-deficit-remains-high

พาณิชย์แนะชิงตลาดข้าวอิรักหลังเวียดนามแชมป์ 2 ปี ซ้อน

“ทูตพาณิชย์” แนะช่องทางส่งออกข้าวไปอิรัก ชี้เป็นตลาดศักยภาพสูงแต่สถิติชี้ 3 ปีย้อนหลังไร้ข้าวไทยในตลาดอิรักสวนทางเวียดนามครองตลาด 2 ปีซ้อน ตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุถึงการส่งออกไปยังตลาดอิรักที่เคยเป็นตลาดส่งออกข้าวเดิมของไทยแต่ปัจจุบันหยุดชะงักไปนั้น โดยปัจจุบันอิรักกำหนดการนำเข้าข้าวใน 2 รูปแบบได้แก่ การนำเข้าโดยรัฐบาล หน่วยงาน Grain Board – Ministry of Trade ของรัฐบาลนําเข้าข้าวโดยการประมูล เพื่อใช้ในระบบจัดสรรอาหารภาครัฐเพื่อประชาชน ส่วนรูปแบบที่ 2 ได้แก่ การนำเข้า ข้าวคุณภาพดีนําเข้าโดยเอกชน อิรักนำเข้าข้าวเฉลี่ยปีละ7 แสน – 1 ล้านตัน โดยการนำเข้าสูงสุดเมื่อปี 55 ปริมาณ 1.2 ล้านตัน เป็นการนำเข้าจากประเทศไทย 8.7 แสนตัน รองลงมาคือ สหรัฐ 2.7 แสนตัน ขณะที่สถิตินำเข้าย้อนหลัง 3 ปี พบว่าไม่ได้นำเข้าข้าวจากไทยอีกเลย โดยปี 59 นำเข้ารวม 3.6 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากอินเดียสูงสุด 1.79 แสนตัน ปี 60 ปริมาณรวม 3.07 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากเวียดนามสูงสุด 1.2 แสนตัน และ ปี 61 ปริมาณนำเข้ารวม 7.35 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากเวียดนามสูงสุด 3.2 แสนตัน จากรายงาน การส่งออกข้าวในช่วงเดือนม.ค.-ก.ค. 62 มีปริมาณรวม 4.9 ล้านตัน โดยปริมาณส่งออกลดลง 21.6% มูลค่า 8.18 ล้านบาท ลดลง 18.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 61 ที่มีการส่งออกปริมาณ 6.3 ล้านตัน มูลค่า 100,826 ล้านบาท ส่วนการส่งออกทั้งปี 61ปริมาณ 11 ล้านตัน ส่วนการส่งออกเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ปริมาณ 5.4 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมิ.ย.ที่ส่งออกได้ปริมาณ 5.78 แสนตัน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/845035

สิงคโปร์ลงทุนในเมียนมาเพิ่มเป็นสามเท่า

รายงานของกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศระบุตัวเลขเงินลงทุนจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และประเทศตะวันตกมีมูลค่าสูงถึง 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นสามเท่าในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยการลงทุนโดยตรง (FDI) จากจีนและฮ่องกงเพิ่มขึ้น 150% แตะระดับ 590 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาคพลังงานและการขนส่งมีการลงทุนมากขึ้น ภาคการผลิตสูงถึง 700 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้น 60% ภาคขนส่งและการสื่อสารสูงถึงหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นสี่เท่า การลงทุนโดยตรงในทุกภาคการลงทุนคาดว่าจะมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 31 – 32 ถึงเดือนมิ.ย. ของปี 61 – 62 มีการลงทุนจาก 49 ประเทศ มูลค่ากว่า 80.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสิงคโปร์ติดอันดับ FDI มากที่สุด 21.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยจีนก20.68 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไทย 11.309 พันล้านเหรียญ ฮ่องกงกว่า 8.165 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอังกฤษ 4.255 พันล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดในอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะสูงกว่า 220 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/singapores-investment-increases-threefold

ธุรกิจขนส่งและยานยนต์

ธุรกิจขนส่งและธุรกิจยานยนต์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ เป็นปกติที่ประเทศเปิดใหม่ มักจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะก่อน ในเมียนมาทุกอย่างกำลังเริ่มต้นใหม่ เพียงแต่ต่างจากไทยอาจเวลาถึง 30 ปีกว่าจะเปลี่ยนเป็นประเทศกำลังพัฒนา ในเมียนมาใช้เวลาเพียงไม่ถึง 10 ปี ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป ที่เปลี่ยนแปลงเร็วเพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปก่อนล่วงที่เมียนมาเปลี่ยน จึงทำให้เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เหมือนเวียดนามนั่นเอง แต่ในชนบทยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะไม่มีเงินทุนสำรองมากนัก จึงเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากกันมากขึ้น ในแง่ของธุรกิจยานยนต์ ที่นี่ในอดีตที่ผ่านมา ไม่อนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ ตั้งแต่ ปี 2000 เพราะในยุคก่อนนั้นมีการนำเข้ารถเก่าญี่ปุ่นจากประเทศไทยเข้าไปเยอะ และเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันจะได้รับการอุ้มจากรัฐบาล ราคาตลาดมืดลิตรละประมาณ 1,000-1,200 Ks/ลิตร แต่ราคารัฐบาลขายให้ประชาชนที่มีรถยนต์ โดยการจำกัดรถ 1 คัน ให้เติมวันละ 4 แกลลอน/ละ 400-600 Ks รถ 1 คัน สามารถวิ่งเข้าไปเติมน้ำมันแล้วเก็บไว้ขายสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เลย ดังนั้นจึงห้ามนำเข้ารถยนต์ พอในเดือน ส.ค. 2007 รัฐบาลทนต่อการขาดทุนไม่ไหวจึงประกาศงดการสนับสนุนอีกต่อไป

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/scoop/561437