ต้องการงานมากขึ้นเพื่อการส่งออกใบชาของเวียดนาม

จากรายงานระบุว่า ในปัจจุบันเวียดนามอยู่อันดับที่ 5 ของผู้ส่งออกใบชารายใหญ่ของโลก แม้ว่าผู้ประกอบการเวียดนามจะขายในราคา 1.60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อกิโลกรัม ซึ่งราคาใบชาของเวียดนามถูกกว่าของประเทศศรีลังกาเกือบ 3 เท่าตัว ด้านผู้นำเข้ารายใหญ่ คือ รัสเซีย มีความต้องการใบชามากกว่า 160,000 ตันต่อปี ทางผู้ประกอบการเวียดนามมองว่านี้คือโอกาสในการเจาะตลาดรัสเซีย อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีพื้นที่เหมาะสมในการปลูกชาและมีขนาดพื้นที่ใหญ่ประมาณ 125,000 เฮกตาร์ ส่งผลให้การบริโภคของเวียดนามมีมูลค่า 45,000 ตันต่อปีและมีมูลค่าการส่งออก 145,000 ตัน และมีรายได้ 245 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/480764/more-work-needed-on-vn-tea-exports.html#J6Axp1tyK22atcmh.97

03/12/61

เครื่องบินเวียดเจ็ทล้อขัดข้องผู้โดยสารเจ็บเล็กน้อย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงฮานอยประเทศเวียดนามเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ว่าสำนักงานการบินพลเรือนของเวียดนามแถลงว่า เครื่องบินโดยสารแอร์บัส เอ321 ของสายการบินเวียดเจ็ทเที่ยวบินในประเทศจากเมืองโฮจิมินห์ซิตี้มุ่งหน้าสู่สนามบินบวนมาถ๊วตจังหวัดดั๊กลักทางตอนใต้ของเวียดนาม พร้อมผู้โดยสารบนเครื่อง 207 คน ต้องประสบปัญหาสองล้อหน้าขณะลงจอดที่สนามบินบวนมาถ๊วตเมื่อเย็นวันพฤหัสบดีที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่ก็ลงจอดได้อย่างปลอดภัย ภาพถ่ายที่นำออกเผยแพร่แสดงให้เห็นว่า มีการใช้ทางลงฉุกเฉินและยางล้อหน้าแตกเสียหาย เวียดเจ็ทยังแถลงว่า ผู้โดยสารทุกคนปลอดภัย เวียดเจ็ทเป็นหนึ่งในสายการบินชั้นนำที่มีด้านการบินเติบโตอย่างรวดเร็วของเวียดนาม เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเพิ่งจะลงนามในข้อตกลงมูลค่า 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ321 จำนวน 50 ลำและยังได้ทำสัญญากับบริษัทโบอิ้งด้วย

ที่มา :  https://www.dailynews.co.th/foreign/680111

03/12/61

เมียนมาพยายามดึงดูดนักลงทุนในการประชุมสุดยอด Invest Myanmar Summit 2019

Invest Myanmar Summit 2019 เป็นโอกาสที่ดีในการสร้างเครือข่ายธุรกิจของคุณโดยการประชุมผู้มีอิทธิพลและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ในฐานะที่เป็นตลาดเกิดใหม่พม่าเสนอโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลายและยั่งยืนสำหรับนักลงทุนที่จะค้นพบ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม พ.ศ. 2562 เหตุการณ์สองวันนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้มีโอกาสค้นพบศักยภาพในการลงทุนของพม่า เป็นเวทีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐในภูมิภาคจะแสดงศักยภาพทางธุรกิจในประเทศของตนด้วย

ที่มา : http://mizzima.com/article/myanmar-seeks-attract-investors-upcoming-invest-myanmar-summit-2019

01/12/61

เจาะ 3 การลงทุนที่เมียนมาต้องการ

ปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธว่าเมียนมาเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่น่าเข้าไปลงทุนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนับตั้งแต่เมียนมาเปิดประเทศเมื่อปี 2555 รัฐบาล เมียนมาได้พัฒนากฎหมายเพื่อจัดระเบียบและส่งเสริมการลงทุนใน เมียนมาถึง 3 ฉบับ (1) กฎหมายการลงทุนของเมียนมา (MIL) รับผิดชอบโดยคณะกรรมการควบคุมการลงทุน (MIC) (2) กฎหมายบริษัทเมียนมา (MCL) รับผิดชอบโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) และ (3) กฎหมายการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ Law) รับผิดชอบโดยคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ล่าสุด สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง ร่วมกับสมาคมนักธุรกิจไทยในเมียนมา (TBAM) จัดกิจกรรมพานักลงทุนไทยเข้าพบหารือเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงเศรษฐกิจเมียนมา เพื่อรับฟังนโยบายและกฎระเบียบด้านโอกาสการค้าการลงทุน รวมถึงได้ทราบโอกาสการลงทุนที่เมียนมากำลังต้องการให้เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2.การค้าปลีกและการขายส่ง  3.การลงทุนในสาขาไฟฟ้าและพลังงาน

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

03/12/61

หวั่นพญามังกรเบี้ยวดีล โครงการรถไฟ จีน – สปป.ลาว

จีน ในฐานะผู้ลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนกำลังสร้างความกังขาหลายเรื่องกับ สปป.ลาวในโครงการรถไฟจีน-ลาว ส่วนหนึ่งของ เส้นทางรถไฟคุนหมิง-สิงคโปร์ ภายใต้โครงการOne Belt One Road สมาชิกสภาแห่งชาติ สปป.ลาว ระบุว่า การจ้างแรงงานชาวจีนมากกว่าชาวลาวในโครงการรถไฟจีน-ลาว มูลค่าลงทุนกว่า 6,000 ล้านดอลลาร์ จากที่เคยประเมินว่าต้องใช้แรงงานมากถึง 30,000 คน ส่วนใหญ่กลับนำเข้าแรงงานจีนมากถึง 19,000 คน ขณะที่ชาวลาวมีเพียง 2,135 คนเท่านั้น โดยอ้างว่าที่ไม่จ้างงานเพราะไม่มีศักยภาพตามมาตรฐานของจีน ทั้งนี้นักวิเคราะห์จากองค์กรแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ดิน ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่โครงการจะล่าช้า ทั้งยังมองว่า สปป.ลาวเสียเปรียบ โดยมีกรรมสิทธิ์เป็นผู้ลงทุนเพียง 30% มูลค่า 840 ล้านดอลาร์ ส่วนจีนเป็นผู้ลงทุนใหญ่ 70% นอกจากนี้ยังต้องกู้เงินจากจีนอีก 500 ล้านดอลลาร์ ระยะเวลา 20 ปี ดอกเบี้ย 3% ซึ่งคาดกันว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะไม่สามารถใช้หนี้ได้ตามกำหนด ซึ่งมีโอกาสที่เหมืองแร่หลายแห่งจะตกไปเป็นของจีนในอนาคต

ที่มา : https://www.prachachat.net/aseanaec/news-259028

03/12/61

CRF แสดงความกังวลเกี่ยวกับ ภาษีข้าวของสหภาพยุโรปในกัมพูชา

ประธานสหพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (CRF) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราภาษีของสหภาพยุโรปที่มีต่อการนำเข้าข้าวของกัมพูชาโดยระบุว่าเป็นปัจจัยภายในประเทศในสหภาพยุโรปที่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรชาวยุโรปมากที่สุด ผู้อำนวยการ CRF กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ต้นทุนการกลั่นสูงในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นอุปสรรคสำคัญในการปรับปรุงอุตสาหกรรมข้าวในยุโรปไม่ใช่การนำเข้าข้าวกัมพูชาแต่เป็นการเผชิญกับภาษีที่เพิ่มขึ้นภายใน 3 ปี ภาษีศุลกากรจะอยู่ที่ 175 ยูโร ต่อตันในปีแรก 150 ยูโรในปีที่สองและ 125 ยูโรต่อปี หากมีการดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวของกัมพูชาและเกษตรกรจะพึ่งพาตลาดจากประเทศไทยและเวียดนามมากขึ้น

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/crf-voices-concern-over-eu-rice-tax-cambodia

03/12/61

อัทธ์ พิศาลวานิช ชี้ เหล็กจีนทะลักเข้าอาเซียน เวียดนามเป็นตลาดอันดับหนึ่ง

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยในรายการ Good morning ASEAN เมื่อเช้านี้ ว่าอุตสาหกรรมเหล็กเป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคตน่าสนใจเพราะหลายอุตสาหกรรมใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบ เช่น การก่อสร้างใช้เหล็กมากสุดถึงร้อยละ 53 เครื่องจักร ร้อยละ 18 รถยนต์ร้อยละ 15 และเครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 7 โดยในอนาคตความต้องการใช้เหล็กเพื่อก่อสร้างจะยิ่งมากขึ้นเพราะเหล็กนำมารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ได้ร้อยละ100 ขณะที่ปูนซีเมนต์ไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา จีนส่งออกเหล็กสู่อาเซียนเพิ่มสูงขึ้นมากจาก 6.5 ล้านตัน เป็น 37 ล้านตัน โดยช่วงปี58-59 เป็น 2 ปีที่มีการนำเข้าสูงสุด ซึ่งเวียดนามคือตลาดอันดับ 1 ของจีนในอาเซียน ตามด้วย ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา สำหรับปี60 จีนผลิตเหล็กรวม 850 ล้านตัน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 33 ล้านตัน แต่รัฐบาลจีนต้องการลดกำลังการผลิตเหล็กเพราะถูกกดดันจากนานาประเทศว่าการผลิตเหล็กราคาถูกมาทุ่มตลาดอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://www.news1005.fm/view/5c008822e3f8e4e9050dc75b

30/11/61

พาณิชย์ จับมือนักธุรกิจไทยระดมสมองเจาะลึกตลาดเวียดนาม เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทย

อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ผนึกกำลังเจาะตลาดเชิงรุกประเทศ รวมถึงผนึกกำลังกับนักธุรกิจไทยสาขาต่างๆในเวียดนามที่รู้จริงรู้ลึก เพื่อให้สามารถเข้าถึงปัญหาอุปสรรค และโอกาสทางธุรกิจของไทยในเวียดนามได้อย่างเจาะลึก โดยให้ดำเนินการผ่านช่องทางจัดจำหน่ายทั้ง 3 ช่องทาง คือ ช่องทางแบบดั้งเดิม ช่องทางแบบสมัยใหม่ และอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากปัจจุบันช่องทางจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิมยังเป็นช่องทางหลักในเวียดนาม โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 90 ส่วนช่องทางสมัยใหม่ เป็นโอกาสเนื่องจากมีผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในเวียดนาม และอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันเวียดนามเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทยในอาเซียน มีมูลค่าการค้าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยปีละ 13,141.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.74 ต่อปี โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญไปเวียดนาม ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ขณะที่สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเหล็กกล้า

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/2922140

29/11/61

11 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามสูงขึ้น

ทางด้านหน่วยงานของภาคการลงทุนต่างประเทศ สังกัดกระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ได้เผยว่า ในตลอด 11 เดือนที่ผ่านมา ยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือเอฟดีไอที่จดทะเบียนใหม่ มีการเพิ่มเงินทุนและการซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศบรรลุ 30.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหากแยกประเภทของการลงทุน พบว่า นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปและเครื่องจักรกล รองลงมาคือการประกอบธุรกิจในด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเวียดนามมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น รองลงมาคือสาธารณรัฐเกาหลีและสิงคโปร์ ส่วนเมืองที่มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากที่สุด คือ กรุงฮานอย รองลงมาคือ นครโฮจิมินห์และนครไฮฟอง อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้มีการลงทุนกับต่างประเทศกว่า 35 ประเทศ ซึ่งเวียดนามมีการลงทุนโดยตรงมากที่สุด คือ สปป.ลาว รองลงมาคือ ออสเตรเลีย สโลวาเกีย กัมพูชา คิวบาและเมียนมาร์

ที่มา : http://vovworld.vn/th-TH/ขาวเดน/ในตลอด-11-เดอนทผานมา-นกลงทนตางชาตซอหนในตลาดหลกทรพยเวยดนามเพมสงขน-703602.vov

29/11/61