‘เวียดนาม’ ชี้ราคาส่งออกข้าวสูงสุดในตลาดโลก

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ราคาข้าวของเวียดนามในตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-8 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามอยู่ในระดับสูงสุดในตลาดโลก โดยจากข้อมูลพบว่าราคาข้าวหัก 5% ของเวียดนาม อยู่ที่ 585 เหรียญสหรัฐต่อตัน สูงกว่าราคาข้าวของไทยประมาณ 3 เหรียญสหรัฐต่อตัน และสูงกว่าราคาข้าวของปากีสถาน 10 เหรียญสหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคาข้าวหัก 25% ของเวียดนาม อยู่ที่ 555 เหรียญสหรัฐต่อตัน และราคาข้าวหัก 100% ของเวียดนาม อยู่ในระดับทรงตัวที่ 470 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งราคาข้าวหักทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว มีราคาสูงกว่าข้าวไทยและปากีสถาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-leads-in-export-rice-prices-globally-post285508.vnp

‘เวียดนาม’ คว้าโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก

ศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ (NIC) และบริษัทซัมซุง เวียดนาม (Samsung Vietnam) ได้เปิดตัวโครงการพัฒนาผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ภายใต้ชื่อโครงการ ‘Samsung Innovation Campus’ หรือเรียกว่า SIC สำหรับปี 2566-2567 โดยตั้งเป้าที่จะฝึกอบรมวิศวกรเซมิคอนดักเตอร์ 50,000 คนภายในปี 2573 รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยี ผลักดันให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของภูมิภาคและโลก

ทั้งนี้ นายเหงียน จิ ยวุง รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าอุปทานด้านแรงงานที่มีคุณภาพและความพร้อมทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ทำให้เวียดนามมีข้อได้เปรียบสำคัญเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ การมุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรม เพื่อให้แรงงานสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างเร็วที่สุด จึงเป็นกลยุทธ์หลักและเป็นปัจจัยชี้ขาดถึงการสร้างโอกาสอีกมากมายแก่เวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-acts-to-seize-opportunity-to-join-global-semiconductor-supply-post285514.vnp

บริษัทกว่า 450 แห่งยังคงไม่สามารถส่งรายได้จากการส่งออกในปี 2564 กลับประเทศได้

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่ามีบริษัทมากกว่า 450 แห่งที่ยังไม่ได้ส่งรายได้จากการส่งออกในปี 2564 กลับประเทศได้ ทั้งนี้ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 26 เมษายน โดยรายได้จากการส่งออกจะต้องฝากเข้าบัญชีธนาคารในประเทศภายใน 45 วันสำหรับสินค้าที่จะส่งออกไปยังประเทศในเอเชีย และภายใน 90 วันสำหรับประเทศอื่น ๆ นอกเอเชีย อย่างไรก็ดี กรมการค้าระบุเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ว่าธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ควรส่งรายชื่อบริษัทที่ไม่สามารถนำรายได้จากการส่งออกส่งกลับประเทศได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้กับกระทรวงพาณิชย์ และแจ้งให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคาร) ที่เกี่ยวข้องทราบเกี่ยวกับรายชื่อพร้อมกัน นอกจากนี้ กรมการค้าจะแจ้งให้สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (UMFCCI) ทราบถึงรายชื่อเพื่อให้สามารถฝากเงินได้อีกครั้ง รวมทั้ง กรมการค้าจะระงับการจดทะเบียนผู้ส่งออก/ผู้นำเข้าเป็นเวลาสองสัปดาห์หลังจากแจ้งให้บริษัทเหล่านั้นทราบ หากรายได้จากการส่งออกไม่ถูกส่งกลับประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-450-companies-still-fail-to-repatriate-export-earnings-in-2021/#article-title

ธนาคารกลางเมียนมาดำเนินนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ

ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพราคา ในวันที่ 3 พ.ค. ทั้งนี้ CBM กำลังวางนโยบายการเงินเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ หลังจากวิเคราะห์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน อัตราส่วนสินเชื่อของธนาคารต่อ GDP อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP เป็นต้น นอกจากนี้ ในบรรดานโยบายการเงิน แทนที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย กลับปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ อัตราเงินสำรองของธนาคารเอกชนในสกุลเงินเมียนมาและการจ่ายดอกเบี้ยเงินสำรองส่วนเกินก็เช่นกัน ส่งผลให้ปัจจุบันเงินฝากธนาคารและสินเชื่อมีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินหมุนเวียนและลดอัตราเงินเฟ้อ อัตราส่วนสำรองขั้นต่ำจึงเพิ่มขึ้นเป็น 3.75 จากร้อยละ 3.5 ดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินก็เพิ่มขึ้นเป็น 3.8 จากร้อยละ 3.6 ในเดือนพฤษภาคม 2567 การเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยสำรองส่วนเกินอาจสนับสนุนอัตราดอกเบี้ยรายปีสำหรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และส่งผลให้ภาคเอกชนมีแหล่งเงินทุนมากขึ้น สามารถลดจำนวนเงินหมุนเวียนและลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเมื่อธนาคารฝากเงินในบัญชี CBM ในปัจจุบันมากขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-implements-monetary-policies-to-curb-inflation/

ทางการกัมพูชาอนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 14 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 213 ล้านดอลลาร์

ทางการกัมพูชาอนุมัติโครงการลงทุนเพิ่มอีก 14 โครงการมูลค่าโครงการรวม 213 ล้านดอลลาร์ ในเมืองชายฝั่งอย่างสีหนุวิลล์ของกัมพูชา ซึ่งรวมถึง 10 โครงการสำหรับการฟื้นฟูการก่อสร้างอาคารที่ถูกทิ้งร้างในช่วงก่อน ภายใต้โครงการส่งเสริมการลงทุนพิเศษสำหรับเมืองสีหนุวิลล์ กล่าวโดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติ ได้แก่ โรงแรมระดับ 5 ดาว คาสิโน รีสอร์ทคอมเพล็กซ์ คอนโดมิเนียม อาคารอเนกประสงค์สำหรับสำนักงานและที่พัก โรงงานผสมคอนกรีต โรงงานผลิตกระดาษแข็ง และโครงการตกแต่งภายใน จนถึงขณะนี้ โครงการลงทุน 27 โครงการได้รับแรงจูงใจพิเศษจากรัฐบาลในเมืองชายฝั่งทะเลแห่งนี้ นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีเปิดตัวโครงการเมื่อวันที่ 31 มกราคม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนชาวจีน ภายหลังการวิพากษ์วิจารณ์ว่าอาคารเหล่านี้เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ถูกทิ้งล้าง สำหรับสิ่งจูงใจภายใต้โครงการส่งเสริมการลงทุนพิเศษ ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีขั้นต่ำเพิ่มอีก 3 ปี การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจนกว่าอาคารจะแล้วเสร็จ ยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 5 ปี สำหรับสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ การยกเว้นภาษีทรัพย์สิน และการยกเว้นการลงโทษทางปกครองต่างๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501481583/14-projects-worth-213m-approved-in-sihanoukville/